ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการเข้าละแวกหมู่บ้านตามลำพังเป็นต้น
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี
[๖๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี ทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลาย จึงหนีไปตระกูลญาติในหมู่บ้าน พระภัททกาปิลานีไม่เห็นเธอจึงถามภิกษุณีทั้งหลายว่า “ภิกษุณีชื่อนี้หายไปไหน” ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า “แม่เจ้า เธอทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลายแล้วหายไป” พระภัททกาปิลานีกล่าวว่า “ที่หมู่บ้านโน้น มีตระกูลญาติของภิกษุณีนี้อยู่ ท่านทั้งหลายจงไปสืบหาดูที่ตระกูลญาตินั้น” ภิกษุณีทั้งหลายไปที่ตำบลนั้นพบภิกษุณีนั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “แม่เจ้า ทำไมเธอมาคนเดียว ไม่ถูกใครทำมิดีมิร้ายบ้างหรือ” เธอตอบว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ดิฉันไม่ถูกใครทำมิดีมิร้ายเลย” บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณีจึงไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียวเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีเข้าละแวกหมู่บ้าน รูปเดียว จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูป เดียวเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๕}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ พระบัญญัติ

พระบัญญัติ
ก็ภิกษุณีใดไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว แม้ภิกษุณีนี้ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ที่ชื่อว่าปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี จบ
เรื่องภิกษุณี ๒ รูป
[๖๘๘] สมัยนั้น ภิกษุณี ๒ รูปเดินทางไกลจากเมืองสาเกตไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางต้องข้ามแม่น้ำ ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้เข้าไปหาพวกเรือจ้างแล้ว ได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายโปรดสงเคราะห์พวกดิฉันให้ข้ามฟากด้วยเถิด” พวกเรือจ้างตอบว่า “แม่เจ้า พวกเราไม่สามารถพาข้ามไปคราวละ ๒ รูปได้ นายเรือจ้างคนหนึ่งจึงพาภิกษุณีรูปหนึ่งข้ามฟาก นายเรือจ้างคนที่ข้ามฟากแล้ว ข่มขืนภิกษุณีรูปที่ข้ามฟากแล้ว นายเรือจ้างคนที่ยังไม่ข้ามฟากก็ข่มขืนอีกรูปหนึ่งที่ ยังไม่ข้ามฟาก ภายหลัง ภิกษุณีทั้งสองนั้นพบกันแล้วถามกันว่า “เธอไม่ถูกทำมิดีมิร้ายบ้าง หรือ” รูปที่ถูกถามตอบว่า “แม่เจ้า ฉันถูกทำมิดีมิร้าย ก็ท่านไม่ถูกทำมิดีมิร้าย บ้างหรือ” อีกรูปหนึ่งตอบว่า “แม่เจ้า ฉันก็ถูกทำมิดีมิร้าย” ครั้นเธอทั้งสองถึงกรุงสาวัตถี บอกเรื่องนี้ให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดา ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีจึงข้าม ฝั่งแม่น้ำรูปเดียวเล่า” ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ พระอนุบัญญัติ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีข้ามฝั่งแม่น้ำรูปเดียว จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงข้ามฝั่งแม่น้ำรูปเดียวเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุณีใดไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว หรือข้ามฝั่งแม่น้ำรูปเดียว แม้ภิกษุณีนี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อว่าปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณี ๒ รูป จบ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๖๘๙] สมัยนั้น ภิกษุณีจำนวนหลายรูปเดินทางไปกรุงสาวัตถี ในแคว้นโกศล ได้เข้าไปสู่หมู่บ้านหนึ่งในตอนเย็น ในบรรดาภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งมีรูปงาม น่าดู น่าชม ชายคนหนึ่งพอได้เห็นก็มีจิตรักใคร่ภิกษุณีนั้น ชายผู้นั้นเมื่อจัดที่นอน ถวายภิกษุณีเหล่านั้น ได้จัดที่นอนไว้เพื่อภิกษุณีรูปงามนั้น ณ ส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุณีนั้นรู้ทันว่า “ชายคนนี้ถูกราคะครอบงำ ถ้าเขามาหาตอนกลางคืน เราต้อง เสียหายแน่” จึงไปนอนที่ตระกูลหนึ่งโดยไม่บอกภิกษุณีทั้งหลาย ครั้งนั้น ชายผู้นั้น มาค้นหาภิกษุณีนั้น พอดีไปถูกตัวภิกษุณีทั้งหลาย พวกภิกษุณี(ตื่นขึ้นมา)ไม่เห็น ภิกษุณีนั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีนั้นออกไปกับผู้ชายแล้วแน่นอน” ครั้นเมื่อผ่านราตรีนั้น ภิกษุณีนั้นเข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย พวกภิกษุณีได้ กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า เธอออกไปกับผู้ชายหรือ” ภิกษุณีนั้นกล่าวว่า “แม่เจ้า ดิฉันมิได้ออกไปกับผู้ชาย” แล้วบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ พระอนุบัญญัติ

บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณีจึงออกไปอยู่พักแรมในราตรีเพียงรูปเดียวเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้ นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีออกไปอยู่พักแรมใน ราตรีเพียงรูปเดียวจริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงออกไปอยู่พัก แรมในราตรีเพียงรูปเดียวเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุณีใดไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว ข้ามฝั่งแม่น้ำรูปเดียว หรือ ออกไปอยู่พักแรมในราตรีรูปเดียว แม้ภิกษุณีนี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสชื่อ ปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๖๙๐] สมัยนั้น ภิกษุณีจำนวนหลายรูปเดินทางไกลไปกรุงสาวัตถี ในแคว้น โกศล ภิกษุณีรูปหนึ่งปวดอุจจาระ จึงปลีกตัว เดินตามหลังไปรูปเดียว คนทั้งหลาย เห็นเธอจึงข่มขืน ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นเข้าไปหาภิกษุณีเหล่านั้น พวกภิกษุณีได้ กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “ทำไมเธอจึงปลีกตัวอยู่เพียงรูปเดียว ไม่ถูกทำมิดีมิร้าย ดอกหรือ” ภิกษุณีนั้นจึงตอบว่า “แม่เจ้า ดิฉันถูกทำมิดีมิร้าย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์

บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณีจึงเดินปลีกตัวจากคณะอยู่เพียงรูปเดียวเล่า” ฯลฯ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีเดินปลีกตัวจากคณะ อยู่เพียงรูปเดียว จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงเดินปลีกตัวจากคณะ อยู่เพียงรูปเดียวเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นอีกได้เลย ฯลฯ” แล้วจึง รับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๖๙๑] อนึ่ง ภิกษุณีใดไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว ข้ามฝั่งแม่น้ำรูปเดียว ออกไปอยู่พักแรมในราตรีรูปเดียว หรือปลีกตัวจากคณะอยู่รูปเดียว แม้ ภิกษุณีนี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อว่าปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๙๒] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส ว่า อนึ่ง ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า ไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว ความว่า เมื่อเธอย่างเท้าก้าวที่ ๑ เข้า สู่บริเวณรั้วของหมู่บ้านที่มีรั้วล้อม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร

เมื่อเธอย่างเท้าก้าวที่ ๑ เข้าสู่อุปจารของหมู่บ้านที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คำว่า ข้ามฝั่งแม่น้ำรูปเดียว ความว่า ที่ชื่อว่าแม่น้ำ คือสถานที่ใดที่หนึ่งซึ่ง เมื่อภิกษุณีครองผ้าปกปิดมณฑล ๓ เดินข้าม อันตรวาสกเปียก เมื่อเธอย่างเท้าก้าว ที่ ๑ ข้ามไปต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ข้ามไปต้องอาบัติสังฆาทิเสส คำว่า ออกไปอยู่พักแรมในราตรีรูปเดียว ความว่า เธอละหัตถบาส(ระยะ ห่างสองศอกครึ่ง)จากภิกษุณีที่เป็นเพื่อนในขณะที่อรุณขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย พ้น หัตถบาสแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คำว่า หรือปลีกตัวจากคณะอยู่รูปเดียว ความว่า ในป่าซึ่งไม่มีหมู่บ้านอยู่ เมื่อเดินไปกำลังจะพ้นระยะที่จะมองเห็นได้หรือบริเวณที่เพื่อนภิกษุณีจะได้ยินเสียง ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อพ้นไปแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คำว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ คำว่า ปฐมาปัตติกะ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุโดยไม่ต้อง สวดสมนุภาสน์ คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๙๓] ๑. ภิกษุณีที่เพื่อนภิกษุณีจากไป สึก มรณภาพ หรือไปเข้ารีต ๒. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๕-๔๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=7              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=559&Z=687                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=40              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=40&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10979              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=40&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10979                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.040 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss3/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss3/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :