ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

เรื่องโปฏฐปาทปริพาชก

๙. โปฏฐปาทสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อโปฏฐปาทะ
เรื่องโปฏฐปาทปริพาชก
[๔๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ในสมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชกพร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ ใหญ่ประมาณ ๓,๐๐๐ รูป พักอยู่ในพระราชอุทยานของพระนางมัลลิกา ชื่อเอกสาลกะ ที่จัดไว้เพื่อเป็นที่ประกาศลัทธิ รายล้อมด้วยต้นมะพลับ เช้าวันนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต [๔๐๗] พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า ‘ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตในกรุง สาวัตถี ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาโปฏฐปาทปริพาชกในพระราชอุทยานของพระ นางมัลลิกา ชื่อเอกสาลกะ ที่จัดไว้เพื่อเป็นที่ประกาศลัทธิ’ จึงเสด็จเข้าไปที่พระ ราชอุทยานของพระนางมัลลิกาชื่อเอกสาลกะ ที่จัดไว้เพื่อเป็นที่ประกาศลัทธิ๑- [๔๐๘] เวลานั้น โปฏฐปาทปริพาชกกำลังนั่งสนทนาด้วยเสียงดังอื้ออึงอยู่กับ ปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ถึงเดรัจฉานกถาต่างๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่อง มหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่อง ที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่อง ท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และความเสื่อม @เชิงอรรถ : @ เหตุการณ์ในพระสูตรนี้บอกให้ทราบถึงสภาพทางสังคมในสมัยพุทธกาลอย่างหนึ่ง คือ สมัยนั้นคนชอบ @แสวงหาความรู้ ใครต้องการแสดงทรรศนะของตนก็สามารถไปแสดงในศาลาถกแถลงที่จัดไว้ อีกทั้ง @ยืนยันว่า การประกาศธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า มิใช่ว่าพระองค์จะทรงวางท่าทีเป็นปรปักษ์กับนักบวช @ต่างลัทธิ (ที.สี.อ. ๔๐๖/๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

ว่าด้วยอภิญญานิโรธ

[๔๐๙] โปฏฐปาทปริพาชกเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกลจึงห้ามบริษัท ของตนว่า “ท่านทั้งหลายโปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง พระสมณโคดมกำลัง เสด็จมา พระองค์โปรดเสียงเบา ตรัสสรรเสริญเสียงเบา บางทีเมื่อพระองค์ทรง ทราบว่าบริษัทเสียงเบา อาจจะเสด็จเข้ามาก็ได้” เมื่อเขากล่าวอย่างนี้ ปริพาชก เหล่านั้นจึงได้เงียบ [๔๑๐] ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาโปฏฐปาทปริพาชก โปฏฐปาท- ปริพาชกจึงทูลเชิญว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้ามาเถิด ขอรับเสด็จพระผู้มีพระภาค นานๆ พระองค์จะมีเวลาเสด็จมาที่นี่ ขอพระผู้มี พระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้เถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ส่วนโปฏฐปาทปริพาชกก็เลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “โปฏฐปาทะ เวลา นี้พวกท่านนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร พูดเรื่องอะไรค้างไว้”
ว่าด้วยอภิสัญญานิโรธ๑-
[๔๑๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ โปฏฐปาทปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่พวกข้าพระองค์สนทนากันในวลานี้ของดไว้ก่อน เรื่อง นี้พระองค์จะทรงสดับเมื่อใดก็ได้ในภายหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนๆ พวก สมณพราหมณ์ผู้มีลัทธิต่างกันได้มาชุมนุมกันที่ศาลาถกแถลง๒- ตั้งประเด็นสนทนา กันเรื่องอภิสัญญานิโรธว่า ‘ท่านทั้งหลาย อภิสัญญานิโรธ คืออะไร’ ในบรรดา สมณพราหมณ์เหล่านั้น บางพวกเสนอว่า ‘สัญญาของคนไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เกิดดับ ไปเอง เวลาที่เกิดสัญญา คนก็มีความจำ เมื่อสัญญาดับ คนก็จำอะไรไม่ได้’ พวก หนึ่งเสนอประเด็นเรื่องอภิสัญญานิโรธไว้อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ หัวข้อสนทนาว่าด้วยการดับของสัญญา ซึ่งในอรรถกถาแก้เป็นจิตตนิโรธหรือความดับจิต อันเป็นการดับ @ชั่วคราว (ที.สี.อ. ๔๑๑/๓๐๔-๓๐๕) @ ศัพท์บาลีว่า โกตุหลศาลา อรรถกถาแก้ว่า ไม่มีศาลาที่มีชื่ออย่างนี้โดยเฉพาะ แต่เป็นสถานที่ @ที่สมณพราหมณ์ผู้เป็นเดียรถีย์ต่างพวกมาแสดงทรรศนะตามลัทธิของตน (ที.สี.อ. ๔๑๑/๓๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

ว่าด้วยสัญญามีเหตุมีปัจจัยเกิดดับ

สมณพราหมณ์อีกคนหนึ่งเสนอว่า ‘ท่านทั้งหลาย เรื่องนั้นไม่ถูก เพราะสัญญา เป็นอัตตา(ตัวตน)ของคนที่เวียนเข้าเวียนออก เวลาที่สัญญาเป็นอัตตาเวียนเข้า คนก็ มีความจำ เมื่อสัญญาเป็นอัตตาเวียนออก คนก็จำอะไรไม่ได้’ พวกหนึ่งเสนอ ประเด็นเรื่องอภิสัญญานิโรธไว้อย่างนี้ สมณพราหมณ์อีกคนหนึ่งเสนอว่า ‘ท่านทั้งหลาย เรื่องนั้นก็ไม่ถูก เพราะมี สมณพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก สามารถบันดาลสัญญาของคนให้เข้าไป หรือให้ออกไปก็ได้ เวลาที่บันดาลให้สัญญาเข้าไป คนก็มีความจำ เมื่อบันดาลให้สัญญา ออกไป คนก็จำอะไรไม่ได้’ พวกหนึ่งเสนอประเด็นเรื่องอภิสัญญานิโรธไว้อย่างนี้ สมณพราหมณ์อีกคนหนึ่งเสนอว่า ‘ท่านทั้งหลาย เรื่องนั้นก็ไม่ถูก เพราะมี เทวดาผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก สามารถบันดาลสัญญาของคนให้เข้าไปหรือให้ออก ไปก็ได้ เวลาที่บันดาลให้สัญญาเข้าไป คนก็มีความจำ เมื่อบันดาลให้สัญญาออกไป คนก็จำอะไรไม่ได้’ พวกหนึ่งเสนอประเด็นเรื่องอภิสัญญานิโรธไว้อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ฉลาดในธรรม เหล่านี้ ต้องเป็นพระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตเท่านั้น’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ ผู้มีพระภาคทรงฉลาดรอบรู้ในเรื่องอภิสัญญานิโรธนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อภิสัญญานิโรธเป็นอย่างไรหนอแล”
ว่าด้วยสัญญามีเหตุมีปัจจัยเกิดดับ
[๔๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โปฏฐปาทะ บรรดาสมณพราหมณ์ เหล่านั้น ความเห็นของพวกที่กล่าวว่า ‘สัญญาของคนไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเกิดดับ ไปเอง’ นั้นผิดตั้งแต่แรกทีเดียว เพราะเหตุไร เพราะสัญญาของคนมีเหตุมีปัจจัย เกิดก็มี ดับก็มี สัญญาอย่างหนึ่งเกิดเพราะการศึกษา๑- ก็มี สัญญาอีกอย่างหนึ่ง ดับเพราะการศึกษาก็มี @เชิงอรรถ : @ สิกขา การศึกษา การสำเหนียก หรือข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรม มี ๓ อย่างคือ อธิสีลสิกขา (การ @ศึกษาอบรมในเรื่องศีล) อธิจิตตสิกขา (การศึกษาอบรมในเรื่องจิต เรียกง่ายๆ ว่าสมาธิ) และอธิปัญญา- @สิกขา (การศึกษาอบรมในเรื่องปัญญา) เป็นเหตุใหัสัญญาดับและเกิดได้ เช่น พอจิตบรรลุปฐมฌาน @กามสัญญาก็ดับไป สัจสัญญาอันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกก็เกิดขึ้นมาแทน (ที.สี.อ. ๔๑๓/๓๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

ว่าด้วยสัญญามีเหตุมีปัจจัยเกิดดับ

[๔๑๓] การศึกษาเป็นอย่างไร โปฏฐปาทะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็น พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตร มาใส่ไว้ที่นี้) ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ เมื่อภิกษุนั้นพิจารณา เห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว ย่อมเกิดความเบิกบานใจ เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับความสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อม ตั้งมั่น ภิกษุนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ กามสัญญา (ความจำได้หมายรู้เรื่องกาม) ของ เธอ ที่มีอยู่ก่อนจะดับไป สัจสัญญา๑- อันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะเกิด ขึ้นแทน สัญญาอย่างหนึ่งเกิดเพราะการศึกษา สัญญาอีกอย่างหนึ่งดับเพราะการ ศึกษาอย่างนี้ นี้จัดเป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง ยังมีอีก โปฏฐปาทะ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ ผ่องใสในภายในมีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอัน เกิดจากสมาธิอยู่ สัจสัญญาอันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกที่มีอยู่ก่อนจะดับไป สัจสัญญาอันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะเกิดขึ้นแทน สัญญาอย่างหนึ่ง เกิดเพราะการศึกษา สัญญาอีกอย่างหนึ่งดับเพราะการศึกษาอย่างนี้ นี้จัดเป็นการ ศึกษาอย่างหนึ่ง ยังมีอีก โปฏฐปาทะ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขามี สติ อยู่เป็นสุข สัจสัญญาอันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิที่มีอยู่ก่อนจะดับไป สัจสัญญาอันละเอียดมีสุขอันเกิดจากอุเบกขาจะเกิดขึ้นแทน สัญญาอย่างหนึ่งเกิด เพราะการศึกษา สัญญาอีกอย่างหนึ่งดับเพราะการศึกษาอย่างนี้ นี้จัดเป็นการศึกษา อย่างหนึ่ง ยังมีอีก โปฏฐปาทะ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ @เชิงอรรถ : @ สัจสัญญา คือความสำคัญหรือความรู้สึกว่ามีปีติและสุขเป็นต้น ที่ชื่อว่าสัจสัญญา เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง @(ที.สี.อ. ๔๑๓/๓๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

ว่าด้วยสัญญามีเหตุมีปัจจัยเกิดดับ

สัจสัญญาอันละเอียดมีสุขอันเกิดจากอุเบกขาที่มีอยู่ก่อนจะดับไป สัจสัญญาอัน ละเอียดที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขจะเกิดขึ้นแทน สัญญาอย่างหนึ่งเกิดเพราะการศึกษา สัญญาอีกอย่างหนึ่งดับเพราะการศึกษาอย่างนี้ นี้จัดเป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง ยังมีอีก โปฏฐปาทะ ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๑- โดยกำหนดว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง รูปสัญญาที่มีอยู่ก่อนจะดับไป สัจสัญญาอันละเอียดประกอบ ด้วยอากาสานัญจายตนฌานจะเกิดขึ้นแทน ภิกษุนั้นมีสัจสัญญาอันละเอียดประกอบ ด้วยอากาสานัญจายตนฌานในตอนนั้น สัญญาอย่างหนึ่งเกิดเพราะการศึกษา สัญญาอีกอย่างหนึ่งดับเพราะการศึกษาอย่างนี้ นี้จัดเป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง ยังมีอีก โปฏฐปาทะ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน๒- โดยกำหนดว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ สัจสัญญาอัน ละเอียดประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานที่มีอยู่ก่อนจะดับไป สัจสัญญา อันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานจะเกิดขึ้นแทน ภิกษุนั้นมีสัจสัญญา อันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานในตอนนั้น สัญญาอย่างหนึ่งเกิด เพราะการศึกษา สัญญาอีกอย่างหนึ่งดับเพราะการศึกษาอย่างนี้ นี้จัดเป็นการศึกษา อย่างหนึ่ง ยังมีอีก โปฏฐปาทะ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน๓- โดยกำหนดว่า ไม่มีอะไร สัจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานที่มีอยู่ก่อนจะดับไป สัจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานจะเกิดขึ้นแทน ภิกษุนั้นมีสัจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานในตอนนั้น สัญญาอย่างหนึ่งเกิดเพราะการศึกษา สัญญาอีกอย่างหนึ่งดับเพราะการศึกษาอย่างนี้ นี้จัดเป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง @เชิงอรรถ : @ ฌานที่กำหนดอากาศคือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๑ ของอรูปฌาน ๔ @ ฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของอรูปฌาน ๔ @ ฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร (ความว่าง) เป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนฌาน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า @สัญญัคคะ (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญา กล่าวคือ ผู้บรรลุอากิญจัญ- @ญายตนฌานแล้ว ขั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญานิโรธบ้าง @(ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

ว่าด้วยสัญญามีเหตุมีปัจจัยเกิดดับ

[๔๑๔] โปฏฐปาทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ที่ยังมีสกสัญญา๑- เธอออกจาก ปฐมฌานเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานเข้าตติยฌาน จนถึงอากิญจัญญายตน- ฌานอันเป็นที่สุดแห่งสัญญาโดยลำดับ เมื่อเธออยู่ในอากิญจัญญายตนฌานอันเป็น ที่สุดแห่งสัญญา เกิดความคิดขึ้นมาอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรายังคิดอยู่ไม่ดีเลย ไม่คิดเสียจะ ดีกว่า ถ้าเรายังคิดยังคำนึง สัญญาเหล่านี้ (ที่เราได้มาแล้ว)จะพึงดับ สัญญาอื่นที่ หยาบจะเกิดขึ้นแทน ทางที่ดีเราไม่ควรคิดและไม่ควรคำนึง’ เธอจึงไม่คิดไม่คำนึง เมื่อเธอไม่คิดไม่คำนึง สัญญานั้นจึงดับไป สัญญาอื่นที่หยาบก็ไม่เกิดขึ้น เธอจึงบรรลุ นิโรธ โปฏฐปาทะ การเข้าถึงความดับสัญญาของภิกษุผู้มีความรู้ตัวโดยลำดับ ย่อมมี ได้ด้วยอาการอย่างนี้ โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร การเข้าถึงความดับสัญญาของภิกษุ ผู้มีความรู้สึกตัวโดยลำดับเช่นนี้ ท่านเคยได้ยินมาก่อนบ้างหรือไม่” เขากราบทูลว่า “ไม่เคยได้ยินเลย พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เพิ่งรู้ทั่วถึง ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเดี๋ยวนี้เองว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ที่ยังมี สกสัญญา เธอออกจากปฐมฌานเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานเข้าตติยฌาน จนถึงอากิญจัญญายตนฌานอันเป็นที่สุดแห่งสัญญาโดยลำดับ เมื่อเธออยู่ใน อากิญจัญญายตนฌานอันเป็นที่สุดแห่งสัญญา เกิดความคิดขึ้นมาอย่างนี้ว่า ‘เมื่อ เรายังคิดอยู่ไม่ดีเลย ไม่คิดเสียจะดีกว่า ถ้าเรายังคิดยังคำนึง สัญญาเหล่านี้ (ที่เรา ได้มาแล้ว)จะพึงดับ สัญญาอื่นที่หยาบจะเกิดขึ้นแทน ทางที่ดีเราไม่ควรคิดและไม่ ควรคำนึง’ เธอจึงไม่คิดไม่คำนึง เมื่อเธอไม่คิดไม่คำนึง สัญญานั้นจึงดับไป สัญญา อื่นที่หยาบก็ไม่เกิดขึ้น เธอจึงบรรลุนิโรธ การเข้าถึงความดับสัญญาของภิกษุผู้มี ความรู้สึกตัวโดยลำดับ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอย่างนั้น โปฏฐปาทะ” [๔๑๕] เขาทูลถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติอากิญจัญญายตนฌาน อันเป็นที่สุดแห่งสัญญาไว้อย่างเดียวหรือบัญญัติไว้หลายอย่าง พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ความสำคัญว่าเป็นของตน, นึกว่าเป็นของตนเอง (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

ว่าด้วยสัญญาและอัตตา

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โปฏฐปาทะ เราบัญญัติอากิญจัญญายตนฌาน อันเป็นที่สุดแห่งสัญญาไว้อย่างเดียวก็มี หลายอย่างก็มี” เขาทูลถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติอากิญจัญญายตนฌานอันเป็น ที่สุดแห่งสัญญาไว้อย่างเดียวก็มี หลายอย่างก็มี โดยวิธีใดบ้าง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โปฏฐปาทะ เราบัญญัติอากิญจัญญายตนฌาน อันเป็นที่สุดแห่งสัญญาไว้โดยวิธีที่พระโยคาวจรจะบรรลุนิโรธได้ ดังนั้นเราจึงบัญญัติ อากิญจัญญายตนฌานอันเป็นที่สุดแห่งสัญญาอย่างเดียวก็มี หลายอย่างก็มี” [๔๑๖] เขาทูลถามว่า “สัญญาเกิดขึ้นก่อนญาณ หรือว่าญาณเกิดขึ้นก่อน สัญญา๑- หรือว่าทั้งสัญญาและญาณเกิดขึ้นพร้อมกัน พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โปฏฐปาทะ สัญญาเกิดขึ้นก่อนญาณ เพราะมี สัญญาเกิดขึ้นจึงมีญาณเกิดขึ้น ภิกษุย่อมรู้อย่างนี้ว่า ‘เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ญาณ จึงเกิดขึ้นแก่เรา’ โปฏฐปาทะ ท่านพึงทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญาเกิดขึ้นก่อน ญาณ เพราะมีสัญญาเกิดขึ้นจึงมีญาณเกิดขึ้น”
ว่าด้วยสัญญากับอัตตา
[๔๑๗] โปฏฐปาทปริพาชกทูลถามว่า “สัญญาเป็นอัตตาของคนหรือว่า สัญญากับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โปฏฐปาทะ ท่านหมายถึงอัตตาเช่นไร” เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงอัตตาหยาบซึ่ง มีรูปที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ บริโภคอาหารเป็นคำๆ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โปฏฐปาทะ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นเป็นอัตตา หยาบซึ่งมีรูปที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ บริโภคอาหารเป็นคำๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ @เชิงอรรถ : @ เป็นคำถามในทำนองว่า ระหว่างสัญญากับญาณ ฝ่ายไหนเกิดก่อนกัน อนึ่ง คู่ของสัญญาและญาณมี @ฝ่ายละ ๓ คือ ญาณสัญญากับวิปัสสนาญาณ, วิปัสสนาสัญญากับมัคคญาณ และมัคคสัญญากับ @ผลญาณ (ที.สี.อ. ๔๑๖/๓๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

ว่าด้วยสัญญาและอัตตา

สัญญากับอัตตาก็เป็นคนละอย่างกัน ตามข้อนี้ท่านพึงทราบโดยปริยายว่า สัญญา กับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน อัตตาหยาบซึ่งมีรูปที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ บริโภคอาหารเป็นคำๆ นี้ จงยกไว้ก่อน ถ้าสัญญาของคนที่พูดถึงนี้อย่างหนึ่งเกิด และอีกอย่างหนึ่งดับ ท่านก็พึงทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญากับอัตตาเป็นคนละ อย่างกัน” [๔๑๘] เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงอัตตา ที่สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นเป็นอัตตาที่สำเร็จ ด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เมื่อเป็นเช่นนี้ สัญญากับอัตตา ก็เป็นคนละอย่างกัน ตามข้อนี้ ท่านก็พึงทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญากับอัตตาเป็น คนละอย่างกัน อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง จงยก ไว้ก่อน ถ้าสัญญาของคนที่พูดถึงนี้อย่างหนึ่งเกิดและอีกอย่างหนึ่งดับ ท่านก็พึง ทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญากับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน” [๔๑๙] เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงอัตตาที่ ไม่มีรูป สำเร็จด้วยสัญญา” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ อัตตาที่ท่านพูดถึงนั้นเป็นอัตตาที่ไม่มี รูป สำเร็จด้วยสัญญา เมื่อเป็นเช่นนี้ สัญญากับอัตตาก็เป็นคนละอย่างกัน ตามข้อ นี้ ท่านก็พึงทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญากับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน อัตตาที่ไม่มี รูปสำเร็จด้วยสัญญา จงยกไว้ก่อน ถ้าสัญญาของคนที่พูดถึงนี้อย่างหนึ่งเกิดและ อีกอย่างหนึ่งดับ ท่านก็พึงทราบโดยปริยายนี้ว่า สัญญากับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน” [๔๒๐] เขาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจรู้ได้ไหมว่า สัญญาเป็นอัตตาของคน หรือว่าสัญญากับอัตตาเป็นคนละอย่างกัน” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โปฏฐปาทะ ท่านมีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความถูก ใจแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความมุ่งหมายแตกต่างกัน มีอาจารย์ แตกต่างกัน จึงเข้าใจได้ยากว่า สัญญาเป็นอัตตาของคน หรือว่าสัญญากับอัตตา เป็นคนละอย่างกัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

ว่าด้วยสัญญาและอัตตา

เขาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์มีทิฏฐิแตกต่างกันมี ความถูกใจแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความมุ่งหมายแตกต่างกัน มีอาจารย์แตกต่างกันจึงเข้าใจได้ยากว่า สัญญาเป็นอัตตาของคน หรือว่าสัญญากับ อัตตาเป็นคนละอย่างกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น เป็นโมฆะกระนั้นหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เรื่องนี้เราไม่ตอบ” เขาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็น โมฆะกระนั้นหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เรื่องนี้เราไม่ตอบ” เขาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกมีที่สุด ฯลฯ โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับ สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคต๑- เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและ ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้ เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะกระนั้นหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เรื่องนี้เราไม่ตอบ” เขาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงตอบ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เพราะเรื่องนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระ ไม่ใช่จุด เริ่มต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัดยินดี ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่ เป็นไปเพื่อนิพพาน ฉะนั้นเราจึงไม่ตอบ” เขาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงตอบเรื่องอะไรเล่า” @เชิงอรรถ : @ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึง อัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระ @พุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึง สัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

ว่าด้วยสัญญาและอัตตา

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เราตอบเรื่องทุกข์ เรื่องทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) เรื่องทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) เรื่องทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเครื่อง ดำเนินไปสู่ความดับทุกข์)” เขาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไรพระองค์จึงทรงตอบเรื่อง นั้น” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เพราะเรื่องนั้นมีประโยชน์ มีสาระ เป็นจุดเริ่ม ต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัดยินดี เพื่อดับ เพื่อ สงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฉะนั้นเราจึงตอบ” เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า” ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จจากไปแล้ว [๔๒๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกปริพาชกได้ตัดพ้อ ต่อว่าโปฏฐปาทปริพาชกด้วยคำตัดพ้อ ต่อว่า ทิ่มแทงว่า “ท่านโปฏฐปาทะเป็นคน อย่างนี้นี่เอง ท่านโปฏฐปาทะพลอยชื่นชมคำพูดของพระสมณโคดมทุกคำว่า ‘ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น’ แต่พวกเรา กลับไม่เข้าใจความหมายที่พระสมณโคดมตรัสแม้แต่นิดเดียวว่า โลกเที่ยง หรือโลก ไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับ สรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตาย แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่” เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนี้ โปฏฐปาทปริพาชกได้บอกพวกเขาว่า “ท่าน ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเองก็ไม่เข้าใจความหมายที่พระสมณโคดมตรัสไว้แม้แต่นิดเดียวว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ แต่ว่า พระสมณโคดมทรงบัญญัติข้อปฏิบัติที่จริง แท้ แน่นอน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

เรื่องจิตตหัตถิ สารีบุตร และโปฏฐปาทปริพาชก

เป็นธรรมฐิติ๑- เป็นธรรมนิยาม๒- ไว้ ก็เมื่อทรงบัญญัติเช่นนี้ ไฉนวิญญูชนอย่าง ข้าพเจ้าจะไม่พลอยชื่นชมสุภาษิตของพระสมณโคดมโดยเป็นคำสุภาษิตเล่า”
เรื่องจิตตะ หัตถิสารีบุตร และโปฏฐปาทปริพาชก
[๔๒๒] ครั้นผ่านไป ๒-๓ วัน จิตตะ หัตถิสารีบุตร๓- กับโปฏฐปาทปริพาชกพา กันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จิตตะ หัตถิสารีบุตร กราบพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ฝ่ายโปฏฐปาทปริพาชกสนทนากับพระผู้มีพระภาคพอคุ้นเคยแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คราวเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไป ไม่นาน พวกปริพาชกได้ตัดพ้อต่อว่าข้าพระองค์ด้วยคำตัดพ้อ ต่อว่า ทิ่มแทงว่า ‘ท่านโปฏฐปาทะเป็นคนอย่างนี้นี่เอง ท่านโปฏฐปาทะพลอยชื่นชมคำพูดของ พระสมณโคดมทุกคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น แต่พวกเรากลับไม่เข้าใจความหมายที่พระสมณโคดมตรัสแม้ แต่นิดเดียวว่า โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่า เกิดอีกก็ไม่ใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่’ เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ ได้บอกพวกเขาว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าเองก็ไม่เข้าใจความหมายที่พระสมณโคดม ตรัสแม้แต่นิดเดียวว่า โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ แต่ว่าพระสมณโคดมทรงบัญญัติข้อ ปฏิบัติที่จริง แท้ แน่นอน เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามไว้ ก็เมื่อทรงบัญญัติเช่น นี้ ไฉนวิญญูชนอย่างข้าพเจ้าจะไม่พลอยชื่นชมสุภาษิตของพระสมณโคดมโดยเป็น คำสุภาษิตเล่า” [๔๒๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ ปริพาชกทั้งหมดเหล่านี้เป็น คนตาบอดไม่มีจักษุ ในชุมนุมชนนั้นมีแต่ท่านเท่านั้นที่มีจักษุ ธรรมที่เป็นเอกังสิก @เชิงอรรถ : @ สภาวะที่ดำรงอยู่เอง เป็นอยู่เองตามธรรมดา อรรถกถาหมายเอา สภาวะที่ดำรงอยู่ในโลกุตตรธรรม ๙ @(ที.สี.อ. ๔๒๑/๓๑๓) @ กฏที่แน่นอนแห่งสภาวะอันมีอยู่จริง แท้ และแน่นอนหลบเลี่ยงไม่ได้ ต้องเป็นไปตามที่มันเป็น หรืออาจเรียก @ว่า กฏธรรมชาติก็ได้ อรรถกถาหมายเอา กฏที่แน่นอนแห่งโลกุตตรธรรม (ที.สี.อ. ๔๒๑/๓๑๓) @ จิตตะ หัตถิสารีบุตร เป็นบุตรนายควาญช้างกรุงสาวัตถี บวชๆ สึกๆ จนครบ ๗ ครั้งในตอนเกิดพระสูตรนี้ @(ที.สี.อ. ๔๒๒/๓๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

เรื่องจิตตหัตถิ สารีบุตร และโปฏฐปาทปริพาชก

ธรรม๑- เราได้แสดงและบัญญัติไว้แล้ว ธรรมที่เป็นอเนกังสิกธรรม๒- เราก็ได้แสดงและ บัญญัติไว้แล้ว โปฏฐปาทะ เราแสดงและบัญญัติธรรมเหล่าไหนว่าเป็นอเนกังสิกธรรม คือ ธรรมที่ว่า โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็น อย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิด อีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่ เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เรา แสดงและบัญญัติธรรมเหล่านี้ว่าเป็นอเนกังสิกธรรม โปฏฐปาทะ เพราะเหตุไร เราจึงแสดงและบัญญัติธรรมเหล่านี้ว่าเป็นอเนกังสิก- ธรรมเล่า เพราะว่าธรรมเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่ง พรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัดยินดี ไม่เป็น ไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน ฉะนั้น เราจึงแสดงและบัญญัติธรรมเหล่านี้ว่าเป็นอเนกังสิกธรรม [๔๒๔] โปฏฐปาทะ เราแสดงและบัญญัติธรรมเหล่าไหนว่าเป็นเอกังสิกธรรม คือธรรมที่ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์) เราแสดงและ บัญญัติธรรมเหล่านี้ว่าเป็นเอกังสิกธรรม โปฏฐปาทะ เพราะเหตุไร เราจึงแสดงและบัญญัติธรรมเหล่านี้ว่าเป็นเอกังสิก- ธรรมเล่า เพราะว่าธรรมเหล่านี้มีประโยชน์ มีสาระ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัดยินดี เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อ รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฉะนั้น เราจึงแสดงและบัญญัติธรรมเหล่านี้ว่าเป็น เอกังสิกธรรม @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่เป็นได้อย่างเดียว ได้แก่ ธรรมที่มีความชัดเจน แน่นอน สามารถบอกได้ว่าเป็นอย่างนั้น ไม่เป็น @อย่างอื่น เช่นเหตุของทุกข์คือตัณหาเท่านั้น (ที.สี.อ. ๔๒๓/๓๑๔) @ ธรรมที่เป็นได้หลายอย่าง ได้แก่สิ่งที่ไม่อาจตอบได้ว่า ใช่หรือไม่ใช่ เพียงอย่างเดียว เช่น ไม่อาจตอบว่า @โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง (ที.สี.อ. ๔๒๓/๓๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

เปรียบด้วยชายหลงรักหญิงงามแห่งชนบท

[๔๒๕] โปฏฐปาทะ มีสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก ตายแล้ว อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ปลอดภัย’ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วถามว่า ‘ท่านมีวาทะมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ปลอดภัยจริงหรือ’ ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกถามอย่างนี้ยังยืนยันว่า ‘จริง’ เราจะถามว่า ‘ก็ ท่านรู้ท่านเห็นโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้ไม่เห็น’ เราจะถามว่า ‘ท่านรู้อัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียว ตลอด ๑ วัน ตลอด ๑ คืน หรือตลอดครึ่งวันตลอดครึ่งคืนหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้’ เราจะถามว่า ‘ก็ท่านรู้ว่า นี้เป็นทาง นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุโลกที่มีสุขโดย ส่วนเดียวหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้’ เราจะถามว่า ‘ก็ท่านได้ยินเสียงพวกเทวดาผู้บังเกิดในโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว ซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเพื่อบรรลุโลกที่มีสุขโดย ส่วนเดียว ถึงข้าพเจ้าก็ปฏิบัติอย่างนี้จึงบังเกิดในโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวหรือ’ เมื่อ ถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่ได้ยิน’ โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของสมณ- พราหมณ์เหล่านั้นถือว่าเลื่อนลอย๑- มิใช่หรือ” เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของสมณพราหมณ์ เหล่านั้นถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน”
เปรียบด้วยชายหลงรักหญิงงามแห่งชนบท๒-
[๔๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ เปรียบเหมือนชายคนหนึ่ง ปรารภถึงหญิงสาวอย่างนี้ว่า ‘เราปรารถนารักใคร่หญิงงามแห่งชนบทนี้’ คนจะถาม เขาว่า ‘พ่อคุณ เธอรู้จักหญิงคนนั้นหรือว่าเป็นนางกษัตริย์ นางพราหมณี นางแพศย์ @เชิงอรรถ : @ เลื่อนลอย (อปฺปาฏิหีรกตํ) หมายถึง เป็นคำที่ไม่มีปาฏิหาริย์ ขาดเหตุผลที่จะจูงใจฝ่ายตรงข้ามให้เชื่อถือ @หรือยินยอมได้ [ที.สี.ฎีกา(อภินว.) ๒/๔๒๕/๔๙๓] @ หญิงที่มีผิวพรรณ ทรวดทรง และกิริยามารยาทงดงามกว่าหญิงทั่วไปในชนบทนั้น (ที.สี.อ. ๔๒๖/๓๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

เปรียบด้วยชายหลงรักหญิงงามแห่งชนบท

หรือนางศูทร’ เมื่อถูกถามอย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอ รู้จักหญิงคนนั้นหรือว่ามีชื่อ ตระกูล สูง ต่ำ สันทัด ดำ คล้ำ หรือผิวเหลือง อยู่ใน หมู่บ้าน นิคม หรือเมืองโน้น’ เมื่อถูกถามอย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ยังไม่รู้จัก’ จะถูก ถามต่อไปว่า ‘เธอปรารถนารักใคร่หญิงที่ยังไม่เคยรู้จักทั้งไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’ โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้น ถือว่าเลื่อนลอย มิใช่หรือ” เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่า เลื่อนลอยแน่นอน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ แม้สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะมีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ปลอดภัย’ ก็เช่นกัน เราเข้าไปหา สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วถามว่า ‘ท่านมีวาทะมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ปลอดภัย จริงหรือ’ ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกถามอย่าง นี้ ยังยืนยันว่า ‘จริง’ เราจะถามว่า ‘ก็ท่านรู้ท่านเห็นโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้ไม่เห็น’ เราจะถามว่า ‘ท่านรู้อัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียวตลอด ๑ วัน ตลอด ๑ คืน หรือตลอดครึ่งวันตลอดครึ่งคืนหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้’ เราจะถามว่า ‘ก็ท่านรู้ว่า นี้เป็นทาง นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุโลกที่มีสุขโดยส่วน เดียวหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้’ เราจะถามว่า ‘ก็ท่านได้ยินเสียงพวกเทวดาผู้บังเกิดในโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว ซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อบรรลุโลกที่มีสุขโดย ส่วนเดียว ถึงข้าพเจ้าก็ปฏิบัติอย่างนี้จึงบังเกิดในโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว หรือ’ เมื่อ ถูกถามอยู่อย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่ได้ยิน’ โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของสมณ- พราหมณ์เหล่านั้นถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ” เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

เปรียบด้วยคนสร้างบันได

เปรียบด้วยคนสร้างบันได
[๔๒๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ เปรียบเหมือนบุรุษทำบันไดที่ หนทางใหญ่สี่แพร่งเพื่อขึ้นปราสาท คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอจะทำบันไดขึ้น ปราสาท เธอรู้จักปราสาทนั้นหรือว่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ มีขนาดสูง ต่ำ หรือปานกลาง’ เมื่อถูกถามอย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ยังไม่รู้’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอจะทำบันไดขึ้นปราสาทที่ยังไม่เคยรู้จักไม่เคยเห็น อย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’ โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของบุรุษนั้น ถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ” เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของบุรุษนั้นถือว่า เลื่อนลอยแน่นอน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ แม้สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะมีทิฏฐิอย่าง นี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วอัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ปลอดภัย’ ก็เช่นกัน เราเข้าไปหา สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วถามว่า ‘ท่านมีวาทะมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ปลอดภัย จริงหรือ’ ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกถามอย่าง นี้ ยังยืนยันว่า ‘จริง’ เราจะถามว่า ‘ก็ท่านรู้ ท่านเห็นโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้ไม่เห็น’ เราจะถามว่า ‘ท่านรู้อัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียวตลอด ๑ วัน ตลอด ๑ คืน หรือตลอดครึ่งวันตลอดครึ่งคืนหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้’ เราจะถามว่า ‘ก็ท่านรู้ว่า นี้เป็นทาง นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว หรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้’ เราจะถามว่า ‘ก็ท่านได้ยินเสียงพวกเทวดาผู้บังเกิดในโลกที่มีสุขโดยส่วน เดียว ซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อบรรลุโลกที่มีสุขโดย ส่วนเดียว ถึงข้าพเจ้าก็ปฏิบัติอย่างนี้จึงบังเกิดในโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวหรือ’ เมื่อ ถูกถามอย่างนี้ พวกเขาจะตอบว่า ‘ไม่ได้ยิน’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

การได้อัตตภาพ ๓ อย่าง

โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของสมณ- พราหมณ์เหล่านั้นถือว่าเลื่อนลอย มิใช่หรือ” เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของสมณพราหมณ์ เหล่านั้นถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน”
การได้อัตตภาพ๑- ๓ อย่าง
[๔๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ การได้อัตตภาพมี ๓ อย่าง คือ การได้อัตตภาพที่หยาบ การได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ และการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป โปฏฐปาทะ การได้อัตตภาพที่หยาบเป็นอย่างไร คืออัตตภาพที่มีรูปประกอบด้วย มหาภูตรูป ๔ บริโภคอาหารเป็นคำๆ นี้จัดเป็นการได้อัตตภาพที่หยาบ การได้ อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจเป็นอย่างไร คืออัตตภาพที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบ ถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้จัดเป็นการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ การได้อัตตภาพ ที่ไม่มีรูปเป็นอย่างไร คืออัตตภาพที่ไม่มีรูป สำเร็จด้วยสัญญา นี้จัดเป็นการได้ อัตตภาพที่ไม่มีรูป [๔๒๙] โปฏฐปาทะ เราแสดงธรรมเพื่อละการได้อัตตภาพที่หยาบว่า ‘พวก ท่านปฏิบัติตามนั้นแล้วก็จะละสังกิเลสิกธรรม๒- ได้ และโวทานิยธรรม๓- จะเพิ่มพูนยิ่ง ขึ้น จะทำให้แจ้งความบริบูรณ์ความไพบูลย์แห่งปัญญาด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง อยู่ในปัจจุบัน’ บางคราวท่านมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘เราพอจะละสังกิเลสิกธรรมได้ และโวทานิยธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น บุคคลจะทำให้แจ้งความบริบูรณ์ความไพบูลย์ แห่งปัญญาด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แต่ว่าจะมีความเป็นอยู่ลำบาก’ ก็เรื่องนี้ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น แท้จริง ท่านจะละสังกิเลสิกธรรมได้ และโวทานิย @เชิงอรรถ : @ อตฺตปฏิลาภ อรรถกถาหมายถึงการได้อัตตภาพ ในที่นี้พระพุทธองค์ตรัสถึงการได้อัตตภาพ ๓ อย่าง คือ @การได้อัตตภาพที่หยาบ ได้แก่ กามภพ, การได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ ได้แก่ รูปภพ, การได้อัตตภาพที่ @ไม่มีรูป ได้แก่ อรูปภพ (ที.สี.อ. ๔๒๘/๓๑๕) @ ธรรมที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ (โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ และโมหมูลจิต ๒) @[ที.สี.อ. ๔๒๙/๓๑๕] @ ธรรมที่ทำให้จิตผ่องแผ้ว ได้แก่ สมถวิปัสสนา (ที.สี.อ. ๔๒๙/๓๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

การได้อัตตภาพ ๓ อย่าง

ธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น บุคคลจะทำให้แจ้งความบริบูรณ์ความไพบูลย์แห่งปัญญาด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ทั้งจะมีความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติ สัมปชัญญะ และอยู่เป็นสุข [๔๓๐] โปฏฐปาทะ เราแสดงธรรมเพื่อละการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจว่า ‘พวกท่านปฏิบัติตามนั้นแล้วก็จะละสังกิเลสิกธรรมได้และโวทานิยธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น จะทำให้แจ้งความบริบูรณ์ความไพบูลย์แห่งปัญญาด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ในปัจจุบัน’ บางคราวท่านมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘เราพอจะละสังกิเลสิกธรรมได้ และ โวทานิยธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น บุคคลจะทำให้แจ้งความบริบูรณ์ความไพบูลย์แห่ง ปัญญาด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แต่ว่าจะมีความเป็นอยู่ลำบาก’ ก็ เรื่องนี้ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น แท้จริง ท่านจะละสังกิเลสิกธรรมได้และโวทานิยธรรม จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น บุคคลจะทำให้แจ้งความบริบูรณ์ความไพบูลย์แห่งปัญญาด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ทั้งจะมีความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติ สัมปชัญญะ และอยู่เป็นสุข [๔๓๑] โปฏฐปาทะ เราแสดงธรรมเพื่อละการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูปว่า ‘พวก ท่านปฏิบัติตามนั้นแล้วก็จะละสังกิเลสิกธรรมได้และโวทานิยธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น จะทำให้แจ้งความบริบูรณ์ความไพบูลย์แห่งปัญญาด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน’ ฯลฯ ทั้งจะมีความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติ สัมปชัญญะ และอยู่เป็นสุข [๔๓๒] โปฏฐปาทะ หากคนเหล่าอื่นจะถามเราอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ อะไรคือ การได้อัตตภาพที่หยาบซึ่งท่านแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียว่า พวกท่านปฏิบัติตามนั้น แล้วก็จะละสังกิเลสิกธรรมได้และโวทานิยธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น จะทำให้แจ้งความ บริบูรณ์ความไพบูลย์แห่งปัญญาด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อถูก ถามอย่างนี้ เราจะตอบว่า ‘ผู้มีอายุ นี้แลจัดเป็นการได้อัตตภาพที่หยาบซึ่งเราแสดง ธรรมเพื่อให้ละเสียว่า พวกท่านปฏิบัติตามนั้นแล้วก็จะละสังกิเลสิกธรรมได้และ โวทานิยธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น จะทำให้แจ้งความบริบูรณ์ความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

การได้อัตตภาพ ๓ อย่าง

[๔๓๓] โปฏฐปาทะ หากคนเหล่าอื่นจะถามเราอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ อะไรคือ การได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจซึ่งท่านแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียว่า พวกท่านปฏิบัติ ตามนั้นแล้วก็จะละสังกิเลสิกธรรมได้และโวทานิยธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น จะทำให้แจ้ง ความบริบูรณ์ความไพบูลย์แห่งปัญญาด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เราจะตอบว่า ‘ผู้มีอายุ นี้แลจัดเป็นการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ ซึ่งเราแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียว่า ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ [๔๓๔] โปฏฐปาทะ หากคนเหล่าอื่นจะถามเราอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ อะไรคือ การได้อัตตภาพที่ไม่มีรูปซึ่งท่านแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียว่า พวกท่านปฏิบัติตามนั้น แล้วก็จะละสังกิเลสิกธรรมได้และโวทานิยธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น จะทำให้แจ้งความ บริบูรณ์ความไพบูลย์แห่งปัญญาด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อถูก ถามอย่างนี้ เราจะตอบว่า ‘ผู้มีอายุ นี้แลจัดเป็นการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป ซึ่งเรา แสดงธรรมเพื่อให้ละเสียว่า ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดนั้นถือว่าไม่ เลื่อนลอยมิใช่หรือ” เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดนั้นถือว่าไม่เลื่อน ลอยแน่นอน”
เปรียบด้วยคนสร้างบันได
[๔๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปฏฐปาทะ เปรียบเหมือนบุรุษทำบันได เพื่อขึ้นปราสาท ที่ใต้ปราสาทนั้นเอง คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอจะทำบันไดขึ้น ปราสาท เธอรู้จักปราสาทนั้นหรือว่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ มีขนาดสูง ต่ำ หรือปานกลาง’ ถ้าเขาตอบว่า ‘นี้แลคือปราสาทที่เรา กำลังทำบันไดเพื่อจะขึ้นไปที่ใต้ปราสาทนั้นเอง’ โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของบุรุษนั้น ถือว่าไม่เลื่อนลอยมิใช่หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

การได้อัตตภาพ ๓ อย่าง

เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของบุรุษนั้นถือว่าไม่ เลื่อนลอยแน่นอน” [๔๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เช่นเดียวกัน โปฏฐปาทะ หากคนเหล่าอื่น จะถามเราอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ อะไรคือการได้อัตตภาพที่หยาบ ฯลฯ อะไรคือการได้ อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ ฯลฯ อะไรคือการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูปซึ่งท่านแสดงธรรม เพื่อให้ละเสียว่า พวกท่านปฏิบัติตามนั้นแล้วก็จะละสังกิเลสิกธรรมได้และโวทานิย ธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น จะทำให้แจ้งความบริบูรณ์ ความไพบูลย์แห่งปัญญาด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เราจะตอบว่า ‘ฯลฯ ผู้มีอายุ นี้แลจัดเป็นการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูปซึ่งเราแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียว่า พวกท่าน ปฏิบัติตามนั้นแล้วก็จะละสังกิเลสิกธรรมได้และโวทานิยธรรมจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น จะ ทำให้แจ้งความบริบูรณ์ ความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน’ โปฏฐปาทะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดนั้นถือว่าไม่ เลื่อนลอยมิใช่หรือ” เขากราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดนั้นถือว่าไม่เลื่อนลอย แน่นอน” [๔๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ จิตตะ หัตถิสารีบุตร ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่หยาบ การได้อัตตภาพที่สำเร็จ ด้วยใจและการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูปก็เปล่าไป(เป็นโมฆะ) มีแต่การได้อัตตภาพที่ หยาบเป็นเรื่องจริงกระนั้นหรือ ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ การได้ อัตตภาพที่หยาบและการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูปก็เปล่าไป มีแต่การได้อัตตภาพที่ สำเร็จด้วยใจเป็นเรื่องจริงกระนั้นหรือ ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป การได้ อัตตภาพที่หยาบและการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจก็เปล่าไป มีแต่การได้อัตตภาพ ที่ไม่มีรูปเป็นเรื่องจริงกระนั้นหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จิตตะ ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่หยาบ ก็ไม่นับว่า มีการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจและการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป มีเพียงการได้อัตตภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

การได้อัตตภาพ ๓ อย่าง

ที่หยาบเท่านั้น ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ ก็ไม่นับว่ามีการได้ อัตตภาพที่หยาบและการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป มีเพียงการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วย ใจเท่านั้น ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป ก็ไม่นับว่ามีการได้อัตตภาพที่หยาบ และการอัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ มีเพียงการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูปเท่านั้น [๔๓๘] จิตตะ ถ้าคนจะถามท่านว่า ‘ในอดีตกาล ท่านได้มีแล้ว ไม่ใช่ว่า ไม่มี ในอนาคตกาลท่านจักมี ไม่ใช่ว่าจักไม่มี เวลานี้ท่านมีอยู่ ไม่ใช่ว่าไม่มีอยู่ กระนั้นหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะตอบว่าอย่างไร” จิตตะ หัตถิสารีบุตร กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนจะถามข้าพระ องค์ว่า ‘ในอดีตกาล ... กระนั้นหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์ก็จะตอบว่า ‘ใน อดีตกาล เราได้มีแล้ว ไม่ใช่ว่าไม่มี ในอนาคตกาลเราจักมี ไม่ใช่ว่าจักไม่มี เวลานี้ เรามีอยู่ ไม่ใช่ว่าไม่มีอยู่’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์ก็จะตอบอย่างนี้ พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “จิตตะ ถ้าคนจะถามท่านว่า ‘ท่านมีการได้อัตต- ภาพที่เป็นอดีต การได้อัตตภาพเช่นนั้นเป็นเรื่องจริง การได้อัตตภาพที่เป็นอนาคต และการได้อัตตภาพที่เป็นปัจจุบันก็เปล่าไป ท่านจักมีการได้อัตตภาพที่เป็นอนาคต การได้อัตตภาพเช่นนั้นเป็นเรื่องจริง การได้อัตตภาพที่เป็นอดีตและการได้อัตตภาพ ที่เป็นปัจจุบันก็เปล่าไป ท่านกำลังได้อัตตภาพที่เป็นปัจจุบัน การได้อัตตภาพเช่นนั้น เป็นเรื่องจริง การได้อัตตภาพที่เป็นอดีตและการได้อัตตภาพที่เป็นอนาคตก็เปล่า ไปกระนั้นหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะตอบว่าอย่างไร” จิตตะ หัตถิสารีบุตร กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนจะถามข้าพระ องค์ว่า ‘ท่านมีการได้อัตตภาพที่เป็นอดีต ... กระนั้นหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้า พระองค์ก็จะตอบว่า ‘เรามีการได้อัตตภาพที่เป็นอดีต การได้อัตตภาพเช่นนั้นเป็น เรื่องจริงในสมัยนั้น การได้อัตตภาพที่เป็นอนาคตและการได้อัตตภาพที่เป็นปัจจุบัน ก็เปล่าไป เราจักมีการได้อัตตภาพที่เป็นอนาคต การได้อัตตภาพเช่นนั้นเป็นเรื่องจริง ในสมัยนั้น การได้อัตภาพที่เป็นอดีตและการได้อัตภาพที่เป็นปัจจุบันก็เปล่าไป เรากำลังได้อัตภาพที่เป็นปัจจุบันในเวลานี้ และการได้อัตภาพเช่นนี้พึ่งเป็นเรื่องจริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

การได้อัตตภาพ ๓ อย่าง

การได้อัตตภาพที่เป็นอดีตและการได้อัตตภาพที่เป็นอนาคตก็เปล่าไป’ เมื่อถูกถาม อย่างนี้ ข้าพระองค์ก็จะตอบอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” [๔๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอย่างนั้นแล จิตตะ ในเวลาที่มีการได้ อัตตภาพที่หยาบ ก็ไม่นับว่ามีการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจและการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป มีเพียงการได้อัตตภาพที่หยาบเท่านั้น ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ ฯลฯ ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป ก็ไม่นับว่ามีการได้อัตตภาพที่หยาบและการได้ อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ มีเพียงการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูปเท่านั้น [๔๔๐] จิตตะ เปรียบเหมือนนมสดมาจากแม่โค นมส้มมาจากนมสด เนยข้น มาจากนมส้ม เนยใสมาจากเนยข้น หัวเนยใสมาจากเนยใส ในเวลาที่ยังเป็นนมสด ก็ไม่นับว่าเป็นนมส้ม ไม่นับว่าเป็นเนยข้น ไม่นับว่าเป็นเนยใส ไม่นับว่าเป็นหัวเนยใส ยังเป็นนมสดเท่านั้น ในเวลาที่เป็นนมส้ม ฯลฯ ในเวลาที่เป็นเนยข้น ฯลฯ ในเวลาที่เป็น เนยใส ฯลฯ ในเวลาที่เป็นหัวเนยใส ไม่นับว่าเป็นนมสด ไม่นับว่าเป็นนมส้ม ไม่นับ ว่าเป็นเนยข้น ไม่นับว่าเป็นเนยใส ยังเป็นหัวเนยใสเท่านั้น ฉันใด จิตตะ เรื่องนี้ก็เช่น กัน ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่หยาบ ก็ไม่นับว่ามีการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ และการได้อัตตภาพที่มีรูป มีเพียงการได้อัตตภาพหยาบเท่านั้น ในเวลาที่มีการได้ อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ ฯลฯ ในเวลาที่มีการได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป ก็ไม่นับว่ามีการ ได้อัตตภาพหยาบและการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ มีเพียงการได้อัตตภาพที่ไม่มี รูปเท่านั้น จิตตะ เหล่านี้แลเป็นโลกสมัญญา (ชื่อที่ชาวโลกใช้เรียก) เป็นโลกนิรุตติ (ภาษาของชาวโลก) เป็นโลกโวหาร (โวหารของชาวโลก) เป็นโลกบัญญัติ (บัญญัติ ของชาวโลก) ซึ่งตถาคตก็ใช้อยู่แต่ไม่ยึดถือ” [๔๔๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ โปฏฐปาทปริพาชกได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง ประกาศธรรม แจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทางหรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๙. โปฏฐปาทสูตร]

จิตตะ หัตถิสารีบุตร ทูลขออุปสมบท

จักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
จิตตะ หัตถิสารีบุตร ทูลขออุปสมบท
[๔๔๒] ฝ่ายจิตตะ หัตถิสารีบุตร กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิต ของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มี พระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ ต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึง พระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด” [๔๔๓] จิตตะ หัตถิสารีบุตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระ ภาคแล้วแล เมื่อท่านหัตถิสารีบุตรได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน จากไปอยู่ผู้ เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มุ่งมั่นพระนิพพานอยู่ ไม่นานนักทำให้แจ้งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ จึงเป็นอันว่าท่านพระหัตถิสารีบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระ อรหันต์ทั้งหลาย
โปฏฐปาทสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๙๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๗๕-๑๙๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=6029&Z=6776                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=275              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=9&item=275&items=39              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=4&A=7890              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=9&item=275&items=39              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=4&A=7890                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i275-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/dn/dn.09.0.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/digha/dn09.html https://suttacentral.net/dn9/en/sujato https://suttacentral.net/dn9/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :