บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
อากังขมานฉักกะ ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงนิยสกรรม ๖ หมวด หมวดที่ ๑ [๑๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๓ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๒. นิยสกรรม
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๑)หมวดที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๒)หมวดที่ ๓ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม ๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๓)หมวดที่ ๔ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๒}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๒. นิยสกรรม
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๔)หมวดที่ ๕ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๕)หมวดที่ ๖ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๖)อากังขมานฉักกะ จบ อัฏฐารสวัตตะ ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในนิยสกรรม หมวดที่ ๑ [๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมพึงประพฤติชอบ การประพฤติ ชอบในเรื่องนั้น ดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๒. นิยสกรรม
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมอีก ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะอัฏฐารสวัตตะในนิยสกรรม จบ [๑๗] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงนิยสกรรมภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัย ใหม่ ภิกษุเสยยกะนั้นถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร ขอให้แนะนำ ซักถามอยู่ จึงเป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัด ระวัง ใฝ่การศึกษา กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ เข้าไปหาพวกภิกษุ แล้วกล่าวว่า กระผมถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงระงับนิยสกรรม แก่ภิกษุเสยยสกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๔}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๒. นิยสกรรม
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรม หมวดที่ ๑ [๑๘] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แลหมวดที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก อย่างหนึ่ง คือ ๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรม ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม ๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แลหมวดที่ ๓ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ อีก อย่างหนึ่ง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๒. นิยสกรรม
๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แลนัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับนิยสกรรม หมวดที่ ๑ [๑๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ไม่ให้อุปสมบท ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แลหมวดที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก อย่างหนึ่ง คือ ๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมอีก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม ๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แลหมวดที่ ๓ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แลปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ วิธีระงับนิยสกรรมและกรรมวาจา [๒๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุเสยยสกะพึง เข้าไปหา สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับนิยสกรรม พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยกะ นี่เป็นญัตติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๗}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๒. นิยสกรรม
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยส กรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ เสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอ ระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ การระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน รูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ เสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วย กับการระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง นิยสกรรม สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุเสยยสกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้นิยสกรรมที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๑-๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=4 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=663&Z=844 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=69 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=69&items=15 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=69&items=15 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:10.1.75.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.10.1
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]