บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]
๑๒๐. อผาสุวิหาร
๔. ปวารณาขันธกะ ๑๒๐. อผาสุวิหาร ว่าด้วยการอยู่จำพรรษาไม่ผาสุก เรื่องภิกษุหลายรูปเข้าจำพรรษาในแคว้นโกศลมาเฝ้าพระศาสดา [๒๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปซึ่งเคยเห็นเคยคบกัน เข้าจำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ด้วยอุบาย อย่างไรหนอ พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียง ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา อย่างผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต แล้วปรึกษากันต่อไปว่า ถ้าพวกเราจะไม่ ทักทายไม่ปราศรัยกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นพึง ปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหาร ที่เหลือ๑- ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูป ก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการพึงฉัน ถ้าไม่ต้องการ พึงเททิ้งยังที่อันปราศจากของ เขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นพึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงตักใส่ ถ้าไม่สามารถ พึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก ไม่พึงเอ่ยวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยอุบาย อย่างนี้แล พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา เป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นก็ไม่ทักทายไม่ปราศรัยกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับ จากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นก็ปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า @เชิงอรรถ : @๑ ภาชนะสำหรับใส่อาหารส่วนที่เหลือซึ่งนำออกจากบาตร (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๖๖/๔๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๓๑}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]
๑๒๐. อผาสุวิหาร
ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้าน ทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูปก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการก็ฉัน หากไม่ต้องการ ก็เททิ้งยังที่ อันปราศจากของเขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นก็เก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อชำระว่างเปล่า รูปนั้นก็ตักใส่ ถ้าไม่สามารถก็กวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก ย่อมไม่เอ่ยวาจาเพราะเหตุนั้นเลยภิกษุมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า มีประเพณีอยู่ว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบ ๓ เดือน แล้วจึงเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวร หลีกไปทางกรุงสาวัตถี จาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงสาวัตถี ไปถึงพระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี โดยลำดับแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรพุทธประเพณี อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังสบายดีอยู่หรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบากหรือ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาล อันควรตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัสถามเรื่อง ที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เสียด้วยอริยมรรคแล้ว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงสอบถามภิกษุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๓๒}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]
๑๒๐. อผาสุวิหาร
ทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติ สิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ทำ อย่างไร พวกเธอจึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา เป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลว่า พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายบรรดา ที่นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นี้ เป็นภิกษุที่เคยเห็นเคยคบกันมาจำนวนหลายรูป ได้เข้าจำพรรษา อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ได้ปรึกษากันว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก แล้วปรึกษากันต่อไปว่า ถ้าพวกเราจะไม่ทักทายไม่ปราศรัยกัน และกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นพึงปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใด บิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูปก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการพึงฉัน ถ้าไม่ต้องการ พึงเททิ้งยังที่อันปราศจากของเขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นพึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่ อาหารที่เหลือ แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงตักใส่ถ้าไม่สามารถพึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก ไม่พึงเอ่ยวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยอุบายอย่างนี้แล พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อม เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระองค์ผู้เจริญ ต่อมา ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ไม่ทักทายไม่ปราศรัยกันและกัน รูปใด บิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นก็ปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใดบิณฑบาต กลับจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูปก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการก็ฉัน ถ้าไม่ ต้องการ ก็เททิ้งยังที่อันปราศจากของเขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นก็ เก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อชำระว่างเปล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๓๓}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]
๑๒๐. อผาสุวิหาร
รูปนั้นก็ตักใส่ ถ้าไม่สามารถก็กวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก ย่อมไม่เอ่ยวาจาเพราะ เหตุนั้นเลย ด้วยอุบายอย่างนี้แล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา เป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้าเรื่องเข้าจำพรรษาไม่ผาสุกดังปศุสัตว์อยู่ร่วมกัน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่ไม่ผาสุกเลย ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก ทราบว่า โมฆบุรุษ พวกนี้เป็นผู้อยู่ร่วมกันอย่างปศุสัตว์๑- ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก ทราบว่า โมฆบุรุษ พวกนี้เป็นผู้อยู่ร่วมกันอย่างแพะ ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก ทราบว่า โมฆบุรุษ พวกนี้เป็นผู้อยู่ร่วมกันอย่างศัตรู ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุกทรงห้ามมูควัตรตามแบบอย่างเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษพวกนี้จึงได้สมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์ถือ ปฏิบัติกัน การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรง ตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง สมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์ถือปฏิบัติกัน รูปใดสมาทานปฏิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏเรื่องทรงอนุญาตพิธีปวารณาเพื่อว่ากล่าวซึ่งกันและกัน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณาด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยนึกสงสัย การปวารณานั้น จักเป็นวิธีที่เหมาะสม เพื่อว่ากล่าวซึ่งกันและกัน เป็นวิธีออกจากอาบัติ เป็นวิธีเคารพพระวินัยของภิกษุ เหล่านั้น @เชิงอรรถ : @๑ อยู่ร่วมกันอย่างปศุสัตว์ หมายถึง อยู่ร่วมกันโดยไม่มีการถามสุขทุกข์ของกันและกัน เพราะปศุสัตว์ทั้งหลาย @ย่อมไม่บอกสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ตนให้ใครทราบ และไม่ทำปฏิสันถารต่อกัน (วิ.อ. ๓/๒๐๙/๑๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๓๔}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]
๑๒๐. อผาสุวิหาร
วิธีปวารณา ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่าสัพพสังคาหิกาญัตติ [๒๑๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าสงฆ์พร้อม กันแล้ว สงฆ์พึงปวารณา ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวกับ สงฆ์อย่างนี้ว่าเตวาจิกาปวารณา ท่านทั้งหลาย กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อ กระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวกับสงฆ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อ กระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๓๕}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]
๑๒๐. อผาสุวิหาร
ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย ได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย ได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไปเรื่องพระฉัพพัคคีย์นั่งราบบนอาสนะปวารณา ทรงอนุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา [๒๑๑] สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา พวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์อยู่บนอาสนะ บรรดาพวกภิกษุผู้มีความมักน้อย ฯลฯ พาตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนเมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา พวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์ จึงอยู่บนอาสนะเล่า แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า เมื่อภิกษุ ผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา ภิกษุฉัพพัคคีย์อยู่บนอาสนะ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ภิกษุทั้งหลาย ไฉนเมื่อภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา โมฆบุรุษพวกนั้นจึงอยู่บนอาสนะเล่า การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดง ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบรรดาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย นั่งกระโหย่งปวารณา ไม่พึงอยู่บนอาสนะ รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทุกรูปนั่งกระโหย่งปวารณา สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งชราทุพพลภาพ นั่งกระโหย่งรอจนกว่าภิกษุทุกรูป จะปวารณาเสร็จ ได้เป็นลมล้มลง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งกระโหย่งชั่วเวลา ปวารณา และอนุญาตให้ภิกษุปวารณาเสร็จแล้วนั่งบนอาสนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๓๖}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]
๑๒๑. ปวารณาเภท
๑๒๑. ปวารณาเภท ว่าด้วยประเภทแห่งวันปวารณา เรื่องวันปวารณามี ๒ วัน [๒๑๒] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า วันปวารณามีเท่าไร หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย วันปวารณานี้มี ๒ วัน คือ วัน ๑๔ ค่ำ และวัน ๑๕ ค่ำ ภิกษุทั้งหลาย วันปวารณามี ๒ วันเหล่านี้แลเรื่องอาการที่ทำปวารณามี ๔ อย่าง ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า การทำปวารณามีเท่าไร หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย การทำปวารณามี ๔ อย่างเหล่านี้๑- คือ ๑. การทำปวารณาแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ๒. การทำปวารณาพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบธรรม @เชิงอรรถ : @๑ การทำปวารณาแต่ละอย่างมีคำอธิบายเพิ่มเติมดังนี้ @๑. ถ้าในวัดหนึ่ง มีภิกษุอยู่ ๕ รูป ภิกษุ ๔ รูปนำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณญัตติแล้วปวารณา @หรือมีภิกษุอยู่ ๔ รูป ภิกษุ ๓ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา @หรือมีภิกษุ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมาตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา นี้ชื่อ @ว่าการทำปวารณาแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม @๒. ถ้าภิกษุทั้งหมด ๕ รูป ประชุมร่วมกัน ตั้งคณญัตติแล้วปวารณา ภิกษุ ๔ รูป ๓ รูป หรือ @๒ รูป อยู่ประชุมร่วมกันตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา นี้ชื่อว่าการทำปวารณาพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบธรรม @๓. ถ้ามีภิกษุ ๕ รูป ภิกษุ ๔ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมาตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา @หรือมีภิกษุอยู่ ๔ รูป ภิกษุ ๓ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณบัญญัติแล้วปวารณา @หรือมีภิกษุอยู่ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณบัญญัติแล้วปวารณา @นี้ชื่อว่าการทำปวารณาแบ่งพวกโดยชอบธรรม @๔. ถ้าภิกษุทั้งหมด ๕ รูป ประชุมร่วมกัน ตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา ภิกษุ ๔ รูป หรือ ๓ รูป @ประชุมร่วมกันตั้งคณญัตติแล้วปวารณา หรือภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน ภิกษุ ๑ รูป ทำอธิษฐาน @ปวารณา นี้ชื่อว่า การทำปวารณาพร้อมเพรียงโดยชอบธรรม (วิ.อ. ๓/๒๑๒/๑๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๓๗}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]
๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา
๓. การทำปวารณาแบ่งพวกโดยชอบธรรม ๔. การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ในการทำปวารณา ๔ อย่างนั้น การทำปวารณาใดแบ่งพวก โดย ไม่ชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น ไม่พึงทำ และเราไม่อนุญาตการทำ ปวารณาเช่นนั้น การทำปวารณาใดพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น ไม่พึงทำ และเราไม่อนุญาตการทำปวารณาเช่นนั้น การทำปวารณาใดแบ่งพวกโดยชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น ไม่พึงทำ และเราไม่อนุญาตการทำปวารณาเช่นนั้น การทำปวารณาใดพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น พึงทำ และเราอนุญาตการทำปวารณาเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงทำในใจว่า จักทำปวารณาชนิด ที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม ดังนี้ พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แลเนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓๓๑-๓๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=70 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=6282&Z=6432 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=224 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=224&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3442 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=224&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3442 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i224-e.php# https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/horner-brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]