ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ปัตตวรรค
๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอด้าย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น เมื่อถึงคราวทำจีวร พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ออกปากขอด้ายมาเป็นอันมาก ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ด้ายเหลืออยู่เป็นอันมาก ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีความคิดว่า “เอาเถิด พวกเราจะออกปากขอด้ายอื่นมาใช้ ช่างหูกให้ทอจีวร” ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ไปขอด้ายเป็นอันมากมาใช้ช่างหูก ทอจีวร เมื่อทอจีวรแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออีกมาก แม้ครั้งที่ ๒ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ ไปออกปากขอด้ายอื่นอีกเป็นอันมากมาใช้ช่างหูกให้ทอจีวร เมื่อทอจีวรแล้ว ด้ายก็ ยังเหลืออยู่มาก แม้ครั้งที่ ๓ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ไปขอด้ายอื่นอีกเป็นอันมากมา ให้ช่างหูกทอจีวร พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ สายศากยบุตรจึงออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงออกปากขอ ด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอออกปากขอด้าย มาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๓๗] ก็ ภิกษุใดออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๓๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า เอง คือ ออกปากขอเขามาด้วยตนเอง ที่ชื่อว่า ด้าย ได้แก่ ด้าย ๖ ชนิด คือ (๑) ด้ายที่ทำด้วยเปลือกไม้ (๒) ด้าย ที่ทำด้วยฝ้าย (๓) ด้ายที่ทำด้วยไหม (๔) ด้ายที่ทำด้วยขนสัตว์ (๕) ด้ายที่ทำด้วย ป่าน (๖) ด้ายที่ทำด้วยวัตถุทั้ง ๕ ชนิดผสมกัน คำว่า ช่างหูก คือ ใช้ช่างหูกให้ทอ ต้องอาบัติทุกกฏทุกขณะที่พยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของ จำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของ กระผมออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้ แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ กระผมออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืน นี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมออกปากขอด้าย มาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ แล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๓๙] จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๔๐] ๑. ภิกษุขอด้ายมาเย็บจีวร ๒. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ารัดเข่า ๓. ภิกษุขอด้ายมาทำประคดเอว ๔. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้าอังสะ ๕. ภิกษุขอด้ายมาทำถุงบาตร ๖. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ากรองน้ำ ๗. ภิกษุขอจากญาติ ๘. ภิกษุขอจากคนปวารณา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร

๙. ภิกษุขอเพื่อภิกษุอื่น ๑๐. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน ๑๑. ภิกษุวิกลจริต ๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ
สุตตวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๖๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๕๖-๑๖๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=26              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=3895&Z=4004                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=153              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=153&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=5691              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=153&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=5691                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np26/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :