ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๑. ปัจฏิมวิกัปปนุปคจีวราทิกถา

ทรงอนุญาตให้ให้ผ้าแก่โยมมารดาบิดาได้
เรื่องจีวรเกิดขึ้นมาก
[๓๖๑] สมัยนั้น จีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่งหลายผืน และภิกษุนั้นประสงค์ จะให้ผ้านั้นแก่มารดาบิดา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุให้ด้วยกล่าวว่า ‘เป็น มารดาบิดา’ เราจะว่าอะไร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ให้แก่มารดาบิดา แต่ภิกษุ ไม่พึงทำสัทธาไทย(ของที่ให้ด้วยศรัทธา)ให้ตกไป รูปใดทำให้ตกไป ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเก็บจีวรไว้ในวิหารอันธวัน
[๓๖๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเก็บจีวร(สังฆาฏิ)ไว้ในป่าอันธวัน ครองอุตตรา- สงค์กับอันตรวาสกเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน พวกโจรลักจีวร(สังฆาฏิ)นั้นไป ภิกษุ นั้นจึงใช้ผ้าเก่า ครองจีวรเศร้าหมอง พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ทำไมท่านจึงใช้ผ้าเก่าครองจีวรเศร้าหมองเล่า” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมเก็บจีวร(สังฆาฏิ)ไว้ในป่าอันธวันแห่งนี้ แล้วครองอุตตราสงค์กับอันตรวาสกเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน พวกโจรลักจีวร(สังฆาฏิ) นั้นไป เพราะเหตุนั้น ผมจึงใช้ผ้าเก่า ครองจีวรเศร้าหมอง” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีแต่อุตตราสงค์กับอันตรวาสก ไม่พึงเข้าหมู่บ้าน รูปใดเข้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องท่านพระอานนท์เผลอสติ
สมัยนั้น ท่านพระอานนท์เผลอสติ ครองอุตตราสงค์กับอันตรวาสกเข้าไป บิณฑบาตในหมู่บ้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๑. ปัจฏิมวิกัปปนุปคจีวราทิกถา

พวกภิกษุได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติห้ามไว้มิใช่หรือว่า ‘ภิกษุมีแต่อุตตราสงค์กับอันตรวาสกไม่พึงเข้าหมู่บ้าน’ ทำไมท่านจึงมีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกเข้าหมู่บ้านเล่า” ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ใช่ขอรับ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามไว้แล้ว ว่า ‘ภิกษุมีแต่อุตตราสงค์กับอันตรวาสกไม่พึงเข้าหมู่บ้าน’ แต่ผมเข้าหมู่บ้านเพราะ เผลอสติ” ภิกษุทั้งหลายจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เหตุจำเป็นเพื่อเก็บสังฆาฏิ มี ๕ อย่าง คือ ๑. เป็นไข้ ๒. เป็นฤดูที่หมายรู้ว่าฝนจะตก๑- ๓. ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๔. วิหารมีกุญแจคุมแน่นหนา ๕. ได้กรานกฐินแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เหตุจำเป็นเพื่อเก็บสังฆาฏิ มี ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เหตุจำเป็นเพื่อเก็บอุตตราสงค์ มี ๕ อย่าง คือ ๑. เป็นไข้ ๒. เป็นฤดูที่หมายรู้ว่าฝนจะตก ๓. ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๔. วิหารมีกุญแจคุมแน่นหนา ๕. ได้กรานกฐินแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เหตุจำเป็นเพื่อเก็บอุตตราสงค์ มี ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เหตุจำเป็นเพื่อเก็บอันตรวาสก มี ๕ อย่าง คือ ๑. เป็นไข้ ๒. สังเกตเห็นว่าฝนจะตก ๓. ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๔. วิหารมีกุญแจคุมแน่นหนา ๕. ได้กรานกฐินแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เหตุจำเป็นเพื่อเก็บอันตรวาสกไว้ มี ๕ อย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ หมายถึง อยู่ในช่วงฤดูฝน ๔ เดือน (วิ.อ. ๓/๓๖๒/๒๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๒๒. สังฆิกจีวรุปปาทกถา

ภิกษุทั้งหลาย เหตุจำเป็นเพื่อเก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ มี ๕ อย่าง คือ ๑. เป็นไข้ ๒. ไปนอกสีมา ๓. ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๔. วิหารมีกุญแจคุมแน่นหนา ๕. ผ้าอาบน้ำฝนยังไม่ได้ทำหรือทำค้างไว้ ภิกษุทั้งหลาย เหตุจำเป็นเพื่อเก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ มี ๕ อย่างนี้แล


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๓๒-๒๓๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=42              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=4238&Z=4273                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=162              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=162&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4930              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=162&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4930                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:22.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#Kd.8.22



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :