ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

๕. สัญจริตตสิกขาบท
ว่าด้วยการชักสื่อ
เรื่องพระอุทายี
[๒๙๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระที่ใกล้ชิด ตระกูลในกรุงสาวัตถี ไปมาหาสู่ตระกูลเป็นอันมากที่ตนเห็นว่ามีเด็กหนุ่มที่ยังไม่มี ภรรยาหรือเด็กสาวที่ยังไม่มีสามี กล่าวยกย่องคุณสมบัติของเด็กสาวให้มารดาบิดา ของเด็กหนุ่มฟังว่า “สาวน้อยของตระกูลโน้น รูปงาม น่าดู น่าชม ฉลาดหลักแหลม ไหวพริบดี ขยันไม่เกียจคร้าน สาวน้อยคนนั้นเหมาะสมกับชายหนุ่มคนนี้” มารดาบิดาของเด็กหนุ่มก็กล่าวว่า “พระคุณเจ้า คนเหล่านั้นไม่รู้จักพวกเราว่า ‘เป็นใครหรือพวกพ้องของใคร’ ถ้าพระคุณเจ้าจะพูดทาบทามให้ พวกเราก็จะสู่ขอ เด็กสาวนั้นมาให้เด็กหนุ่มคนนี้” พระอุทายีนั้นไปกล่าวยกย่องคุณสมบัติของเด็ก หนุ่มให้มารดาบิดาของเด็กสาวฟังว่า “ชายหนุ่มของตระกูลโน้น รูปงาม น่าดู น่าชม ฉลาดหลักแหลมไหวพริบดี ขยันไม่เกียจคร้าน ชายหนุ่มคนนั้นเหมาะสมกับสาว น้อยคนนี้” ข้างมารดาบิดาของเด็กสาวก็กล่าวว่า “พระคุณเจ้า คนเหล่านั้นไม่รู้จัก พวกเราว่า ‘เป็นใครหรือพวกพ้องของใคร’ การที่จะพูดยกสาวน้อยให้เขาก็ดูกระไรอยู่ ถ้าพระคุณเจ้าช่วยไปพูดให้เขามาสู่ขอ พวกข้าพเจ้าก็จะยกสาวน้อยคนนี้ให้ชายหนุ่ม คนนั้น” ด้วยวิธีอย่างนี้ พระอุทายีจึงให้มารดาบิดาของหนุ่มสาวทำอาวาหมงคลบ้าง วิวาหมงคลบ้าง หรือชักนำให้สู่ขอหมั้นหมายกันบ้าง [๒๙๗] สมัยนั้น บุตรสาวของหญิงม่ายผู้เคยเป็นภรรยาโหร๑- คนหนึ่ง มีรูปงาม น่าดู น่าชม พวกสาวกอาชีวกจากหมู่บ้านอื่นมาบอกภรรยาโหรนั้นว่า “แม่คุณ ท่านจงยกเด็กสาวคนนี้ ให้ชายหนุ่มของพวกเราเถิด” @เชิงอรรถ : @ คณยตีติ คณโก ผู้คำณวน, โหร, หมอดู (อภิธา.ฏี. คาถา ๓๔๗), ปุราณคณกิยาติ เอกสฺส คณกสฺส @ภริยา, สา ตสฺมึ ชีวมาเน คณกีติ ปญฺญายิตฺถ, มเต ปน ปุราณคณกีติ สงฺขํ คตา ภรรยาของโหรคนหนึ่ง @เมื่อสามียังมีชีวิตเรียกขานกันว่า “คณกี” พอสามีตายถูกเรียกว่า “ปุราณคณกี” (หญิงม่ายผู้เคยเป็นภรรยา @โหร) (วิ.อ. ๒/๒๙๗/๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ภรรยาโหรตอบว่า “ดิฉันไม่ทราบว่าพวกท่านเป็นใครหรือเป็นพวกพ้องของ ใคร อีกประการหนึ่ง เด็กสาวคนนี้เป็นบุตรสาวคนเดียวของดิฉัน นางต้องไปอยู่บ้าน อื่น ดิฉันยกให้ไม่ได้” ชาวบ้านกล่าวกับพวกสาวกอาชีวกว่า “พระคุณเจ้า พวกท่านมาธุระอะไรกัน” พวกสาวกอาชีวกตอบว่า “พวกเรามาขอบุตรสาวกะภรรยาโหรชื่อโน้นในที่นี้ ให้แก่เด็กหนุ่มของพวกเรา แต่นางปฏิเสธว่า ‘ดิฉันไม่ทราบว่าพวกท่านเป็นใคร ฯลฯ ดิฉันยกให้ไม่ได้” ชาวบ้านแนะนำว่า “พระคุณเจ้าไปขอหญิงสาวกะภรรยาโหรทำไมกัน ไปพูด กับพระอุทายีไม่ดีกว่าหรือ พระอุทายีช่วยให้เขายินยอมยกให้ได้” พวกสาวกอาชีวกไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวว่า “พระ คุณท่าน พวกกระผมมาขอบุตรสาวกะภรรยาโหรชื่อโน้นในที่นี้ให้แก่เด็กหนุ่มของ พวกกระผม แต่ถูกนางปฏิเสธว่า ‘ดิฉันไม่ทราบว่าพวกท่านเป็นใคร ฯลฯ ดิฉันยก ให้ไม่ได้’ พระคุณท่านช่วยด้วยเถิดขอรับ ช่วยพูดให้ภรรยาโหรยอมยกบุตรสาวให้ แก่เด็กหนุ่มของพวกกระผมด้วย” ลำดับนั้น ท่านพระอุทายีจึงเข้าไปหาภรรยาโหรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้ถามว่า “ทำไม เธอไม่ยกบุตรสาวให้คนเหล่านี้เล่า” ภรรยาโหรตอบว่า “ดิฉันไม่ทราบว่าคนเหล่านี้เป็นใครหรือเป็นพวกพ้องของใคร อีกประการหนึ่ง เด็กสาวนี้เป็นบุตรสาวคนเดียวของดิฉัน นางต้องไปอยู่บ้านอื่น ดิฉันจึงไม่ยกให้เจ้าค่ะ” “ท่านจงยกให้ไปเถอะ อาตมารู้จักคนพวกนี้ดี” “ถ้าพระคุณเจ้ารู้จัก ดิฉันก็จะยกให้” ต่อมา ภรรยาโหรจึงยกบุตรสาวให้สาวกอาชีวก ครั้นพวกเขาพาเด็กสาวไป ได้เลี้ยงดูอย่างสะใภ้ เดือนเดียวเท่านั้น ต่อจากนั้นเลี้ยงดูอย่างทาสหญิง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๓๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ต่อมา สาวน้อยส่งข่าวไปถึงมารดาว่า “ลูกตกระกำลำบาก หาความสุขไม่ ได้เลย พวกเขาเลี้ยงดูลูกในฐานะหญิงสะใภ้เดือนเดียวเท่านั้น ต่อจากนั้นเลี้ยงดู อย่างทาสหญิง คุณแม่โปรดมารับลูกกลับไปเถิด” ครั้นทราบข่าว ภรรยาโหรจึงไปหาพวกสาวกอาชีวกถึงที่อยู่ กล่าวว่า “พวก ท่านอย่าเลี้ยงดูสาวน้อยอย่างทาสหญิง โปรดเลี้ยงดูอย่างสะใภ้เถิด” พวกสาวกอาชีวกตอบว่า “พวกเราไม่ได้รับรองและตกลงไว้กับท่าน แต่รับ รองและตกลงไว้กับพระต่างหาก หลีกไป พวกเราไม่รู้จักท่าน” ครั้นภรรยาโหรถูกพวกสาวกอาชีวกพูดรุกรานจึงเดินทางกลับกรุงสาวัตถี ฝ่ายสาวน้อยก็ยังส่งข่าวไปถึงมารดาอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ลูกตกระกำลำบาก หา ความสุขไม่ได้เลย ฯลฯ คุณแม่โปรดมารับลูกกลับไปเถิด” ภรรยาโหรจึงไปหาพระอุทายีถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ทราบมาว่า บุตรสาวของดิฉันตกระกำลำบาก ไม่ได้ความสุข ได้รับการเลี้ยงดูอย่างสะใภ้ เดือน เดียวเท่านั้น จากนั้นถูกเลี้ยงดูอย่างทาสหญิง พระคุณเจ้าควรขอร้องว่า อย่าเลี้ยงดู สาวน้อยอย่างทาสหญิง โปรดเลี้ยงดูอย่างสะใภ้” ต่อมา พระอุทายีได้ไปหาพวกสาวกอาชีวกถึงที่อยู่ขอร้องว่า “พวกท่านอย่า เลี้ยงดูสาวน้อยอย่างทาสหญิง โปรดเลี้ยงดูอย่างสะใภ้เถิด” พวกสาวกอาชีวกตอบว่า “พวกเราไม่ได้รับรองและตกลงไว้กับท่าน แต่รับ รองและตกลงไว้กับภรรยาโหรต่างหาก พระต้องไม่วุ่นวาย ต้องเป็นพระที่ดี หลีกไป พวกเราไม่รู้จักท่าน” ครั้นถูกพวกสาวกอาชีวกพูดรุกราน พระอุทายี จึงเดินทางกลับกรุงสาวัตถี ฝ่ายสาวน้อยก็ยังส่งข่าวไปถึงมารดาอีกเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ลูกตกระกำลำบาก หา ความสุขไม่ได้เลย ฯลฯ คุณแม่โปรดมารับลูกกลับไปเถิด” ฝ่ายภรรยาโหรก็เข้าไปหาพระอุทายีถึงที่อยู่ แล้วพูดเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “พระ คุณเจ้า ทราบมาว่า บุตรสาวของดิฉันตกระกำลำบาก ฯลฯ โปรดเลี้ยงดูนางอย่าง สะใภ้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๔๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ท่านพระอุทายีกล่าวว่า “อาตมาถูกพวกสาวกอาชีวกพูดรุกรานมาครั้งหนึ่งแล้ว เธอไปเองเถิด อาตมาจะไม่ไป”
นินทาและสรรเสริญพระอุทายี
[๒๙๘] ครั้งนั้น ภรรยาโหรได้ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ขอให้พระ อุทายีตกระกำลำบาก อย่าได้มีความสุขสบายเหมือนบุตรสาวของเราที่ต้องตกระกำ ลำบากไม่ได้ความสุขสบายเพราะมีแม่ผัว พ่อผัว และสามีชั่ว” แม้สาวน้อยก็ตำหนิ ประณาม โพนทะนาพระอุทายีว่า “ขอให้พระอุทายีตก ระกำลำบาก อย่าได้มีความสุข เหมือนเราที่ต้องตกระกำลำบาก ไม่ได้ความสุขสบาย เพราะมีแม่ผัว พ่อผัว และสามีชั่ว” แม้หญิงสาวอื่นๆ ที่ไม่ชอบใจแม่ผัว พ่อผัว และสามี ต่างสาปแช่งพระอุทายี ว่า “ขอให้พระอุทายีตกระกำลำบาก ฯลฯ เหมือนเราที่ตกระกำลำบาก เพราะมี แม่ผัว พ่อผัว และสามีชั่ว” ฝ่ายหญิงสาวที่ชอบใจแม่ผัว พ่อผัว และสามี ต่างให้พรว่า “ขอให้พระคุณ เจ้าอุทายีจงมีความสุขความเจริญเหมือนพวกเราที่มีความสุขความเจริญเพราะมีแม่ผัว พ่อผัว และสามีดี” พวกภิกษุได้ยินหญิงบางพวกสาปแช่ง บางพวกให้พร บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงชักสื่อ เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอชักสื่อจริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๔๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ไฉนเธอจึงชักสื่อเล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๒๙๙] ก็ ภิกษุใดทำหน้าที่ชักสื่อ คือ บอกความประสงค์ของชายแก่ หญิงก็ดี บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดี เพื่อให้เป็นภรรยาหรือเป็นชู้รัก เป็นสังฆาทิเสส สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระอุทายี จบ
เรื่องนักเลงหญิง
[๓๐๐] สมัยนั้น พวกนักเลงจำนวนมากพากันไปเที่ยวรื่นเริงในอุทยาน ส่ง ชายสื่อไปสำนักหญิงแพศยาคนหนึ่งด้วยสั่งว่า “เชิญนางมาเถิด พวกเราจักไปเที่ยว รื่นเริงในอุทยานด้วยกัน” หญิงแพศยาตอบว่า “นายจ๋า ดิฉันไม่ทราบว่าพวกท่านเป็นใครหรือเป็นพวก พ้องของใคร อีกประการหนึ่ง ดิฉันมีทรัพย์สมบัติมาก มีเครื่องประดับมาก ถ้าจะ ต้องออกไปนอกเมือง ดิฉันไม่ไป” ครั้นแล้วชายสื่อแจ้งเรื่องนั้นให้พวกนักเลงทราบ เมื่อชายสื่อพูดอย่างนั้น ชายอีกคนหนึ่งบอกพวกนักเลงว่า “พวกท่านไปอ้อนวอนหญิงแพศยาทำไม ควร บอกพระอุทายีมิดีกว่าหรือ ท่านจะส่งนางมาให้พวกเราเอง” เมื่อเขาพูดอย่างนั้น อุบาสกคนหนึ่งพูดแย้งว่า “คุณอย่าพูดอย่างนั้น การทำ อย่างนั้นไม่เหมาะแก่พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พระคุณเจ้าอุทายีจะไม่ทำเช่นนั้น” เมื่ออุบาสกพูดอย่างนี้ พวกนักเลงจึงพนันกันว่า “พระคุณเจ้าอุทายีจะทำ หรือไม่ทำ” นักเลงเหล่านั้นเข้าไปหาพระอุทายีถึงที่อยู่แล้วกราบเรียนท่านว่า “พระ คุณเจ้า พวกกระผมเข้าไปเที่ยวรื่นเริงในอุทยาน ส่งชายสื่อไปหาหญิงแพศยาชื่อโน้น ว่า ‘ขอให้นางมา พวกเราจะเที่ยวรื่นเริงในอุทยาน’ นางตอบว่า ‘นายจ๋า ดิฉันไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๔๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๕. สัญจริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ

ทราบว่าพวกท่านเป็นใครหรือเป็นพวกพ้องของใคร อีกประการหนึ่ง ดิฉันมีเครื่อง ประดับมาก ถ้าจะต้องออกไปนอกเมือง ดิฉันไม่ไป’ ขอพระคุณเจ้าโปรดส่งหญิง แพศยาคนนั้นมาให้พวกกระผมด้วยเถิด” ลำดับนั้น พระอุทายีเข้าไปหาหญิงแพศยาถึงที่อยู่ถามว่า “ทำไมเธอไม่ไปหา คนพวกนั้นเล่า” นางตอบว่า “ดิฉันไม่ทราบว่า คนพวกนี้เป็นใครหรือเป็นพวกพ้องของใคร อีกประการหนึ่งดิฉันมีทรัพย์สมบัติมาก มีเครื่องประดับมาก ถ้าจะต้องออกไปนอก เมือง ดิฉันไม่ไป เจ้าค่ะ” “เธอไปหาคนพวกนี้เถิด อาตมารู้จักพวกเขาดี” “ถ้าพระคุณเจ้ารู้จัก ดิฉันก็จะไป เจ้าค่ะ” ลำดับนั้น พวกนักเลงพาหญิงแพศยาคนนั้นไปเที่ยวในอุทยาน ต่อมา อุบาสก ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอุทายีจึงชักสื่อให้อยู่ร่วมกันชั่วคราวเล่า” พวกภิกษุได้ยินอุบาสกตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงชักสื่อให้อยู่ ร่วมกับชั่วคราวเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่างๆ แล้ว จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอชักสื่อให้อยู่ร่วมกันชั่วคราว จริงหรือ” พระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ ไม่สมควร ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงชักสื่อ ให้อยู่ร่วมกันชั่วคราวเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๔๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๕. สัญจริตตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระอนุบัญญัติ
[๓๐๑] อนึ่ง ภิกษุใดทำหน้าที่ชักสื่อ คือ บอกความประสงค์ของชายแก่ หญิงก็ดี บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดี เพื่อให้เป็นภรรยาหรือเป็นชู้รัก โดยที่สุดแม้เพื่อให้อยู่ร่วมกันชั่วคราว เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องนักเลงหญิง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๒] คำว่า อนึ่ง... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ทำหน้าที่ชักสื่อ ความว่า ไปหาฝ่ายชายตามที่หญิงขอร้อง หรือไปหา ฝ่ายหญิงตามที่ชายขอร้อง คำว่า บอกความประสงค์ของชายแก่หญิงก็ดี คือ แจ้งความปรารถนาของ ชายแก่หญิง คำว่า บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดี คือ แจ้งความปรารถนาของ หญิงแก่ชาย คำว่า เพื่อให้เป็นภรรยา คือ บอกว่า เธอจักเป็นภรรยา คำว่า เพื่อให้เป็นชู้รัก คือ บอกว่า เธอจักเป็นชู้รัก คำว่า โดยที่สุดแม้เพื่อให้อยู่ร่วมกันชั่วคราว คือ บอกว่า เธอจักเป็นภรรยา ชั่วคราว คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
มาติกา
หญิง ๑๐ จำพวก
[๓๐๓] หญิง ๑๐ จำพวก คือ ๑. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดา ๒. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา ๓. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา ๔. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย ๕. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว ๖. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ๗. หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ๘. หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง ๙. หญิงที่มีคู่หมั้น ๑๐. หญิงที่มีกฎหมายคุ้มครอง
ภรรยา ๑๐ จำพวก
ภรรยา ๑๐ จำพวก คือ ๑. ภรรยาสินไถ่ ๒. ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ ๓. ภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ๔. ภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ๕. ภรรยาที่เข้าพิธีสมรส ๖. ภรรยาที่ถูกปลงเทริด ๗. ภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา ๘. ภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ๙. ภรรยาที่เป็นเชลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๔๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

๑๐. ภรรยาชั่วคราว [๓๐๔] ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดา ได้แก่ หญิงที่มี มารดาคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของบิดา ได้แก่ หญิงที่มีบิดาคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของมารดาบิดา ได้แก่ หญิงที่มี มารดาบิดาคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่ชายน้องชาย ได้แก่ หญิงที่มีพี่ ชายน้องชายคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของพี่สาวน้องสาว ได้แก่ หญิงที่มี พี่สาวน้องสาวคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของญาติ ได้แก่ หญิงที่มีญาติคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ ที่ชื่อว่า หญิงที่ยังอยู่ในความปกครองของตระกูล ได้แก่ หญิงที่มีบุคคล ร่วมตระกูลคอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ ที่ชื่อว่า หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง ได้แก่ หญิงที่มีผู้ประพฤติธรรมร่วมกันคอย ระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ ที่ชื่อว่า หญิงที่มีคู่หมั้น ได้แก่ หญิงที่ถูกหมั้นหมายไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์โดย ที่สุดกระทั่งหญิงที่ชายสวมพวงดอกไม้ให้ด้วยกล่าวว่า “หญิงนี้เป็นของเรา” ที่ชื่อว่า หญิงที่มีกฎหมายคุ้มครอง ได้แก่ หญิงที่มีพระราชาบางองค์ทรง กำหนดโทษไว้ว่า “ชายที่ล่วงเกินหญิงคนนี้ ต้องได้รับโทษเท่านี้” ที่ชื่อว่า ภรรยาสินไถ่ ได้แก่ หญิงที่ชายเอาทรัพย์ซื้อมาอยู่ร่วมกัน ที่ชื่อว่า ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ ได้แก่ หญิงอันเป็นที่รักซึ่งชายคู่รักรับ ให้อยู่ร่วมกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๔๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๕. สัญจริตตสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า ภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ ได้แก่หญิงที่ชายยกสมบัติให้แล้วอยู่ร่วมกัน ที่ชื่อว่า ภรรยาที่อยู่เพราะแผ่นผ้า ได้แก่หญิงที่ชายมอบผ้าให้แล้วอยู่ร่วมกัน ที่ชื่อว่า ภรรยาที่เข้าพิธีสมรส ได้แก่ หญิงที่ชายจับมือจุ่มลงในภาชนะน้ำ ด้วยกันแล้วอยู่ร่วมกัน ที่ชื่อว่า ภรรยาที่ถูกปลงเทริด ได้แก่ หญิงที่ชายถอดเทริดลงแล้วอยู่ร่วมกัน ที่ชื่อว่า ภรรยาที่เป็นทั้งคนรับใช้เป็นทั้งภรรยา ได้แก่ หญิงที่เป็นทั้งทาส เป็นทั้งภรรยา ที่ชื่อว่า ภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา ได้แก่ หญิงที่เป็นทั้งลูกจ้าง เป็นทั้งภรรยา ที่ชื่อว่า ภรรยาที่เป็นเชลย ได้แก่ หญิงที่ถูกนำมาเป็นเชลย ที่ชื่อว่า ภรรยาชั่วคราว ได้แก่ หญิงที่อยู่ร่วมกันเป็นครั้งคราว


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๓๘-๓๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=42              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=14568&Z=14821                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=421              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=421&items=11              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=421&items=11                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ss5/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :