บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
บทสรุป แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท๑- ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว คือ ๙ สิกขาบทแรก ต้องอาบัติในขณะที่ล่วงละเมิดทีเดียว ๘ สิกขาบทหลัง ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ภิกษุณีต้องอาบัติข้อใดข้อหนึ่งแล้วต้อง ประพฤติปักขมานัต๒- ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ภิกษุณีผู้ประพฤติมานัตแล้วถูกสงฆ์เรียกเข้า หมู่ในสีมาที่มีภิกษุณีสงฆ์ ๒๐ รูป ถ้าภิกษุณีสงฆ์มีคณะ ๒๐ รูปขาดไปแม้เพียง ๑ รูป เรียกภิกษุณีนั้นเข้าหมู่ ภิกษุณีนั้นไม่เป็นอันสงฆ์เรียกเข้าหมู่ และภิกษุณี เหล่านั้นควรถูกตำหนิ นี้เป็นการทำที่สมควรในกรรมนั้น @เชิงอรรถ : @๑ สังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทของภิกษุณีสงฆ์นี้ปรากฏในที่นี้เพียง ๑๐ สิกขาบท เป็นอสาธารณบัญญัติ @คือ ภิกษุสงฆ์ไม่ต้องรักษา ที่เป็นสาธารณบัญญัติ คือ ภิกษุสงฆ์ต้องรักษาด้วย ๗ สิกขาบท คือ @(๑) สัญจริตตสิกขาบท ว่าด้วยการชักสื่อ (๒) ปฐมทุฏฐโทสะ ข้อที่ ๑ ว่าด้วยภิกษุณีขัดเคืองมีโทสะ @(๓) ทุติยทุฏฐโทสะ ว่าด้วยภิกษุณีขัดเคืองมีโทสะข้อที่ ๒ (๔) สังฆเภท ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน @(๕) สังฆเภทานุวัตตกะ ว่าด้วยภิกษุณีผู้ประพฤติตามกล่าวสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ (๖) ทุพพจะ ว่า @ด้วยภิกษุณีเป็นคนว่ายาก (๗) กุลทูสกะ ว่าด้วยภิกษุณีผู้ประทุษร้ายตระกูล (ดูวินัยปิฎก แปล ๑/๒๙๙/๓๔๒, @๓๐๑/๓๔๔, ๓๘๕/๔๑๙, ๓๙๒/๔๓๒, ๔๑๑/๔๔๔-๔๔๕, ๔๑๘/๔๕๐, ๔๒๕/๔๕๕, ๔๓๖/๔๖๖-๔๖๗) @๒ ปักขมานัต คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติหนักสำหรับภิกษุณี ใช้เวลา ๑๕ วัน @(กงฺขา.อ. ๑๗๔-๑๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗๔}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]
บทสรุป
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทเหล่านั้น ว่า ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทนี้ เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้สังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท จบ สังฆาทิเสสกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗๕}
หน้าว่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๗๖}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๗๔-๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=15 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=1328&Z=1341 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=92 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=92&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11114 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=92&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11114 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss13/en/brahmali#pli-tv-bi-vb-ss13:3.12 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss13/en/horner#Bi-Ss.13.3.1
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]