ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ

๔. ปาจิตติยกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบทเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยก ขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ
๑. ลสุณวรรค
หมวดว่าด้วยกระเทียม
สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการขอกระเทียม
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งปวารณาด้วย กระเทียมกับภิกษุณีสงฆ์ไว้ว่า “กระผมขอปวารณาแม่เจ้าทั้งหลายที่ต้องการกระเทียม ด้วยกระเทียม” และสั่งคนเฝ้าไร่ว่า “ถ้าภิกษุณีทั้งหลายมาก็จงถวายเธอไปรูปละ ๒-๓ กำ” ครั้งนั้นมีมหรสพในกรุงสาวัตถี กระเทียมที่เขานำมาเก็บไว้ได้หมดลง ภิกษุณี ทั้งหลายเข้าไปหาอุบาสกนั้นได้กล่าวดังนี้ว่า “พวกเราต้องการกระเทียม” อุบาสกนั้นกล่าวว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย กระเทียมไม่มี กระเทียมที่เขานำมาเก็บ ไว้หมดแล้ว ท่านทั้งหลายโปรดไปที่ไร่” ภิกษุณีถุลลนันทาไปที่ไร่แล้วให้นำกระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณ คนเฝ้าไร่จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ๊ ไฉนพวกภิกษุณีจึงไปที่ไร่แล้วให้นำ กระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณเล่า” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเฝ้าไร่ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๒๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ

ให้นำกระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณเล่า” ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้น ได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้นำ กระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้นำกระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใส ไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป” ครั้นทรงตำหนิภิกษุณี ถุลลนันทาโดยประการต่างๆ แล้ว ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะ สมให้คล้อยตามกับเรื่องนั้น รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาเคยเป็นภรรยาของพราหมณ์ คนหนึ่ง มีธิดา ๓ คน ชื่อนันทา นันทวดี สุนทรีนันทา ภิกษุทั้งหลาย ต่อมา พราหมณ์นั้นตายไปเกิดเป็นหงส์ตัวหนึ่ง มีขนเป็นทองคำล้วน หงส์นั้นมาสลัดขน ทองคำให้แก่ธิดาเหล่านั้นคนละขน ต่อมาภิกษุณีถุลลนันทาคิดว่า “หงส์ตัวนี้สลัด ขนให้พวกเราคนละขนเท่านั้น” จึงจับพญาหงส์ถอนขนจนหมด แต่ขนที่งอกขึ้นใหม่ กลายเป็นสีขาว ในครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเสื่อมจากทองคำเพราะความโลภเกินไป บัดนี้ก็เสื่อมจากกระเทียม ได้สิ่งใด ควรพอใจสิ่งนั้น ความโลภเกินไปเป็นความชั่วร้าย (เหมือน)ถุลลนันทาจับพญาหงส์แล้วเสื่อมจากทอง”๑- @เชิงอรรถ : @ ขุ.ชา. ๒๗/๑๓๖/๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๒๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์

ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุณีถุลลนันทาโดยประการต่างๆ แล้ว รับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๙๔] ก็ภิกษุณีใดฉันกระเทียม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๙๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า กระเทียม พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงกระเทียมชื่อมาคธิกะ๑- ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๗๙๖] กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กระเทียม ภิกษุณีไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ คำว่า “มาคธิกะ” เป็นชื่อเฉพาะของกระเทียมพันธุ์นี้ เพราะเกิดในแคว้นมคธ กระเทียมชนิดนี้ @หนึ่งต้นจะมีหลายหัวติดกันเป็นพวง ไม่ใช่หัวเดียว (วิ.อ. ๒/๗๙๕/๔๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๒๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร

ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกระเทียม ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๙๗] ๑. ภิกษุณีฉันกระเทียมเหลือง๑- ๒. ภิกษุณีฉันกระเทียมแดง ๓. ภิกษุณีฉันกระเทียมเขียว ๔. ภิกษุณีฉันกระเทียมต้นเดี่ยว ๕. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในแกง ๖. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในเนื้อ ๗. ภิกษุณีฉันกระเทียมเจียวน้ำมัน ๘. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในยำผักสด ๙. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในแกงอ่อม ๑๐. ภิกษุณีวิกลจริต ๑๑. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ กระเทียมชนิดอื่นๆ มีลักษณะต่างจากกระเทียมมาคธิกะ เฉพาะสีและเยื่อเท่านั้น (วิ.อ. ๒/๗๙๗/๔๘๘) @แต่พระวินัยปิฎก ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY กล่าวว่า คำว่า “กระเทียมเหลือง” หมายถึงหัวหอม @“กระเทียมแดง” หมายถึงหัวผักกาด “กระเทียมเขียว” หมายถึงสมอเหลือง (ดู The Book of the @Discipline Vol.III, PP ๒๔๕, PTS.) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๓๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๒๗-๑๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=2243&Z=2314                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=147              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=147&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11223              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=147&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11223                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.147 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc1/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc1/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :