![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๑
๓. ขัมภตกวรรค หมวดว่าด้วยการเท้าสะเอว สิกขาบทที่ ๑ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๙๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเท้าสะเอว ไปในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินเท้าสะเอวข้างเดียวหรือสองข้างไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๑ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเท้าสะเอว ในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงนั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเท้าสะเอวข้างเดียวหรือสองข้างในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินคลุมศีรษะ ไปในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๙๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งคลุมศีรษะ ในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงนั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๔ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๐๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินกระโหย่ง ไปในละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๕ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๐๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งรัดเข่าใน ละแวกบ้าน ฯลฯพระบัญญัติ ๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่าในละแวกบ้านเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงนั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าด้วยมือหรือด้วยผ้าในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๖ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต โดยไม่ให้ความสำคัญ ทำทีเหมือนจะทิ้ง ฯลฯพระบัญญัติ ๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุพึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำเหมือนจะทิ้ง ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๗ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต มองดูที่นั้นๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ย(บิณฑบาต)บ้าง เสร็จไปแล้วบ้าง ก็ยังไม่รู้สึกตัว ฯลฯพระบัญญัติ ๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาตเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุพึงให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาต ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตมองดูที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๘ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๐๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อรับ บิณฑบาต รับเอาแต่แกงเท่านั้น ฯลฯพระบัญญัติ ๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง๑-เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ที่ชื่อว่า แกง ได้แก่ แกง ๒ ชนิด คือ (๑) แกงถั่วเขียว (๒) แกงถั่วเหลือง ที่ใช้มือหยิบได้ ภิกษุพึงรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เลือกรับเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ @เชิงอรรถ : @๑ บิณฑบาต คือ ภัตตาหารที่มีแกงผสมอยู่ประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน คือ บิณฑบาต ๓ ส่วน แกง ๑ ส่วน ชื่อว่า @บิณฑบาตพอเหมาะกับแกง (วิ.อ. ๒/๖๐๔/๔๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๙
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุรับแกงหลายอย่าง ๖. ภิกษุรับของญาติ ๗. ภิกษุรับของผู้ปวารณา ๘. ภิกษุรับเพื่อผู้อื่น ๙. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑๐. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๑๑. ภิกษุวิกลจริต ๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๙ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๓. ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๐๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต ล้นขอบปากบาตร ฯลฯพระบัญญัติ ๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตรเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุพึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนล้นขอบปากบาตร ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ จบ ขัมภกตวรรคที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๗๐-๖๘๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=137 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=15453&Z=15585 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=820 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=820&items=10 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10458 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=820&items=10 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10458 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk21 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk22 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk23 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk24 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk25 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk26 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk27 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk28 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk29 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk30
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]