ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ พระบัญญัติ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาโดยประการต่างๆ แล้ว ได้ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยากบำรุงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้ง หลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๙๖] ก็ ภิกษุใด ไม่รู้ยิ่ง กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันเป็นญาณทัสสนะ ที่ประเสริฐอันสามารถ ให้น้อมเข้ามาในตนว่า “ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้” ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม เธอผู้ต้องอาบัติแล้ว หวังความบริสุทธิ์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้ กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ข้าพเจ้ากล่าวคำไร้ประโยชน์ เป็นคำเท็จ” แม้ภิกษุนี้เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ
[๑๙๗] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมาก เข้าใจมรรคผลที่ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น มิได้ถึงว่าได้ถึง มิได้บรรลุว่าได้บรรลุ มิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง พากันพยากรณ์ มรรคผลด้วยสำคัญว่าได้บรรลุ ครั้นต่อมา จิตของภิกษุเหล่านั้นเอนเอียงไปทางความ กำหนัดบ้าง ทางความขัดเคืองบ้าง ทางความหลงบ้าง เกิดความกังวลใจว่า พระผู้มี พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว แต่พวกเราเข้าใจมรรคผลที่ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น มิได้ถึงว่าได้ถึง มิได้บรรลุว่าได้บรรลุ มิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรค ผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงแจ้งเรื่องนั้นให้ พระอานนท์ทราบ พระอานนท์จึงกราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีอยู่เหมือนกัน อานนท์ ที่ภิกษุทั้งหลายเข้าใจ มรรคผลที่ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น มิได้ถึงว่าได้ถึง มิได้บรรลุว่าได้บรรลุ มิได้ทำให้แจ้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๘๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์

ว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ แต่กรณีนี้ไม่ควรกล่าว ว่ามี”๑- ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้ยิ่ง กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันเป็นญาณทัสสนะที่ ประเสริฐอันสามารถ ให้น้อมเข้ามาในตนว่า “ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้” ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม เธอผู้ต้องอาบัติแล้ว หวังความบริสุทธิ์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้ กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ข้าพเจ้ากล่าวคำไร้ประโยชน์ เป็นคำเท็จ” เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๙๘] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ไม่รู้ยิ่ง คือ ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นกุศลธรรมในตนซึ่งไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง หา ไม่ได้ กล่าวว่า เรามีกุศลธรรม ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ความยินดี ในเรือนว่าง @เชิงอรรถ : @ ข้อความนี้ แปลมาจากบาลีว่า “อพฺโพหาริกํ” คือกล่าวไม่ได้ว่ามี มีเหมือนไม่มี มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่ @ได้โวหารว่ามี นำมากล่าวอ้างไม่ได้ ถือเป็นกรณีพิเศษที่ไม่สามารถนำมากล่าวอ้างได้ (ดู วิ.อ. ๑/๑๙๖/๕๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๘๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=27              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=8643&Z=8691                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=231              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=231&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=12506              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=231&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=12506                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj4/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj4:1.3.37.0



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :