บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ คาถารวมวินีตวัตถุ
คาถารวมวินีตวัตถุ เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง เรื่องผ้าปูเตียง ๔ เรื่อง เรื่องกลางคืน ๕ เรื่อง เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำไปแต่ผู้เดียว ๑๑ เรื่อง เรื่องตอบตามคำถามนำ ๕ เรื่อง เรื่องลม ๒ เรื่อง เรื่องศพที่ยังสด ๑ เรื่อง เรื่องสับเปลี่ยนสลาก ๑ เรื่อง เรื่องเรือนไฟ ๑ เรื่อง เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง เรื่องไม่มีมูล ๕ เรื่อง ในสมัยข้าวยากหมากแพง มี ๕ เรื่อง คือ เรื่องข้าวสุก ๑ เรื่อง เรื่องเนื้อ ๑ เรื่อง เรื่องขนม ๑ เรื่อง เรื่องน้ำตาลกรวด ๑ เรื่อง เรื่องขนมต้ม ๑ เรื่อง เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง เรื่องถุง ๑ เรื่อง เรื่องฟูก ๑ เรื่อง เรื่องราวจีวร ๑ เรื่อง เรื่องไม่ออกไป ๑ เรื่อง เรื่องถือวิสาสะฉันของเคี้ยว ๑ เรื่อง เรื่องสำคัญว่าเป็นของของตน ๒ เรื่อง เรื่องไม่ได้ลัก ๗ เรื่อง เรื่องลัก ๗ เรื่อง เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง เรื่องลักดอกไม้ ๒ เรื่อง เรื่องพูดตามคำบอก ๓ เรื่อง เรื่องนำแก้วมณีผ่านด่านภาษี ๓ เรื่อง เรื่องปล่อยสุกร ๒ เรื่อง เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง เรื่องปล่อยปลา ๒ เรื่อง เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน ๑ เรื่อง เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง เรื่องไม้ ๒ เรื่อง เรื่องผ้าบังสุกุล ๑ เรื่อง เรื่องข้ามน้ำ ๒ เรื่อง เรื่องฉันทีละน้อย ๑ เรื่อง เรื่องชักชวนกันไปลัก ๒ เรื่อง เรื่องกำมือที่กรุงสาวัตถี ๔ เรื่อง เรื่องเนื้อเป็นเดน ๒ เรื่อง เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง เรื่องยืมไม้ของสงฆ์ ๑ เรื่อง เรื่องลักน้ำของสงฆ์ ๑ เรื่อง เรื่องลักดินของสงฆ์ ๑ เรื่อง เรื่องลักหญ้าของสงฆ์ ๒ เรื่อง เรื่องลักเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๙๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เรื่องของมีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้ ๑ เรื่อง เรื่องของมีเจ้าของควรขอยืม ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุณีชาวกรุงจัมปา ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุณีชาวกรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง เรื่องพระอัชชุกะชาวกรุงเวสาลี ๑ เรื่อง เรื่องทารกชาวกรุงพาราณสี ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ๑ เรื่อง เรื่องสัทธิวิหาริกของพระทัฬหิกะกรุงสาคละ ๑ เรื่องวินีตวัตถุ เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง [๑๓๒] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปที่ลานตากผ้าของช่างย้อม ได้ลักห่อ ผ้าของช่างย้อม แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ลานตากผ้าของช่างย้อม พบผ้ามีราคามาก เกิด ไถยจิตขึ้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เพียงแต่คิด ไม่ ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ลานตากผ้าของช่างย้อม พบผ้ามีราคามาก มี ไถยจิตจับผ้าผืนนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๓) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ลานตากผ้าของช่างย้อม พบผ้ามีราคามาก มี ไถยจิต ทำให้ผ้าไหว แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุเธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย (เรื่องที่ ๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ลานตากผ้าของช่างย้อม พบผ้ามีราคามาก มี ไถยจิตทำให้ผ้าเคลื่อนที่ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๐๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๕)เรื่องผ้าปูเตียง ๔ เรื่อง [๑๓๓] สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งพบผ้าปูเตียงมีราคา มาก เกิดไถยจิตขึ้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เพียง แต่คิดไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๖) สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งพบผ้าปูเตียงมีราคามาก มี ไถยจิตจับต้อง แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๗) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบผ้าปูเตียงมีราคามาก มีไถยจิต ทำให้ผ้าไหว แล้ว เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติถุลลัจจัย (เรื่องที่ ๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบผ้าปูเตียงมีราคามาก มีไถยจิต ทำให้ผ้าเคลื่อนที่ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๙)เรื่องกลางคืน ๕ เรื่อง [๑๓๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบสิ่งของตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ ด้วยตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญสิ่งของนั้นว่าเป็นสิ่งของนั้น จึงได้ลัก ของนั้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก (เรื่องที่ ๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๐๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบสิ่งของตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ ด้วย ตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญสิ่งของนั้นว่าเป็นสิ่งของนั้น แต่ได้ลักสิ่งของ อื่นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก (เรื่องที่ ๑๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบสิ่งของตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ ด้วย ตั้งใจว่าจะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญสิ่งของนั้นว่าเป็นสิ่งของอื่น แต่ได้ลักสิ่งของ นั้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก (เรื่องที่ ๑๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบสิ่งของตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ด้วย ตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญสิ่งของนั้นว่าเป็นสิ่งของอื่น ได้ลักสิ่งของ อื่นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก (เรื่องที่ ๑๓) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบสิ่งของตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ด้วย ตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญสิ่งของนั้นว่าเป็นสิ่งของนั้น แต่ได้ลักสิ่งของ ของตนเอง แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๑๔)เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำไปแต่ผู้เดียว ๑๑ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต จับต้องสิ่งของที่อยู่บน ศีรษะตนเอง แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๐๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต ทำสิ่งของที่อยู่บน ศีรษะตนเองให้ไหว แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย (เรื่องที่ ๑๖) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต ลดสิ่งของที่อยู่บน ศีรษะตนเองลงมาที่ไหล่ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๗) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต จับต้องสิ่งของที่อยู่บน ไหล่ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๑๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต ทำสิ่งของที่อยู่ที่ไหล่ ตนเองให้ไหว แล้วเกิดความความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย (เรื่องที่ ๑๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต ลดสิ่งของที่อยู่ที่ไหล่ลง มาถึงระดับสะเอว แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก (เรื่องที่ ๒๐) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต จับต้องสิ่งของที่อยู่ที่ สะเอว แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๐๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต ทำสิ่งของซึ่งอยู่ที่ สะเอวให้ไหว แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย (เรื่องที่ ๒๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต เอามือหยิบสิ่งของซึ่ง อยู่ที่สะเอวหิ้วไป แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้อง อาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๒๓) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต เอาสิ่งของที่มือวางลงที่ พื้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๒๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิตหยิบสิ่งของขึ้นจาก พื้นดิน แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก (เรื่องที่ ๒๕)เรื่องตอบตามคำถามนำ ๕ เรื่อง [๑๓๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้กลางแจ้งแล้วเข้าไปวิหาร ภิกษุอีก รูปหนึ่งเก็บจีวรนั้นด้วยหวังว่า จะไม่ให้จีวรหาย ภิกษุเจ้าของจีวรออกมา ถามภิกษุ รูปที่เก็บไปนั้นว่า ท่าน จีวรของผมใครลักไป ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของจีวรจับเอาภิกษุรูปที่นำจีวรไปกล่าวว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปที่นำ จีวรไปเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้า พระพุทธเจ้าตอบไปตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ เพราะ ตอบตามคำถามนำ (เรื่องที่ ๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๐๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพาดจีวรไว้บนตั่งแล้วเข้าไปวิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งเก็บ จีวรนั้นด้วยหวังว่าจะไม่ให้จีวรหาย ภิกษุเจ้าของจีวรออกมา ถามภิกษุรูปที่เก็บไป นั้นว่า ท่าน จีวรของผมใครลักไป ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ผมลักไป ภิกษุเจ้าของ จีวรจับเอาภิกษุรูปที่นำจีวรไปกล่าวว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปที่นำจีวรไปเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธ เจ้าตอบไปตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ เพราะตอบตาม คำถามนำ (เรื่องที่ ๒๗) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพาดผ้าปูนั่งไว้บนตั่ง ภิกษุอีกรูปหนึ่งเก็บผ้าปูนั่งนั้น ด้วยหวังว่า จะไม่ให้ผ้าปูนั่งหาย ภิกษุเจ้าของผ้าปูนั่งออกมา ถามภิกษุรูปที่เก็บไป นั้นว่า ท่าน ผ้าปูนั่งของผม ใครลักไป ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ผมลักไป ภิกษุ เจ้าของผ้าปูนั่งจับเอาภิกษุรูปที่นำผ้าปูนั่งไปกล่าวว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปที่นำ ผ้าปูนั่งไปเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้า พระพุทธเจ้าตอบไปตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ เพราะ ตอบตามคำถามนำ (เรื่องที่ ๒๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งวางบาตรไว้ใต้ตั่งแล้วเข้าไปวิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้ เก็บบาตรนั้นด้วยหวังว่า จะไม่ให้บาตรหาย ภิกษุเจ้าของบาตรออกมาถามภิกษุรูปที่ เก็บไปนั้นว่า ท่าน บาตรของผม ใครลักไป ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ผมลักไป ภิกษุ เจ้าของบาตรจับเอาภิกษุรูปที่นำบาตรไปกล่าวว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปที่นำ บาตรไปเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้าตอบไปตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ (เรื่องที่ ๒๙) สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้ที่รั้วแล้วเข้าไปยังวิหาร ภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง เก็บจีวรนั้นด้วยหวังว่า จะไม่ให้จีวรหาย ภิกษุณีเจ้าของจีวรออกมาถามภิกษุณีรูปที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๐๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เก็บไปนั้นว่า เธอ จีวรของฉันใครลักไป ภิกษุณีรูปนั้นตอบว่า ฉันลักไป ภิกษุณี เจ้าของจีวรจับเอาภิกษุณีรูปที่นำจีวรไปกล่าวว่า เธอไม่เป็นพระ ภิกษุณีรูปที่นำ จีวรไปเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงบอกเรื่องนี้แก่ภิกษุณี ทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ (เรื่องที่ ๓๐)เรื่องลม ๒ เรื่อง [๑๓๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบผ้าสาฎกถูกลมบ้าหมูพัดมา จึงเก็บไว้ด้วย ตั้งใจจะนำคืนเจ้าของ แต่พวกเจ้าของผ้ากล่าวหาท่านว่า ท่านไม่เป็นพระ ท่าน เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ ไม่มีไถยจิต ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๓๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ถือเอาผ้าโพกซึ่งถูกลมบ้าหมูพัดมา ด้วย เกรงว่า เจ้าของผ้าจะเห็นเสียก่อน พวกเจ้าของผ้ากล่าวหาท่านว่า ท่านไม่เป็น พระ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิด อย่างไร ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๓๒)เรื่องศพที่ยังสด ๑ เรื่อง [๑๓๗] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า ถือเอาผ้าบังสุกุลที่ซากศพยังสดซึ่งมี เปรตสิงอยู่ในร่าง เปรตนั้นพูดกับภิกษุนั้นว่า อย่าเอาผ้าของเราไป ภิกษุไม่ใส่ใจ ถือเอาไป ทันใดนั้น ร่างนั้นลุกขึ้นติดตามภิกษุไป ภิกษุรูปนั้นเข้าไปวิหารแล้วปิด ประตูเสีย ร่างนั้นได้ล้มลงที่ประตูนั่นเอง ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือเอา ผ้าบังสุกุลในซากศพที่ยังสด ภิกษุใดถือเอา ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๐๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เรื่องสับเปลี่ยนสลาก ๑ เรื่อง [๑๓๘] สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกจีวรแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่ง มี ไถยจิตได้สับเปลี่ยนสลากรับจีวรไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๓๔)เรื่องเรือนไฟ ๑ เรื่อง [๑๓๙] สมัยนั้น พระอานนท์สำคัญว่าผ้าอันตรวาสกของภิกษุรูปหนึ่งในเรือน ไฟเป็นของตนจึงนุ่ง ภิกษุรูปที่เป็นเจ้าของผ้าอันตรวาสกกล่าวกับท่านพระอานนท์ ว่า ทำไมท่านจึงเอาผ้าอันตราสกของผมไปนุ่ง ท่าน ผมสำคัญว่าเป็นของผม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสำคัญว่าเป็นของตน ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๓๕)เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง [๑๔๐] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเป็นเดนของราชสีห์ จึงใช้ให้อนุปสัมบันทำให้สุกแล้วฉัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันเนื้อเป็นเดนราชสีห์ ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๓๖) สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเป็นเดนเสือโคร่ง จึงใช้ ให้อนุปสัมบันทำให้สุกแล้วฉัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันเนื้อเป็นเดนเสือโคร่ง ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๓๗) สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเป็นเดนเสือเหลือง จึงใช้ ให้อนุปสัมบันทำให้สุกแล้วฉัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันเนื้อเป็นเดนเสือเหลือง ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๐๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเป็นเดนหมาใน จึงใช้ให้ อนุปสัมบันทำให้สุกแล้วฉัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัส ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันเนื้อที่เป็นเดนหมาใน ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๓๙) สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเป็นเดนหมาป่า จึงใช้ให้ อนุปสัมบันทำให้สุกแล้วฉัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันเนื้อที่สัตว์ดิรัจฉานครอบครอง ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๔๐)เรื่องไม่มีมูล ๕ เรื่อง [๑๔๑] สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกอาหารแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่ง กล่าวคำไม่มีมูลว่า จงให้เพื่อภิกษุอื่นอีกส่วนหนึ่ง แล้วรับไป ท่านเกิดความกังวลใจ ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้ (เรื่องที่ ๔๑) สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกของเคี้ยวแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่งกล่าว คำไม่มีมูลว่า จงให้เพื่อภิกษุอื่นอีกส่วนหนึ่ง แล้วรับไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ (เรื่องที่ ๔๒) สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกขนมแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวคำไม่มี มูลว่า จงให้เพื่อภิกษุอื่นอีกส่วนหนึ่ง แล้วรับไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าว เท็จทั้งที่รู้ (เรื่องที่ ๔๓) สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกน้ำอ้อยแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวคำ ไม่มีมูลว่า จงให้เพื่อภิกษุอื่นอีกส่วนหนึ่ง แล้วรับไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๐๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ (เรื่องที่ ๔๔) สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกผลมะพลับแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่งกล่าว คำไม่มีมูลว่า จงให้เพื่อภิกษุอื่นอีกส่วนหนึ่ง แล้วรับไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ (เรื่องที่ ๔๕)ในสมัยข้าวยากหมากแพงมี ๕ เรื่อง คือ เรื่องข้าวสุก ๑ เรื่อง [๑๔๒] สมัยนั้น เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปร้านขายข้าว สุก มีไถยจิตได้ลักข้าวสุกไปเต็มบาตร แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๔๖)เรื่องเนื้อ ๑ เรื่อง สมัยนั้น เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปร้านขายเนื้อสุก มี ไถยจิตได้ลักเนื้อไปเต็มบาตร แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่อง ๔๗)เรื่องขนม ๑ เรื่อง สมัยนั้น เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปร้านขายขนม มี ไถยจิตได้ลักขนมไปเต็มบาตร แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๐๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เรื่องน้ำตาลกรวด ๑ เรื่อง สมัยนั้น เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปร้านขายน้ำตาลกรวด มีไถยจิตได้ลักน้ำตาลกรวดไปเต็มบาตร แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๔๙)เรื่องขนมต้ม ๑ เรื่อง สมัยนั้น เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปร้านขายขนมต้ม มี ไถยจิตได้ลักขนมต้มไปเต็มบาตร แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๕๐)เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง [๑๔๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบเครื่องใช้สอยตอนกลางวัน ได้ทำเครื่อง หมายไว้ด้วยตั้งใจว่าจะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญเครื่องใช้สอยนั้นว่าเป็นเครื่องใช้ สอยนั้น จึงได้ลักเครื่องใช้สอยนั้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๕๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบเครื่องใช้สอยตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ ด้วยตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญเครื่องใช้สอยนั้นว่าเป็นเครื่องใช้สอยนั้น แต่ได้ลักเครื่องใช้สอยอื่นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๕๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบเครื่องใช้สอยตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ ด้วยตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญเครื่องใช้สอยนั้นว่าเป็นเครื่องใช้สอยอื่น แต่ได้ลักเครื่องใช้สอยนั้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๑๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๕๓) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบเครื่องใช้สอยตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ ด้วยตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญเครื่องใช้สอยนั้นว่าเป็นเครื่องใช้สอยอื่น แต่ได้ลักเครื่องใช้สอยอื่นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๕๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบเครื่องใช้สอยตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ ด้วยตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญเครื่องใช้สอยนั้นว่าเป็นเครื่องใช้สอยนั้น แต่ลักเครื่องใช้สอยของตนเอง แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๕๕)เรื่องถุง ๑ เรื่อง [๑๔๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบถุงวางไว้บนตั่ง คิดว่าหากหยิบไปจากตั่ง จะเป็นปาราชิก จึงยกเอาไปพร้อมทั้งตั่ง แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๕๖)เรื่องฟูก ๑ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตได้ลักฟูกของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๕๗)เรื่องราวจีวร ๑ เรื่อง [๑๔๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตได้ลักจีวรที่ราวจีวร แล้วเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๑๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เรื่องไม่ออกไป ๑ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลักจีวรในวิหาร คิดว่าหากตนออกไปจากวิหารจะเป็น ปาราชิก จึงไม่ยอมออกไปจากวิหาร ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นจะออกจากวิหาร หรือไม่ออกก็ตาม ก็ต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๕๙)เรื่องถือวิสาสะฉันของเคี้ยว ๑ เรื่อง [๑๔๖] สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปเป็นเพื่อนกัน ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตยัง หมู่บ้าน เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกของขบเคี้ยวแก่สงฆ์ ภิกษุรูปที่เป็นเพื่อนรับ เอาส่วนแบ่งของเพื่อนไปแล้วถือวิสาสะฉันส่วนแบ่งของภิกษุนั้น ท่านรู้เรื่องเข้าจึง กล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้าถือเอาด้วยวิสาสะ พระ พุทธเจ้าข้า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะถือเอาด้วยวิสาสะ (เรื่องที่ ๖๐)เรื่องสำคัญว่าเป็นของของตน ๒ เรื่อง [๑๔๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปกำลังตัดเย็บจีวร เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลัง แจกของขบเคี้ยวแก่สงฆ์ ภิกษุทุกรูปต่างนำส่วนแบ่งของตนไปเก็บไว้ ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญส่วนแบ่งของภิกษุอีกรูปหนึ่งว่าเป็นส่วนแบ่งของตนจึงฉันเสีย ภิกษุเจ้าของ ส่วนแบ่งรู้เรื่องเข้า จึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปที่ถูกกล่าวหา เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้า สำคัญว่าเป็นของของตน พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ เธอสำคัญว่าเป็นของของตน ไม่ ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๖๑) สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปกำลังตัดเย็บจีวร เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกของขบ เคี้ยวแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่งเอาบาตรของภิกษุอีกรูปหนึ่งนำส่วนแบ่งของภิกษุอีกรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๑๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
หนึ่งมาเก็บไว้ ภิกษุเจ้าของบาตรสำคัญว่าเป็นส่วนแบ่งของตนจึงฉันเสีย ภิกษุรูปที่ นำบาตรไปรู้เรื่องเข้า จึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปที่ถูกกล่าว หาเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอสำคัญว่าเป็นของของตน ไม่ ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๖๒)เรื่องไม่ได้ลัก ๗ เรื่อง [๑๔๘] สมัยนั้น พวกขโมยลักมะม่วง ทำให้ผลมะม่วงหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลมะม่วงทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บมะม่วงห่อนั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความ กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร พวก ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๖๓) สมัยนั้น พวกขโมยลักลูกหว้า ทำให้ผลหว้าหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของ พากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลหว้าทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุ สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บห่อผลหว้านั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของ กล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร พวกข้าพระพุทธเจ้า สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็น ของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๖๔) สมัยนั้น พวกขโมยลักขนุนสำปะลอ ทำให้ผลขนุนสำปะลอหล่นแล้ว ห่อถือ ไป พวกเจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลขนุนสำปะลอ ทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บห่อผลขนุน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๑๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สำปะลอนั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ คิดอย่างไร พวกข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๖๕) สมัยนั้น พวกขโมยลักขนุน ทำให้ผลขนุนหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของพา กันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลขนุนทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุ สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บห่อผลขนุนนั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของ กล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร พวก ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๖๖) สมัยนั้น พวกขโมยลักผลตาลสุก ทำให้ผลตาลสุกหล่นแล้วห่อถือไป พวก เจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลตาลสุกทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุลจึงให้อนุปสัมบันเก็บห่อผลตาลสุกนั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความ กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร พวก ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๖๗) สมัยนั้น พวกขโมยลักอ้อย ตัดอ้อยแล้วมัดถือไป พวกเจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนมัดอ้อยทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของ บังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บมัดอ้อยนั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๑๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร พวกข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๖๘) สมัยนั้น พวกขโมยลักผลมะพลับ ทำให้ผลมะพลับหล่นแล้วห่อถือไป พวก เจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลมะพลับทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันเก็บห่อผลมะพลับนั้นไปแล้วฉัน พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความ กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร พวก ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๖๙)เรื่องลัก ๗ เรื่อง สมัยนั้น พวกขโมยลักมะม่วง ทำให้ผลมะม่วงหล่นแล้วห่อถือไป พวก เจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลมะม่วงทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุมีไถยจิต คิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลมะม่วง พวกเจ้าของกล่าวหา ภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๐) สมัยนั้น พวกขโมยลักลูกหว้า ทำให้ผลหว้าหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของ พากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลหว้าทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุมี ไถยจิต คิดว่าพวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลหว้า พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๑๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น พวกขโมยลักขนุนสำปะลอ ทำให้ผลขนุนสำปะลอหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลขนุนสำปะลอทิ้ง แล้วหนีไป พวกภิกษุมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลขนุนสำปะลอ พวก เจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจ ว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๒) สมัยนั้น พวกขโมยลักขนุน ทำให้ผลขนุนหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของพา กันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลขนุนทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุมี ไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลขนุน พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๓) สมัยนั้น พวกขโมยลักผลตาลสุก ทำให้ผลตาลสุกหล่นแล้วห่อถือไป พวก เจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลตาลสุกทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลตาลสุก พวกเจ้าของกล่าวหา ภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๔) สมัยนั้น พวกขโมยลักอ้อย ตัดอ้อยแล้วมัดถือไป พวกเจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนมัดอ้อยทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันอ้อย พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่ เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๕) สมัยนั้น พวกขโมยลักผลมะพลับ ทำให้ผลมะพลับหล่นแล้วห่อถือไป พวก เจ้าของพากันติดตาม พวกขโมยเห็นพวกเจ้าของจึงโยนห่อผลมะพลับทิ้งแล้วหนีไป พวกภิกษุมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงฉันผลมะพลับ พวกเจ้าของกล่าวหา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๑๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ องค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๖)เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลมะม่วงของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวล ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๗) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลหว้าของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลขนุนสำปะลอของสงฆ์ แล้วเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๗๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลขนุนของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๘๐) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลตาลสุกของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวล ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๘๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักอ้อยของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๘๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักผลมะพลับของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวล ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๑๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เรื่องลักดอกไม้ ๒ เรื่อง [๑๔๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปสวนดอกไม้ มีไถยจิต ได้ลักดอกไม้ที่เขา เก็บไว้แล้ว มีราคา ๕ มาสก แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๘๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปสวนดอกไม้ มีไถยจิต ได้ลักเก็บดอกไม้ มีราคา ๕ มาสก แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก (เรื่องที่ ๘๕)เรื่องพูดตามคำบอก ๓ เรื่อง [๑๕๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเข้าไปหมู่บ้าน ได้บอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า ท่านครับ ผมจะไปบอกตระกูลอุปัฏฐากให้ตามที่ท่านสั่ง ครั้นเธอไปถึงจึงให้เขานำ ผ้ามา ๑ ผืนแล้วใช้เสียเอง ภิกษุผู้สั่งรู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวว่า ผมจะบอกตามที่ท่านสั่ง ภิกษุใด พึงกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๘๖) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจะเข้าไปหมู่บ้าน ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้สั่งท่านว่า ท่านครับ ท่านช่วยบอกตระกูลอุปัฏฐากของผมตามที่ผมสั่งด้วย ภิกษุนั้นครั้นไปแล้วจึงให้ ตระกูลอุปัฏฐากนำผ้ามา ๑ คู่ ตนเองใช้ ๑ ผืน ถวายภิกษุผู้สั่งนั้น ๑ ผืน ภิกษุผู้สั่ง รู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าว ว่า ท่านจงบอกตามที่สั่ง ภิกษุใดพึงกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๘๗) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังไปหมู่บ้าน ได้บอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า ท่าน ผม จะไปบอกตระกูลอุปัฏฐากของท่านตามที่ท่านสั่ง ภิกษุแม้รูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๑๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ท่านช่วยบอกตามที่ผมสั่ง ภิกษุนั้น ครั้นไปถึงจึงให้ตระกูลอุปัฏฐากนำเนยใส ๑ อาฬหกะ น้ำอ้อยงบ ๑ ตุละ ข้าวสาร ๑ โทณะ๑- มาแล้วฉันเสียเอง ภิกษุผู้สั่งรู้เข้า จึงกล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ท่านเกิดความเกิดความกังวลใจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง กล่าวว่า ผมจะบอกตามที่สั่ง และไม่พึงกล่าวว่า ท่านจงบอกตามที่สั่ง ภิกษุใดพึง กล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๘๘)เรื่องนำแก้วมณีผ่านด่านภาษี ๓ เรื่อง [๑๕๑] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งนำแก้วมณีราคาแพง เดินทางไกลไปกับภิกษุ รูปหนึ่ง ครั้นเห็นด่านภาษี จึงใส่แก้วมณีลงในย่ามของภิกษุนั้นผู้ไม่รู้ เมื่อเดินพ้น ด่านภาษีจึงถือไปแต่ผู้เดียว ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ เธอไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๘๙) สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งนำแก้วมณีราคาแพงเดินทางไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นเห็นด่านภาษี ทำลวงว่าเป็นไข้แล้วมอบห่อของของตนให้ภิกษุถือไป เมื่อเดินพ้น @เชิงอรรถ : @๑ ๔ กุฑุวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ) @๔ ปัตถะ เป็น ๑ อาฬหกะ @๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ @๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา @๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี @๒๐ ขารี เป็น ๑ วาหะ @๒๐ วาหะ เป็น ๑ ธารณะ @๑๐ ธารณะ เป็น ๑ ปละ @๑๐๐ ปละ เป็น ๑๒ ตุลา @๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ @(ดู อภิธา.ฏี. คาถา ๔๘๐-๔๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๑๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ด่านภาษีไป จึงกล่าวกับภิกษุนั้นว่า ท่านครับ กรุณาส่งห่อของให้ผมเถิด ผมไม่ได้ เป็นไข้ โยม ท่านได้ทำอย่างนี้เพื่ออะไร บุรุษนั้นจึงบอกความนั้นให้ภิกษุนั้นทราบ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ เธอไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๙๐) [๑๕๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลไปกับหมู่เกวียน ชายคนหนึ่ง เกลี้ยกล่อมท่านด้วยอามิส เห็นด่านภาษีจึงมอบแก้วมณีราคาแพงให้ภิกษุนั้นด้วย กล่าวว่า ขอท่านกรุณาช่วยนำแก้วมณีนี้ผ่านด่านภาษีไปด้วยขอรับ ภิกษุนั้นได้นำ แก้วมณีนั้นผ่านด่านภาษีไปแล้ว เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอ ต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๙๑)เรื่องปล่อยสุกร ๒ เรื่อง [๑๕๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปล่อยสุกรที่ติดบ่วงไปด้วยความสงสารแล้ว เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ เธอมีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๙๒) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตคิดว่า เจ้าของจะเห็น จึงปล่อยสุกรที่ติดบ่วงไป แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๙๓)เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปล่อยเนื้อติดบ่วงไปด้วยความสงสารแล้วเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้ามีความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๒๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ เธอมีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๙๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตคิดว่า เจ้าของจะเห็น จึงปล่อยเนื้อที่ติดบ่วงไป แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๙๕)เรื่องปล่อยปลา ๒ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปล่อยฝูงปลาที่ติดลอบไปด้วยความสงสารแล้วเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ เธอมีความประสงค์จะช่วยเหลือ ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๙๖) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตคิดว่า เจ้าของจะเห็น จึงปล่อยฝูงปลาที่ติด ลอบไปแล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๙๗)เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน ๑ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเห็นทรัพย์ในยานคิดว่า เมื่อเราหยิบไปจากยานนี้จัก เป็นปาราชิก จึงเขี่ยให้กลิ้งแล้วถือเอา ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๙๘)เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยวเฉี่ยวเอามา ด้วยตั้งใจว่าจะคืน ให้เจ้าของ แต่พวกเจ้าของเนื้อกล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ท่านเกิดความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๒๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่มีไถยจิต ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๙๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตคิดว่า เจ้าของจะเห็น ได้ถือเอาชิ้นเนื้อที่ เหยี่ยวเฉี่ยวเอามา พวกเจ้าของเนื้อกล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ท่านเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๐๐)เรื่องไม้ ๒ เรื่อง [๑๕๔] สมัยนั้น พวกชาวบ้านผูกแพแล้วเข็นลงแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเชือกขาด ไม้ทั้งหลายได้กระจายไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงช่วยกันขนไม้ขึ้นฝั่ง พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิดความ กังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๐๑) สมัยนั้น พวกชาวบ้านผูกแพแล้วเข็นลงแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเชือกขาด ไม้ทั้ง หลายได้กระจายไป พวกภิกษุมีไถยจิต คิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น จึงช่วยกันขนไม้ ขึ้นฝั่ง พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุเกิด ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้ มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๐๒)เรื่องผ้าบังสุกุล ๑ เรื่อง สมัยนั้น คนเลี้ยงโคคนหนึ่งพาดผ้าไว้ที่ต้นไม้แล้วไปถ่ายอุจจาระ ภิกษุรูป หนึ่งสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุล จึงถือเอาไป คนเลี้ยงโคกล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่ เป็นพระ ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอสำคัญว่า เป็นผ้าบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๒๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เรื่องข้ามน้ำ ๒ เรื่อง สมัยนั้น ผ้าผืนหนึ่งหลุดจากมือพวกช่างย้อมไปคล้องอยู่ที่เท้าของภิกษุรูป หนึ่งผู้กำลังข้ามน้ำ ท่านเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่าจะนำไปคืนให้เจ้าของ พวกเจ้าของกล่าว หาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่มีไถยจิต ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๐๔) สมัยนั้น ผ้าผืนหนึ่งหลุดจากมือพวกช่างย้อมไปคล้องอยู่ที่เท้าของภิกษุรูป หนึ่งผู้กำลังข้ามน้ำ ท่านมีไถยจิตคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น ได้ถือเอาผ้านั้นไป พวก เจ้าของกล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๐๕)เรื่องฉันทีละน้อย ๑ เรื่อง [๑๕๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบหม้อเนยใสจึงฉันเนยใสทีละน้อย แล้วเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง อาบัติทุกกฏ๑- (เรื่องที่ ๑๐๖)เรื่องชักชวนกันไปลัก ๒ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไปด้วยคิดจะลักทรัพย์ ภิกษุรูปหนึ่ง ลักทรัพย์มาได้ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราไม่เป็นปาราชิก ภิกษุรูปใด ลักทรัพย์ ภิกษุรูปนั้นเป็นปาราชิก แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๐๗) @เชิงอรรถ : @๑ ภิกษุถือเอาเนยใสและน้ำมันเป็นต้น มีราคาไม่ถึงหนึ่งบาท คิดว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก ดำรงอยู่ใน @ความสำรวมแม้ในวันที่ ๒ และ ๓ เมื่อเกิดความคิดขึ้นอย่างนี้แล้ว ขณะที่ฉันก็ทำการทอดธุระอย่างนั้น แม้ @จะฉันเนยใสและนำมันเป็นต้นนั้นทั้งหมด ก็ไม่เป็นปาราชิก เธอต้องอาบัติทุกกฏหรือถุลลัจจัย แต่สิ่งของนั้น @เธอต้องชดใช้คืน(เป็นภัณฑไทย) (ดู วิ.อ. ๑/๑๕๕/๔๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๒๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไปแล้ว ได้ลักทรัพย์มา แล้วแบ่งกัน เมื่อ กำลังแบ่งทรัพย์กัน ภิกษุแต่ละรูปได้ส่วนแบ่งไม่ครบ ๕ มาสก ภิกษุเหล่านั้นจึงบอก ว่า พวกเราไม่เป็นปาราชิก แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๐๘)เรื่องกำมือที่กรุงสาวัตถี ๔ เรื่อง สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลัก ข้าวสารของชาวร้านตลาดไป ๑ กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๐๙) สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลัก ถั่วเขียวของชาวร้านตลาดไป ๑ กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๑๐) สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลัก ถั่วราชมาสของชาวร้านตลาดไป ๑ กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๑๑) สมัยนั้น กรุงสาวัตถีเกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักงา ของชาวร้านตลาดไป ๑ กำมือ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๑๒)เรื่องเนื้อเป็นเดน ๒ เรื่อง สมัยนั้น พวกโจรฆ่าโค กินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้ในป่าอันธวัน เขตกรุง สาวัตถี แล้วพากันไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันถือเอาไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๒๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
ทำให้สุกแล้วฉัน พวกโจรกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวก ภิกษุเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่า เป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๑๓) สมัยนั้น พวกโจรฆ่าสุกร กินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้ในป่าอันธวัน เขต กรุงสาวัตถีแล้วพากันไป พวกภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้อนุปสัมบันถือเอา ไปทำให้สุกแล้วฉัน พวกโจรกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวก ภิกษุเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญว่าเป็น ของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๑๔)เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ทุ่งหญ้า มีไถยจิต ได้ลักหญ้าที่เขาเกี่ยวไว้แล้ว มี ราคา ๕ มาสก แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติ ปาราชิก (เรื่องที่ ๑๑๕) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ทุ่งหญ้า มีไถยจิต ได้ลักเกี่ยวหญ้า มีราคา ๕ มาสก ไปแล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๑๖)เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง [๑๕๖] สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลมะม่วงของสงฆ์แล้วขบฉัน พวกภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุ อาคันตุกะเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๒๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
คิดอย่างไร พวกข้าพระพุทธเจ้าต้องการจะฉัน พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะฉัน ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๑๗) สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลหว้าของสงฆ์แล้วขบฉัน พวกภิกษุ เจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุอาคันตุกะเกิด ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะฉัน ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๑๘) สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลขนุนสำปะลอของสงฆ์แล้วขบฉัน พวกภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุ อาคันตุกะเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ต้องการจะฉัน ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๑๙) สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลขนุนของสงฆ์แล้วขบฉัน พวกภิกษุ เจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุอาคันตุกะเกิด ความกังวล ใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะ ฉัน ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๒๐) สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลตาลสุกของสงฆ์แล้วขบฉัน พวกภิกษุ เจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุอาคันตุกะเกิด ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะฉัน ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๒๑) สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งต้นอ้อยของสงฆ์แล้วขบฉัน พวกภิกษุ เจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุอาคันตุกะเกิด ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะฉัน ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๒๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะให้แบ่งผลมะพลับของสงฆ์แล้วขบฉัน พวก ภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวหาภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านไม่เป็นพระ พวกภิกษุอาคันตุกะ เกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องการจะ ฉัน ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๑๒๓)เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนมะม่วงได้ถวายผลมะม่วงแก่ภิกษุทั้งหลาย พวก ภิกษุมีความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้วนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย (เรื่องที่ ๑๒๔) สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนหว้าได้ถวายผลหว้าแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุมี ความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้วนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้อง อาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย (เรื่องที่ ๑๒๕) สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนขนุนสำปะลอได้ถวายผลขนุนสำปะลอแก่ภิกษุ ทั้งหลาย พวกภิกษุมีความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ ยอมรับแล้วนำเรื่องไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ ทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย (เรื่องที่ ๑๒๖) สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนขนุนได้ถวายผลขนุนแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุมี ความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้วนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้อง อาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย (เรื่องที่ ๑๒๗) สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนตาลสุกได้ถวายผลตาลสุกแก่ภิกษุทั้งหลาย พวก ภิกษุมีความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้ว นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย (เรื่องที่ ๑๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๒๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น พวกคนเฝ้าไร่อ้อยได้ถวายลำอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุมี ความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้วนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้อง อาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย (เรื่องที่ ๑๒๙) สมัยนั้น พวกคนเฝ้าสวนมะพลับได้ถวายผลมะพลับแก่ภิกษุทั้งหลาย พวก ภิกษุมีความรังเกียจว่า ชนเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้า ไม่มีสิทธิ์จะถวาย จึงไม่ยอมรับแล้วนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่ ต้องอาบัติ เพราะคนเฝ้าถวาย (เรื่องที่ ๑๓๐)เรื่องยืมไม้ของสงฆ์ ๑ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้ยืมไม้ของสงฆ์ไปค้ำฝาวิหาร ภิกษุทั้งหลายกล่าวหา ภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า ภิกษุ เธอคิดอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้า ต้องการจะขอยืม พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะขอยืม (เรื่องที่ ๑๓๑)เรื่องลักน้ำของสงฆ์ ๑ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักน้ำของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๓๒)เรื่องลักดินของสงฆ์ ๑ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักดินของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๒๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เรื่องลักหญ้าของสงฆ์ ๒ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ แล้วเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๓๔) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้เผาหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ แล้วเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๑๓๕)เรื่องลักเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักเตียงของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๓๖) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักตั่งของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๓๗) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักฟูกของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๓๘) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักหมอนของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๓๙) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักบานประตูของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวล ใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๒๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักบานหน้าต่างของสงฆ์ แล้วเกิดความ กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๔๑) สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ลักไม้กลอนของสงฆ์ แล้วเกิดความกังวลใจ ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่องที่ ๑๔๒)เรื่องของมีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้ ๑ เรื่อง [๑๕๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้นำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำในวิหาร ของอุบาสกคนหนึ่งไปใช้สอยที่อื่น อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงนำเครื่องใช้สอยประจำในที่แห่งหนึ่ง ไปใช้ในที่อีกแห่งหนึ่ง เล่า ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง ไม่พึงนำไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง ภิกษุใดพึงใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ (เรื่องที่ ๑๔๓)เรื่องของมีเจ้าของควรขอยืม ๑ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจการนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยไปโรงอุโบสถบ้าง ที่ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรจึงเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว (เรื่องที่ ๑๔๔)เรื่องภิกษุณีชาวกรุงจำปา ๑ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุณีผู้เป็นอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา ไปยังตระกูล อุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทา ในกรุงจัมปา บอกคนในตระกูลว่า ภิกษุณีถุลลนันทา ประสงค์จะดื่มยาคูปรุงด้วยของ ๓ อย่าง เมื่อเขาหุงหาให้แล้วเธอกลับนำไปฉัน เสียเอง ภิกษุณีถุลลนันทารู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุณีนั้นว่า เธอไม่เป็พระ ภิกษุณีนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๓๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เกิดความกังวลใจจึงบอกความนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พวกภิกษุณีจึงบอกแก่ภิกษุ ทั้งหลาย พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้ (เรื่องที่ ๑๔๕)เรื่องภิกษุณีชาวกรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง สมัยนั้น ภิกษุณีผู้เป็นอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา ไปยังตระกูลอุปัฏฐาก ของภิกษุณีถุลลนันทาในกรุงราชคฤห์ บอกคนในตระกูลว่า ภิกษุณีถุลลนันทา ประสงค์จะฉันขนมรวงผึ้ง เมื่อสั่งให้เขาทอดแล้วเธอกลับนำไปฉันเสียเอง ภิกษุณีถุลลนันทารู้เข้าจึงกล่าวหาภิกษุณีนั้นว่า เธอไม่เป็นพระ ภิกษุณีนั้นเกิด ความกังวลใจจึงบอกความนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พวกภิกษุณีจึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ (เรื่องที่ ๑๔๖)เรื่องพระอัชชุกะชาวกรุงเวสาลี ๑ เรื่อง [๑๕๘] คหบดีผู้เป็นอุปัฏฐากของพระอัชชุกะ ในกรุงเวสาลี มีบุตร ๑ คน หลาน ๑ คน ต่อมา เขาสั่งเสียท่านพระอัชชุกะว่า ท่านพึงบอกที่ฝังทรัพย์แก่เด็ก ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ในจำนวนเด็ก ๒ คนนี้ แล้วถึงแก่กรรม เวลานั้นปรากฏว่า หลานชายของคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ท่านพระอัชชุกะจึงบอกที่ฝังทรัพย์แก่ เธอ เธอนำทรัพย์สมบัติมาตั้งเป็นกองทุนและเริ่มให้ทาน ต่อมาบุตรของคหบดีนั้น ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า พระคุณเจ้า อานนท์ ใครเป็นทายาทของพ่อ ลูกหรือหลาน ธรรมดาลูกต้องเป็นทายาทของพ่อ ท่านขอรับ พระคุณเจ้าอัชชุกะบอกทรัพย์สมบัติของกระผมแก่คู่แข่งของ กระผมไปแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๓๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
โยม ท่านพระอัชชุกะไม่เป็นพระ ลำดับนั้น ท่านพระอัชชุกะกล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ท่านโปรดให้การวินิจฉัยแก่กระผมเถิด ขอรับ ท่านพระอุบาลีอยู่ฝ่ายพระอัชชุกะ ถามพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ภิกษุ รูปใดบอกขุมทรัพย์แก่บุคคลตามที่เจ้าของสั่งให้บอก ภิกษุรูปนั้นจะต้องอาบัติอะไร ท่านพระอานนท์ตอบว่า ภิกษุนั้นจะไม่ต้องอาบัติอะไรเลย โดยที่สุดแม้แต่ อาบัติทุกกฏ ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า พระอัชชุกะนี้อันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ท่านโปรด บอกที่ฝังทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ จึงได้บอกแก่ผู้นั้น ดังนั้นพระอัชชุกะจึงไม่ต้อง อาบัติ (เรื่องที่ ๑๔๗)เรื่องทารกชาวกรุงพาราณสี ๑ เรื่อง [๑๕๙] ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระปิลินทวัจฉะในกรุงพาราณสี ถูกโจร ปล้นและพาเด็กไป ๒ คน ต่อมา ท่านพระปิลินทวัจฉะช่วยนำเด็กหนีออกมาไว้ ที่ปราสาทด้วยอิทธิฤทธิ์ ชาวบ้านเลื่อมใสว่า นี้เป็นอิทธานุภาพของท่าน พระปิลินทวัจฉะโดยแท้ ภิกษุทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนท่าน ปิลินทวัจฉะจึงนำเด็กที่พวกโจรพาตัวไปมาเล่า แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีฤทธิ์ไม่ต้องอาบัติ เพราะวิสัยแห่งฤทธิ์ (เรื่องที่ ๑๔๘)เรื่องภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ๑ เรื่อง [๑๖๐] สมัยนั้น พระปัณฑุกะและพระกปิละเป็นเพื่อนกัน รูปหนึ่งอยู่ใน อาวาสใกล้หมู่บ้าน อีกรูปหนึ่งอยู่ในกรุงโกสัมพี ต่อมาเพื่อนภิกษุผู้อยู่ในหมู่บ้าน เดินทางจากหมู่บ้านไปกรุงโกสัมพี ระหว่างทาง ข้ามแม่น้ำ เปลวมันข้นที่หลุดจาก มือของพวกคนฆ่าหมูลอยมาติดที่เท้า เธอจึงเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่าจะให้คืนแก่เจ้าของ พวกเจ้าของกล่าวหาภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นพระ หญิงเลี้ยงโคคนหนึ่งพบท่านข้าม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๓๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
น้ำจึงได้กล่าวกับท่านดังนี้ว่า ท่าน นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิด เจ้าค่ะ ท่าน คิดว่า แม้ตามปกติ เราก็ไม่เป็นพระอยู่แล้ว จึงเสพเมถุนธรรมกับหญิงเลี้ยงโค แล้ว เดินทางถึงกรุงโกสัมพี เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายฟัง พวกภิกษุจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ไม่ต้องอาบัติ ปาราชิกเพราะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ แต่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุนธรรม (เรื่องที่ ๑๔๙)เรื่องสัทธิวิหาริกของพระทัฬหิกะกรุงสาคละ ๑ เรื่อง [๑๖๑] สมัยนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระทัฬหิกะ กรุงสาคละ อยาก จะสึกจึงไปลักผ้าโพกของชาวร้านตลาดมาแล้ว ได้กล่าวกับท่านพระทัฬหิกะดังนี้ว่า กระผมไม่เป็นพระเสียแล้วจักสึกล่ะ ขอรับ คุณทำผิดอะไรเล่า กระผมลักผ้าโพกของชาวร้านตลาด ท่านพระทัฬหิกะให้นำผ้านั้นมาตีราคา ราคาผ้าไม่ถึง ๕ มาสก ท่านพระ ทัฬหิกะกล่าวว่า เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แล้วได้แสดงธรรมีกถาให้ฟัง ภิกษุ นั้นยินดียิ่ง (เรื่องที่ ๑๕๐)ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๓๓}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๙๙-๑๓๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=21 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=6656&Z=7435 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=126 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=126&items=50 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=9590 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=126&items=50 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=9590 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj2/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj2:6.4.13
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]