ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
ว่าด้วยการพูดเกี้ยวหญิง
เรื่องพระอุทายี
[๒๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีอยู่ในป่า วิหารของ ท่านสวยงาม น่าดู น่าชม หญิงจำนวนมากพากันไปที่วัดเพื่อชมวิหาร พากันเข้าไป หาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว กล่าวว่า “พวกดิฉันต้องการชมวิหาร ของพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ” ท่านพระอุทายีพาหญิงเหล่านั้นชมวิหาร พูดชมบ้าง พูดติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ถามซ้ำบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก ทวารเบาของหญิงเหล่านั้น พวกหญิงที่ไม่กลัวบาป ใจถึง ไม่มียางอาย บ้างก็ยิ้มพราย บ้างก็พูดยั่ว บ้าง ก็กระซิกกระซี้ บ้างก็กระเซ้ากับท่านพระอุทายี ส่วนพวกหญิงที่มีความละอายใจ ก็เลี่ยงออกไปแล้วฟ้องภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านเจ้าข้า คำเช่นนี้ไม่เหมาะ ไม่ควร สามี พูดเช่นนี้พวกเราก็ยังไม่ชอบ นี่พระคุณเจ้าอุทายีมาพูดได้อย่างไร” บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายี จึงพูดเกี้ยวมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่ว หยาบจริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๑๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบเล่า โมฆบุรุษ เรา แสดงธรรมโดยประการต่างๆ เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด ฯลฯ เราบอกการระงับความกลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่างๆ มิใช่หรือ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้ว จึงรับสั่งให้ ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๒๘๔] ก็ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน พูดเกี้ยวมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว เป็น สังฆาทิเสส
เรื่องพระอุทายี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๘๕] คำว่า ก็...ใด คือผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ถูกราคะครอบงำแล้ว คือ มีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่ คำว่า แปรปรวน ความว่า จิตกำหนัดแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตโกรธแล้ว ชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตหลงแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง แต่จิตกำหนัดแล้ว พระผู้มีพระ ภาคทรงประสงค์ว่า แปรปรวน ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต คำ หยาบและคำสุภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๑๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

วาจาที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ ถ้อยคำที่พาดพิงเมถุนธรรมทางทวารหนัก ทวารเบา คำว่า พูดเกี้ยว นี้ ท่านเรียกความประพฤติล่วงเกิน คำว่า เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ได้แก่ หนุ่มพูดเกี้ยวสาว ชายวัย รุ่นพูดเกี้ยวหญิงวัยรุ่น คือ ชายผู้บริโภคกามพูดเกี้ยวหญิงผู้บริโภคกาม คำว่า พาดพิงเมถุน ได้แก่ ถ้อยคำเกี่ยวกับเมถุนธรรม คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินี้ สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
มาติกา
ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ถามซ้ำบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารทั้งสอง ที่ชื่อว่า พูดชม คือ พูดชมเชย พรรณนา พูดสรรเสริญทวารทั้งสอง ที่ชื่อว่า พูดติ คือ พูดข่ม พูดเสียดสี พูดติเตียนทวารทั้งสอง ที่ชื่อว่า ขอ คือ พูดว่า “จงให้แก่เรา ควรให้แก่เรา” ที่ชื่อว่า อ้อนวอน คือ พูดว่า “เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรบิดา ของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรเทวดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรเธอจะมีขณะดี มีลยะดี มี ครู่ดี เมื่อไรเราจะได้เสพเมถุนธรรมกับเธอ” ที่ชื่อว่า ถาม คือ ถามว่า “เธอให้แก่สามีอย่างไรหรือให้แก่ชายชู้อย่างไร” ที่ชื่อว่า ถามซ้ำ คือ สอบถามว่า “ทราบว่า เธอให้แก่สามีอย่างนี้ ให้แก่ชายชู้ อย่างนี้หรือ” ที่ชื่อว่า บอก คือ พอถูกถามจึงบอกว่า “เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้ จะเป็นที่รักใคร่พอใจของสามี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๑๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า สอน คือ เขาไม่ถามก็สอนว่า “เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้ จะเป็นที่รักใคร่พอใจของสามี” ที่ชื่อว่า ด่า คือ ด่าว่า “เธอไม่มีเครื่องหมายเพศ เธอสักแต่ว่ามีเครื่องหมาย เพศ เธอไม่มีประจำเดือน เธอมีประจำเดือนไม่หยุด เธอใช้ผ้าซับเสมอ เธอเป็นคน ไหลซึม เธอมีเดือย เธอเป็นบัณเฑาะก์หญิง เธอมีลักษณะคล้ายชาย เธอมีทวาร หนักทวารเบาติดกัน เธอมีสองเพศ”
หญิง
[๒๘๖] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ถามซ้ำบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของหญิง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุไม่แน่ใจหญิงว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็น บัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความ กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบา ของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของ บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็น ชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของ บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

ชาย
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ ไม่แน่ใจว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก ทวารเบาของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ ไม่แน่ใจว่า เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ
หญิง ๒ คน
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว (๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่า เป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความ กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบา ของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญก์ว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ มีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร เบาของบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก ทวารเบาของบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ชาย ๒ คน
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ ไม่แน่ใจว่า เป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่า เป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของชายทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว ฯลฯ ไม่แน่ใจว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่า บ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
หญิงและบัณเฑาะก์
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร เบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส (๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและบัณเฑาะก์ ทั้ง ๒ คน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับ ถุลลัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๒๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงและชาย
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของ ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส (๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก ทวารเบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
หญิงและสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ และมี ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร เบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส (๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน ทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็น สัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิง ทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์และชาย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ มีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร เบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย (๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็น หญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวาร หนักทวารเบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๒๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก ทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย (๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และ สัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ชายและสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ ฯลฯ ไม่แน่ ใจว่าเป็นชายและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญ ว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ใต้รากขวัญและเหนือเข่า
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ พูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักและทวารเบาของหญิง ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ฯลฯ (๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ (๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักและทวารเบาของหญิงทั้ง ๒ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๒๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้อง บนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักและทวารเบา ของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย ฯลฯ
เหนือรากขวัญและใต้เข่า
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูด ชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนเหนือรากขวัญขึ้นไป อวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่าลงมาของหญิง ต้องอาบัติทุกกฏ (๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ (๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ (๑) สัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ (๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบน เหนือรากขวัญขึ้นไป อวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่าลงมาของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ (๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้อง บนเหนือรากขวัญขึ้นไป อวัยวะเบื้องต่ำใต้เข่าลงมาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
พูดพาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกาย
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูด ชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกายของหญิง ต้องอาบัติ ทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท คาถารวมวินีตวัตถุ

(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ (๑) เป็นชาย ฯลฯ (๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ (๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกายของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ (๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงของที่เนื่อง ด้วยกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๘๗] ๑. ภิกษุมุ่งอรรถะ ๒. ภิกษุมุ่งธรรม ๓. ภิกษุมุ่งพร่ำสอน ๔. ภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว
เรื่องผ้ากัมพลสีแดง ๑ เรื่อง เรื่องผ้ากำพลขนแข็ง ๑ เรื่อง เรื่องผ้ากัมพลขนยุ่งเหยิง ๑ เรื่อง เรื่องผ้ากัมพลขนหยาบ ๑ เรื่อง เรื่องผ้าห่มขนยาว ๑ เรื่อง เรื่องนาหว่าน ๑ เรื่อง เรื่องหนทางราบเรียบ ๑ เรื่อง เรื่องมีศรัทธา ๑ เรื่อง เรื่องให้ทาน ๑ เรื่อง เรื่องทำงาน ๓ เรื่อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท วินีตวัตถุ

วินีตวัตถุ
เรื่องผ้ากัมพลสีแดง ๑ เรื่อง
[๒๘๘] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งห่มผ้ากัมพลใหม่สีแดง ภิกษุรูปหนึ่งมีความ กำหนัด ได้กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง เธอมีสีแดงแท้” แต่นางไม่เข้าใจความหมาย จึงกล่าวว่า “ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า ผ้ากัมพลใหม่สีแดง” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑)
เรื่องผ้ากัมพลขนแข็ง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งห่มผ้ากัมพลขนแข็ง ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง เธอมีขนแข็งแท้” แต่นางไม่เข้าใจความหมายจึงกล่าวว่า “ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า ผ้ากัมพลขนแข็ง” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒)
เรื่องผ้ากัมพลขนยุ่งเหยิง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งห่มผ้ากัมพลซักใหม่ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง เธอมีขนยุ่งเหยิง” แต่นางไม่เข้าใจความหมายจึงกล่าวว่า “ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า ผ้ากัมพลขนยุ่งเหยิง” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓)
เรื่องผ้ากัมพลขนหยาบ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งห่มผ้ากัมพลขนหยาบ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง เธอมีขนหยาบ” แต่นางไม่เข้าใจความหมายจึงกล่าวว่า “ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า ผ้ากัมพลขนหยาบ” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๒๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท วินีตวัตถุ

สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๔)
เรื่องผ้าห่มขนยาว ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งห่มผ้าห่มขนยาว ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าว กับเธอว่า “น้องหญิง เธอมีขนยาว” แต่นางไม่เข้าใจความหมายจึงกล่าวว่า “ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า ผ้าห่มขนยาว” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๕)
เรื่องนาหว่าน ๑ เรื่อง
[๒๘๙] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งหว่านนาแล้วเดินมา ภิกษุรูปหนึ่งมีความ กำหนัด ได้กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง เธอหว่านเสร็จแล้วหรือ” แต่นางไม่เข้าใจ ความหมายจึงกล่าวว่า “ใช่เจ้าค่ะ พระคุณเจ้า หว่านเสร็จแล้วแต่ยังมิได้ไถกลบ” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๖)
เรื่องหนทางราบเรียบ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบนางปริพาชิกาเดินสวนทางมา มีความกำหนัด ได้ กล่าวกับเธอว่า “น้องหญิง ทางของเธอราบเรียบหรือ” แต่นางไม่เข้าใจความหมาย จึงกล่าวว่า “เจ้าค่ะ นิมนต์พระคุณเจ้าเดินไปเถิด” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๗)
เรื่องมีศรัทธา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าวกับหญิงคนหนึ่งว่า “น้องหญิง เธอเป็นคนมีศรัทธา จะถวายสิ่งที่เธอให้แก่สามีแก่พวกอาตมาบ้างไม่ได้หรือ” “อะไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๒๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท วินีตวัตถุ

เจ้าค่ะ” ภิกษุนั้นตอบว่า“เมถุนธรรม” แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๘)
เรื่องให้ทาน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าวกับหญิงคนหนึ่งว่า “น้องหญิง เธอเป็นคนมีศรัทธา จะถวายทานอันเลิศแก่พวกอาตมาบ้างไม่ได้หรือ” “อะไร เจ้าค่ะ” ภิกษุนั้นตอบว่า “เมถุนธรรม” แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๙)
เรื่องทำงาน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าว กับเธอว่า “น้องหญิง หยุดเถิด อาตมาจักช่วยทำ” แต่นางไม่รู้ความหมาย ท่านเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๐) สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าว กับเธอว่า “น้องหญิง นั่งเถิด อาตมาจักช่วยทำ” แต่นางไม่รู้ความหมาย ท่านเกิด ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๑) สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งกำลังทำงานอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้กล่าว กับเธอว่า “น้องหญิง นอนพักเถิด อาตมาจักช่วยทำ” แต่นางไม่รู้ความหมาย ท่าน เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๒)
ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๒๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๑๕-๓๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=40              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=13714&Z=14203                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=397              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=397&items=17              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=807              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=397&items=17              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=807                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ss3/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :