ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๒. อัญญวาทกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. ภูตคามวรรค
๒. อัญญวาทกสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน
เรื่องพระฉันนะ
[๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง โกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติไม่เหมาะสม ถูกพระวินัยธรไต่สวนอาบัติ ท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระ ฉันนะถูกพระวินัยธรไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบ เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่าน กล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการ ต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถามพระฉันนะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เมื่อเธอถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีก เรื่องหนึ่งว่า ‘ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร’ จริงหรือ” ท่านพระฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่าม กลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า ใครต้อง ฯลฯ พวกท่านกล่าวเรื่องอะไรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๒. อัญญวาทกสิกขาบท นิทานวัตถุ

ให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงอัญญวาทกกรรม๑- แก่ภิกษุฉันนะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอัญญวาทกกรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
กรรมวาจา
[๙๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติ ท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าสงฆ์พร้อม กันแล้ว พึงลงอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลาง สงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง สงฆ์จึงลงอัญญวาทกกรรม แก่ภิกษุชื่อฉันนะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง อัญญวาทกกรรมสงฆ์ลงแก่ภิกษุชื่อฉันนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ทีนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่างๆ แล้วได้ ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ คำว่า “อัญญวาทกกรรม” ได้แก่ การลงโทษภิกษุที่แกล้งยกเรื่องอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อนข้อหาที่ถูก @โจทไม่ให้การตามตรงเมื่อถูกสงฆ์สอบสวน เช่น ถูกพระวินัยธรถามว่า “ท่านต้องอาบัตินี้หรือ” ก็กล่าวว่า @“กระผมไปกรุงปาฏลีบุตรมา” เมื่อพระวินัยธรกล่าวอีกว่า “ไม่ได้ถามท่านเรื่องไปกรุงปาฏลีบุตร แต่ถาม @เรื่องอาบัติ” ก็กล่าวว่า “ต่อจากกรุงปาฏลีบุตร กระผมก็ไปกรุงราชคฤห์” (วิ.อ. ๒/๙๔/๒๙๓, @สารตฺถ.ฏีกา ๓/๙๔-๙๘/๒๘-๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๒. อัญญวาทกสิกขาบท พระบัญญัติ

พระบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ [๙๖] สมัยนั้น ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ คิดว่า “เมื่อเรา นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งต้องอาบัติ” จึงนิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ ลำบาก บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน พระฉันนะเมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ จึงนิ่งเสีย ทำสงฆ์ให้ลำบากเล่า” ครั้น ภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถามพระฉันนะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธอเมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ กลับนิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบากจริงหรือ” ท่าน พระฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอเมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ จึงนิ่ง ทำสงฆ์ให้ลำบาก เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้น ทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้า เช่นนั้น สงฆ์จงลงวิเหสกกรรม๑- แก่ภิกษุฉันนะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงวิเหสกกรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า @เชิงอรรถ : @ คำว่า “วิเหสกกรรม” ได้แก่ การลงโทษภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือภิกษุประพฤติไม่สมควร สงฆ์เรียกตัว @มาถามกลับนิ่งเฉยไม่ตอบ สงฆ์จึงสวดประกาศการที่เธอทำตัวเช่นนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๒. อัญญวาทกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

กรรมวาจา
[๙๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติ ท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบาก ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงลงวิเหสกกรรม แก่ภิกษุชื่อฉันนะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลาง สงฆ์ ได้นิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบาก สงฆ์จึงลงวิเหสกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ท่านรูป ใดเห็นด้วยกับการลงวิเหสกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่ เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง วิเหสกกรรมสงฆ์ลงแก่ภิกษุชื่อฉันนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ทีนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่างๆ แล้วได้ ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๙๘] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก
เรื่องพระฉันนะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๙] ที่ชื่อว่า นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวน วัตถุ๑- หรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น @เชิงอรรถ : @ คำว่า “วัตถุ” ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่ถูกสงฆ์นำมาสอบสวน กรณีที่สงฆ์ยกขึ้นมาสอบสวน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๒. อัญญวาทกสิกขาบท บทภาชนีย์

กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ต้องอะไร ต้อง ในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร” นี้ชื่อว่านำเอา เรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน ที่ชื่อว่า ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลาง สงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเฉย นี้ชื่อว่าทำสงฆ์ให้ ลำบาก
บทภาชนีย์
[๑๐๐] เมื่อสงฆ์ยังไม่ลงอัญญวาทกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่าม กลางสงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น กลับนำเอาเรื่องอื่นมา กล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้อง อย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อสงฆ์ยังไม่ลงวิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเฉยทำสงฆ์ให้ลำบาก ต้อง อาบัติทุกกฏ เมื่อสงฆ์ลงอัญญวาทกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบ เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ฯลฯ พวกท่านกล่าวเรื่องอะไร” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อสงฆ์ลงวิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์ ไม่ ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบาก ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๑] กรรมที่ทำถูกต้อง๑- ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก @เชิงอรรถ : @ หมายถึงอัญญวาทกกรรมและวิเหสกกรรม (วิ.อ. ๒/๑๐๑/๒๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๒. อัญญวาทกสิกขาบท อนาปัตติวาร

กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมา กล่าวกลบเกลื่อน เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๐๒] ๑. ภิกษุไม่เข้าใจจึงถาม ๒. ภิกษุเป็นไข้ให้การไม่ได้ ๓. ภิกษุไม่ยอมกล่าวเพราะคิดว่า สงฆ์จะมีความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน ขัดแย้งกัน หรือวิวาทกัน ๔. ภิกษุไม่ยอมกล่าวเพราะคิดว่า สงฆ์จักแตกแยก หรือสงฆ์จะ ร้าวฉาน ๕. ภิกษุไม่ยอมกล่าวเพราะคิดว่า สงฆ์จักทำกรรมที่ไม่ถูกต้อง จะ แยกพวกกันทำ หรือจะลงโทษภิกษุผู้ไม่ควรลงโทษ ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
อัญญวาทกสิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๘๑-๒๘๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=48              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=8606&Z=8723                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=358              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=358&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6897              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=358&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6897                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc12/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :