บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]
๕. นวสังคหวรรค
๕. นวสังคหวรรค หมวดว่าด้วยสังคหะ ๙ สังคหะ ๙ อย่าง [๕๐๑] สังคหะ มี ๙ อย่าง คือ ๑. วัตถุสังคหะ ๒. วิบัติสังคหะ ๓. อาบัติสังคหะ ๔. นิทานสังคหะ ๕. บุคคลสังคหะ ๖. ขันธสังคหะ ๗. สมุฏฐานสังคหะ ๘. อธิกรณสังคหะ ๙. สมถสังคหะให้บอกเรื่อง เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่ความทั้งสองมาถึง สงฆ์พึงให้ทั้งสองบอกเรื่อง ครั้นให้ทั้งสองบอกเรื่องแล้ว พึงฟังปฏิญญาของทั้งสอง ครั้นฟังปฏิญญาของทั้งสองแล้ว พึงพูดกับคู่ความทั้งสองว่า เมื่อพวกเราระงับอธิกรณ์นี้แล้ว ท่านทั้งสองจักยินดีหรือ ถ้าทั้งสองรับว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจักยินดี สงฆ์พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ ถ้าบริษัทมีอลัชชีมาก สงฆ์พึงระงับด้วยอุพพาหิกา ถ้าบริษัทมีคนเลวมาก สงฆ์พึงแสวงหาพระวินัยธร อธิกรณ์นั้นจะระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ใด สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นั้น โดยอย่างนั้นพึงรู้วัตถุ เป็นต้น พึงรู้วัตถุ พึงรู้โคตร พึงรู้ชื่อ พึงรู้อาบัติ คำว่า เมถุนธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า อทินนาทาน เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๑๗}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]
๕. นวสังคหวรรค
คำว่า มนุสสวิคคหะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า อุตตริมนุสสธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า สุกกวิสัฏฐิ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า กายสังสัคคะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า ทุฏฐุลลวาจา เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า อัตตกาม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า สัญจริตตะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า ให้สร้างวิหารใหญ่ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันไม่มีมูล เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า อ้างเลศบางอย่างแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นแล้ว ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมี โทษถึงปาราชิก เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๑๘}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]
หัวข้อประจำวรรค
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวด สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า ภิกษุผู้ว่ายากไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ คำว่า ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ ฯลฯ คำว่า อาศัยความไม่สนใจถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า ทุกกฏ เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัตินวสังคหวรรคที่ ๕ จบ หัวข้อประจำวรรค อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม วัตถุ ญัตติ อนุสาวนา สีมา บริษัท พร้อมเพรียง สอบถาม ปฏิญญา ควรสติวินัย วัตถุ สงฆ์ บุคคล ญัตติ ตั้งญัตติภายหลัง วัตถุ สงฆ์ บุคคล สวดประกาศ สวดในกาลไม่ควร สีมาเล็กเกิน สีมาใหญ่เกิน สีมามีนิมิตขาด สีมาใช้เงาเป็นนิมิต สีมาไม่มีนิมิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๑๙}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค]
หัวข้อประจำวรรค
อยู่นอกสีมาสมมติสีมา สมมติสีมาในแม่น้ำ ในทะเล ในสระเกิดเอง คาบเกี่ยวสีมา ทับสีมาด้วยสีมา กรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ กรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ กรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ไม่นำฉันทะมา นำฉันทะมา ผู้เข้ากรรม ผู้ควรฉันทะ ผู้ควรแก่กรรม อปโลกนกรรม ๕ ฐานะ ญัตติกรรม ๙ ฐานะ ญัตติทุติยกรรม ๗ ฐานะ ญัตติจตุตถกรรม ๗ ฐานะ ยอมรับว่าดี ความผาสุก บุคคลผู้หน้าด้าน ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก อาสวะ เวร โทษ ภัย อกุศลธรรม คฤหัสถ์ ผู้ปรารถนาเลวทราม ชุมชนผู้ยังไม่เลื่อมใส ชุมชนผู้เลื่อมใสแล้ว ความตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม เอื้อเฟื้อพระวินัย ปาติโมกขุทเทส งดปาติโมกข์ งดปวารณา ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรม ปริวาส อาบัติเดิม มานัต อัพภาน โอสารณา นิสสารณา อุปสมบท อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม ยังมิได้ทรงบัญญัติ ทรงบัญญัติซ้ำ สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน บุคคล ขันธ์ สมุฏฐาน อธิกรณ์ สมถะ สังคหะ ชื่อ อาบัติ ดังนี้แลคัมภีร์ปริวาร จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗๒๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๗๑๗-๗๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=127 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=13305&Z=13385 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1362 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1362&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=12845 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1362&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=12845 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr21/en/brahmali#pli-tv-pvr21:42.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr21/en/horner-brahmali#Prv.21.5.1
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]