บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๗. มุสาวาทวรรค หมวดว่าด้วยมุสาวาท [๔๔๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า มุสาวาทมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี มุสาวาทนี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติปาราชิกมีอยู่ ๒. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติสังฆาทิเสสมีอยู่ ๓. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติถุลลัจจัยมีอยู่ ๔. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติปาจิตตีย์มีอยู่ ๕. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติทุกกฏมีอยู่ อุบาลี มุสาวาทมี ๕ อย่าง นี้แลงดอุโบสถหรือปวารณา [๔๔๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า พอที ภิกษุ อย่า ทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน ดังนี้ แล้วจึงทำ อุโบสถหรือปวารณา พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ งดอุโบสถหรือ ปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๒๘}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๗. มุสาวาทวรรค
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา องค์ ๕ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา ๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อนจากศาสนา ๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง งดอุโบสถหรือปวารณาในท่าม กลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา องค์ ๕ คือ ๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ ๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ ๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ๔. เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด ๕. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณาองค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้คำซักถาม [๔๔๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ ไม่ควรให้คำซักถาม พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่ควรให้ คำซักถาม องค์ ๕ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๒๙}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๗. มุสาวาทวรรค
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรให้คำซักถามองค์ของภิกษุผู้ควรให้คำซักถาม อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ควรให้คำซักถาม องค์ ๕ คือ ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ควรให้คำซักถามภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อย่าง [๔๔๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. เพราะไม่ละอาย ๒. เพราะไม่รู้ ๓. เพราะสงสัยแล้วขืนทำ ๔. เพราะสำคัญในของที่ไม่ควรว่าควร ๕. เพราะสำคัญในของที่ควรว่าไม่ควร อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๓๐}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๗. มุสาวาทวรรค
อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ฟัง ๓. หลับ ๔. เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น ๕. ลืมสติ อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แลเวร ๕ ๑- [๔๔๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า เวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี เวรนี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าสัตว์มีชีวิต ๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดเท็จ ๕. ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท อุบาลี เวร ๕ นี้แลงดเว้นเวร ๕ ๒- ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า เจตนางดเว้นจากเวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี เจตนางดเว้นจากเวรนี้มี ๕ คือ ๑. เจตนางดเว้นจากฆ่าสัตว์มีชีวิต ๒. เจตนางดเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ๓. เจตนางดเว้นจากประพฤติผิดในกาม ๔. เจตนางดเว้นจากพูดเท็จ ๕. เจตนางดเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อุบาลี เจตนางดเว้นจากเวร ๕ นี้แล @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๗๔/๒๙๐ @๒ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๕/๓๐๒-๓๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๓๑}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
หัวข้อประจำวรรค
ความเสื่อม ๕ [๔๔๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ความเสื่อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ความเสื่อมนี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. ความเสื่อมญาติ ๒. ความเสื่อมโภคสมบัติ ๓. ความเสื่อมคือโรค ๔. ความเสื่อมศีล ๕. ความเสื่อมทิฏฐิ อุบาลี ความเสื่อมมี ๕ อย่างนี้แลสัมปทา ๕ ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ความถึงพร้อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ความถึงพร้อมนี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. ญาติสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งญาติ) ๒. โภคสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งโภคะ) ๓. อาโรคยสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค) ๔. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล) ๕. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งความเห็น) อุบาลี ความถึงพร้อมมี ๕ อย่างนี้แลมุสาวาทวรรคที่ ๗ จบ หัวข้อประจำวรรค การกล่าวมุสาวาท การกล่าวห้าม การกล่าวห้าม อีกนัยหนึ่ง คำซักถาม อาบัติ อาบัติอีกนัยหนึ่ง เวร เจตนางดเว้นจากเวร ความเสื่อม สัมปทา จัดเป็นวรรคที่ ๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๓๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๖๒๘-๖๓๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=112 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=11459&Z=11577 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1193 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1193&items=9 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1193&items=9 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:131.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#Prv.17.7
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]