บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน]
๑. ปาราชิก
อัตถาปัตติสมุฏฐาน ว่าด้วยสมุฏฐานอาบัติที่มีอยู่ ๑. ปาราชิก ว่าด้วยอาบัติปาราชิก [๔๗๐] อาบัติที่ภิกษุไม่จงใจต้อง แต่จงใจออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุจงใจต้อง แต่ไม่จงใจออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่จงใจต้อง ไม่จงใจออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุจงใจต้อง จงใจออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง แต่มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่สิกขาบทที่ ๑ ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิด ทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๗๐}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน]
๒. สังฆาทิเลส
สิกขาบทที่ ๒ ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิด ทางกายวาจากับจิตสิกขาบทที่ ๓ ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิตสิกขาบทที่ ๔ ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิตปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ ๒. สังฆาทิเสส ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑ [๔๗๑] ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้จงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เกิดด้วยสมุฏฐาน เท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๗๑}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน]
๒. สังฆาทิเลส
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้จงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจาสิกขาบทที่ ๒ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถูกต้องกายกับมาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถูกต้องกายกับมาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจาสิกขาบทที่ ๓ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ เกิดด้วย สมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ เกิดด้วย สมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต แต่มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิด ทางวาจากับจิต แต่มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิตสิกขาบทที่ ๔ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อ หน้ามาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อ หน้ามาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯสิกขาบทที่ ๕ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำหน้าที่ชักสื่อ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำหน้าที่ชักสื่อ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่ เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๗๒}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน]
๒. สังฆาทิเลส
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกายวาจากับจิตสิกขาบทที่ ๖ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เกิดด้วยสมุฏฐาน เท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯสิกขาบทที่ ๗ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯสิกขาบทที่ ๘ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล เกิด ด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล เกิด ด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯสิกขาบทที่ ๙ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้อ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้อ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศ แล้วใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯสิกขาบทที่ ๑๐ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม กระทั่งสงฆ์สวด สมนุภาสน์ ครบ ๓ ครั้งเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๗๓}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน]
๒. สังฆาทิเสส
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม กระทั่งสงฆ์สวด สมนุภาสน์ ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา กับจิตสิกขาบทที่ ๑๑ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิด ทางกายวาจากับจิตสิกขาบทที่ ๑๒ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ว่ายาก ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ว่ายาก ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิตสิกขาบทที่ ๑๓ ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกาย วาจากับจิตสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๗๔}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน]
๓. ปาราชิกาทิ
เสขิยวัตร ฯลฯ สิกขาบทที่ ๑๕ [๔๗๒] ถาม : ทุกกฏของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : ทุกกฏของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ บ้วนน้ำลายลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจาเสขิยวัตร จบ ๓. ปาราชิกาทิ ว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น ปาราชิก ๔ [๔๗๓] ถาม : ปาราชิก ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : ปาราชิก ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิตสังฆาทิเสส ๑๓ ถาม : สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกาย กับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกาย วาจากับจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๗๕}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน]
๓. ปาราชิกาทิ
อนิยต ๒ ถาม : อนิยต ๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : อนิยต ๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทาง กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิด ทางกายวาจากับจิตนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ถาม : นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทาง กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิด ทางกายวาจากับจิตปาจิตตีย์ ๙๒ ถาม : ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทาง กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิด ทางกายวาจากับจิตปาฏิเทสนียะ ๔ ถาม : ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่ เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๗๖}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน]
หัวข้อประจำเรื่อง
เสขิยะ ๗๕ ถาม : เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิตสมุฏฐาน จบ หัวข้อประจำเรื่อง ภิกษุไม่จงใจ มีจิตเป็นกุศล สมุฏฐานทุกสิกขาบท ขอท่านทั้งหลาย จงเข้าใจสมุฏฐานโดยรู้ตามธรรมเทอญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๗๗}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๖๗๐-๖๗๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=120 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=12467&Z=12606 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1230 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1230&items=12 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11838 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1230&items=12 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11838 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr18/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr18/en/horner-brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]