บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑
๔. สักกัจจวรรค หมวดว่าด้วยความเคารพ สิกขาบทที่ ๑ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๐๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต โดยไม่เคารพ ทำเหมือนไม่อยากจะฉัน ฯลฯพระบัญญัติ ๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำเหมือนไม่อยากจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๑ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๐๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต มองดูไปที่นั้นๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ย(บิณฑบาต) เสร็จไปแล้วบ้าง ก็ยังไม่รู้สึกตัว ฯลฯพระบัญญัติ ๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักให้ความสำคัญในบาตรขณะฉันบิณฑบาตเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุพึงให้ความสำคัญในบาตร ขณะฉันบิณฑบาต ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตมองดูไปที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๒}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต เจาะลงในที่นั้นๆ ฯลฯพระบัญญัติ ๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตไปตามลำดับเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุตักให้ผู้อื่นจึงเว้าแหว่ง ๖. ภิกษุตักเกลี่ยลงในภาชนะอื่นจึงเว้าแหว่ง ๗. ภิกษุตักแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อฉัน บิณฑบาต ฉันเฉพาะแกงมาก ฯลฯพระบัญญัติ ๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกงเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ที่ชื่อว่า แกง ได้แก่ ๒ ชนิด คือ (๑) แกงถั่วเขียว (๒) แกงถั่วเหลืองที่ใช้มือ หยิบได้ ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุฉันแกงหลายอย่าง ๖. ภิกษุฉันของญาติ ๗. ภิกษุฉันของผู้ปวารณา ๘. ภิกษุฉันเพื่อผู้อื่น ๙. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑๐. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๑๑. ภิกษุวิกลจริต ๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๔ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๑๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต ขยุ้มลงแต่ยอด ฯลฯพระบัญญัติ ๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอดเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุกวาดตะล่อมข้าวที่เหลือรวมเป็นคำแล้วฉัน ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๕ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๑๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ข้าวสุกกลบ แกงบ้าง กับข้าวบ้าง เพราะอยากได้มาก ฯลฯพระบัญญัติ ๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว เพราะอยากได้มากเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว เพราะอยากได้มาก ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว เพราะอยากได้มาก ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. เจ้าของกลบไว้ถวาย ๕. ภิกษุมิได้มุ่งกลบเพราะโลภมาก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๖ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๑๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอ แกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัว พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วน ตัวเล่า ภัตตาหารที่ดีใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัวเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอขอแกงบ้าง ข้าว สุกบ้างมาฉันส่วนตัวจริงหรือ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงออก ปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัวเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น ได้เลย ฯลฯ แล้วรึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ ๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ออกปากขอแกง หรือข้าวสุก มาฉันส่วนตัว สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้ [๖๑๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ พวกภิกษุผู้มีหน้าที่สอบถามอาการไข้ ได้กล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็นไข้ดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกภิกษุผู้เป็นไข้ตอบว่า เมื่อก่อนพวกกระผมออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุก บ้างมาฉันส่วนตัว ดังนั้นจึงมีความผาสุก แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมมีความยำเกรงอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ จึงไม่ออกปากขอ ดังนั้นจึงไม่มีความผาสุก พวกภิกษุ ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ขอได้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ออกปากขอแกง หรือ ข้าวสุกมาฉันส่วนตัวได้ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระอนุบัญญัติ พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ออกปากขอแกงหรือข้าวสุก มาฉันส่วนตัวเรื่องพระผู้เป็นไข้ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
อนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุขอจากญาติ ๖. ภิกษุขอจากคนปวารณา ๗. ภิกษุขอเพื่อผู้อื่น ๘. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๙. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๑๐. ภิกษุวิกลจริต ๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๗ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๑๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มุ่งตำหนิ จึง มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ฯลฯพระบัญญัติ ๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่นเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงมุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุแลดูด้วยตั้งใจว่าจะเติมของฉันให้ หรือสั่งให้เขาเติมถวาย ๕. ภิกษุไม่มุ่งจะตำหนิ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๘ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวใหญ่ ฯลฯพระบัญญัติ ๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่างๆ ๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๙ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]
๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๖๑๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวยาว ฯลฯพระบัญญัติ ๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมเรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุพึงทำคำข้าวให้กลม ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่างๆ ๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ จบ สักกัจจวรรคที่ ๔ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๘๑-๖๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=138 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=15586&Z=15758 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=830 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=830&items=11 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10504 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=830&items=11 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10504 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk31 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk32 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk33 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk34 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk35 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk36 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk37 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk38 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk39 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk40
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]