บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๔. ปุราณจีวรสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค ๔. ปุราณจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า เรื่องพระอุทายีกับอดีตภรรยา [๕๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อดีตภรรยาของท่านพระอุทายีบวช อยู่ในสำนักภิกษุณี นางมาหาท่านพระอุทายีอยู่เสมอ แม้ท่านพระอุทายีก็ไปหา นางอยู่เสมอ ก็ในสมัยนั้น ท่านพระอุทายีกระทำภัตกิจในที่อยู่ของนาง เช้าวันหนึ่ง ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรไปหานางถึงที่อยู่ เมื่อเข้าไปถึงแล้วก็นั่งบนอาสนะเปิดองคชาตต่อหน้าภิกษุณีนั้น แม้ภิกษุณีนั้นก็นั่งบน อาสนะเปิดองค์กำเนิดต่อหน้าท่านพระอุทายีเช่นกัน ท่านพระอุทายีเกิดความ กำหนัดเพ่งมององค์กำเนิดของนาง น้ำอสุจิของท่านพระอุทายีนั้นเคลื่อน ครั้นแล้ว ท่านพระอุทายีจึงกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า น้องหญิง เธอจงไปหาน้ำมา ฉันจะ ซักอันตรวาสก นางตอบว่า โปรดส่งมาเถิด ดิฉันจะซักให้ ครั้นแล้วนางใช้ปากดูดอสุจิส่วนหนึ่ง และสอดอสุจิอีกส่วนหนึ่งเข้าในองค์ กำเนิด เพราะเหตุนั้นนางจึงได้ตั้งครรภ์ พวกภิกษุณีพูดว่า ภิกษุณีนั้นไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์จึงตั้งครรภ์ นางตอบว่า แม่เจ้า ไม่ใช่ว่าดิฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ แล้วบอกเรื่อง นั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ พวกภิกษุณีพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงให้ ภิกษุณีซักจีวรเก่าให้เล่า แล้วนำเรื่องนี้ไปบอกให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุทายีจึงให้ภิกษุณีซักจีวรเก่าให้เล่า ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระอุทายี โดยประการ ต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๔. ปุราณจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุทายีว่า อุทายี ทราบว่า เธอใช้ภิกษุณีซักจีวรเก่า จริงหรือ พระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธองค์ทรงถามว่า อุทายี นางเป็น ญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ พระอุทายีทูลตอบว่า ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า โมฆบุรุษ ชายผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใสของหญิงผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ เธอนั้น๑- ใช้ภิกษุณีผู้ที่ไม่ใช่ญาติให้ซักจีวรเก่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๕๐๔] ก็ ภิกษุใดใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก ให้ย้อม หรือให้ทุบจีวรเก่า ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์เรื่องพระอุทายีกับอดีตภรรยา จบ สิกขาบทวิภังค์ [๕๐๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา ตลอดเจ็ดชั่วคน๒- @เชิงอรรถ : @๑ ตตฺถ เธอนั้น นี้เป็น ปจฺจตฺตกตฺวตฺถ หรือ กรณกตฺวตฺถ คือมีอรรถเป็นปฐมาวิภัตติ หรือตติยาวิภัตติ @(ตตฺถ นาม ตฺวนฺติ โส นาม ตฺวํ, ตาย นาม ตฺวนฺติ วา อตฺโถ - วิมติ. ฏีกา ๑/๕๐๓-๕/๔๑๗ แปลว่า เธอนั้น @หรือภิกษุณีนั้น ก็ได้) @๒ เจ็ดชั่วคน คือวงศ์สกุลที่สืบสายโลหิตกันมา นับตั้งแต่ตัวภิกษุขึ้นไป ๓ ชั้น คือชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด @กับนับจากตัวภิกษุลงมาอีก ๓ ชั้น คือชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วคน @(วิ.อ. ๒/๕๐๓-๕๐๕/๑๖๕-๑๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๔. ปุราณจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ที่ชื่อว่า จีวรเก่า ได้แก่ ผ้าที่นุ่งแล้วแม้เพียง ๑ ครั้ง ผ้าที่ห่มแล้วแม้เพียง ๑ ครั้ง ภิกษุสั่งว่า จงซัก ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ภิกษุณีซักแล้วเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุสั่งว่า จงย้อม ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ภิกษุณีย้อมแล้วเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุสั่งว่า จงทุบ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณีใช้มือหรือตะลุมพุกทุบเพียง ๑ ครั้ง จีวรเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ สละแก่สงฆ์ ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ จีวรเก่าผืนนี้ กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์ ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้สละแก่คณะ ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ จีวรเก่า ผืนนี้กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรเก่าผืนนี้แก่ ท่านทั้งหลาย ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๔. ปุราณจีวรสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรเก่าผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้สละแก่บุคคล ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ จีวรเก่าผืนนี้กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า กระผมคืน จีวรเก่าผืนนี้ให้แก่ท่านบทภาชนีย์ สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๑ [๕๐๖] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซักจีวรเก่า ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ทุบจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ทุบจีวร เก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๒ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อมจีวรเก่า ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๔. ปุราณจีวรสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ทุบจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ซักจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ซัก จีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๓ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบจีวรเก่า ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ซักจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ย้อมจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมจีวร เก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ฯลฯ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ฯลฯทุกกฏ ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักจีวรเก่าของภิกษุรูปอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๑. จีวรวรรค ๔. ปุราณจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๐๗] ๑. ภิกษุผู้เป็นเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง โดยมีภิกษุณี สหายผู้ไม่ใช่ญาติคอยช่วยเหลือ ๒. ภิกษุไม่ได้ใช้ ภิกษุณีไม่ใช่ญาติซักให้เอง ๓. ภิกษุใช้ซักจีวรที่ยังไม่ได้ใช้สอย ๔. ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักบริขารอย่างอื่น นอกจากจีวร ๕. ภิกษุใช้สิกขมานาให้ซัก ๖. ภิกษุใช้สามเณรีให้ซัก ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติปุราณจีวรสิกขาบทที่ ๔ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๖-๓๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=4 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=553&Z=751 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=42 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=42&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=3911 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=42&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=3911 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np4/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]