ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

เรื่องเจ้าปายาสิ

๑๐. ปายาสิสูตร
ว่าด้วยเจ้าปายาสิ
[๔๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระกุมารกัสสปะกำลังจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงเมืองเสตัพยะของชาวโกศล พักอยู่ ณ ป่าไม้สีเสียด ทางทิศเหนือเมืองเสตัพยะ สมัยนั้น เจ้าปายาสิปกครองเมืองเสตัพยะ ซึ่งมีประชากร และสัตว์เลี้ยงมากมาย มีพืชพันธุ์ธัญญาหาร และน้ำ หญ้าอุดมสมบูรณ์ มีพระราชทรัพย์ ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย๑-
เรื่องเจ้าปายาสิ
[๔๐๗] สมัยนั้น เจ้าปายาสิมีความเห็นชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นว่า “แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์๒- ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี” พราหมณ์ และคหบดีชาวเมืองเสตัพยะได้ฟังข่าวว่า “ท่านสมณกุมารกัสสปะ ผู้เป็นสาวกของ พระสมณโคดมกำลังจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงเมืองเสตัพยะโดยลำดับ กำลังพักอยู่ ณ ป่าไม้สีเสียดทางทิศเหนือเมือง เสตัพยะ ท่านสมณกุมารกัสสปะนั้น มีชื่อเสียงดีงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต กล่าวถ้อยคำไพเราะ ปฏิภาณดี เป็นผู้เจริญและ เป็นพระอรหันต์ การได้เห็นพระอรหันต์เช่นนั้นเป็นการดีแท้’ จากนั้น พราหมณ์และ คหบดีชาวเมืองเสตัพยะออกจากเมืองเสตัพยะ เดินรวมกันเป็นหมู่เป็นคณะมุ่งหน้า ไปทางทิศเหนือสู่ป่าไม้สีเสียด @เชิงอรรถ : @ พรหมไทย ในที่นี้หมายถึงการให้อันประเสริฐ คือ สิ่งที่พระราชทานแล้ว จักไม่ยึดกลับคืนมาอีก @(ที.สี.อ. ๒๕๕/๒๒๑) @ โอปปาติกสัตว์ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ @เช่น เทวดาและสัตว์นรก (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

เรื่องเจ้าปายาสิ

[๔๐๘] ขณะนั้น เจ้าปายาสิทรงพักผ่อนกลางวันอยู่ ณ ปราสาทชั้นบน ทรงเห็นพราหมณ์และคหบดีชาวเมืองเสตัพยะ ซึ่งออกจากเมืองเสตัพยะเดินรวมกัน เป็นหมู่เป็นคณะมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือสู่ป่าไม้สีเสียด จึงทรงเรียกมหาดเล็กมาตรัส ถามว่า “มหาดเล็ก เหตุใด พราหมณ์และคหบดีชาวเมืองเสตัพยะจึงออกจากเมือง เสตัพยะเดินรวมกันเป็นหมู่เป็นคณะมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือสู่ป่าไม้สีเสียด” มหาดเล็กทูลตอบว่า “ฝ่าพระบาท ท่านสมณกุมารกัสสปะ ผู้เป็นสาวกของ พระสมณโคดมกำลังจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงเมืองเสตัพยะโดยลำดับ พักอยู่ ณ ป่าไม้สีเสียดทางทิศเหนือเมือง เสตัพยะ ท่านสมณกุมารกัสสปะนั้น มีชื่อเสียงดีงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต กล่าวถ้อยคำไพเราะ ปฏิภาณดี เป็นผู้เจริญ และเป็นพระอรหันต์ พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นจักเข้าไปหาท่านสมณกุมารกัสสปะ รูปนั้น” เจ้าปายาสิรับสั่งว่า “มหาดเล็ก ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเข้าไปหาพราหมณ์ และคหบดีชาวเมืองเสตัพยะถึงที่อยู่ บอกกับพราหมณ์และคหบดีชาวเมืองเสตัพยะ อย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เจ้าปายาสิรับสั่งว่า ‘ให้พวกท่านรอ เจ้าปายาสิจะเสด็จ เข้าไปหาท่านสมณกุมารกัสสปะด้วย’ ครั้งก่อน ท่านสมณกุมารกัสสปะชี้แจงให้ พราหมณ์และคหบดีชาวเมืองเสตัพยะผู้โง่ ไม่ฉลาดได้รู้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี มหาดเล็ก แท้จริง โลกอื่น ไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี” มหาดเล็กทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาพราหมณ์และคหบดีชาวเมือง เสตัพยะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับพราหมณ์และคหบดีชาวเมืองเสตัพยะดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย เจ้าปายาสิรับสั่งว่า ‘ให้พวกท่านรอ เจ้าปายาสิจะเสด็จเข้าไปหาท่านสมณกุมาร- กัสสปะด้วย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

[๔๐๙] ลำดับนั้น เจ้าปายาสิแวดล้อมด้วยพราหมณ์และคหบดีชาวเมือง เสตัพยะ เสด็จเข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปะถึงที่อยู่ ณ ป่าไม้สีเสียด ได้ทรงสนทนา ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ฝ่ายพราหมณ์และคหบดีชาวเมืองเสตัพยะ บางพวกกราบท่านพระกุมารกัสสปะแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร บางพวกสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน กับท่านพระกุมารกัสสปะแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไปทางที่ท่าน พระกุมารกัสสปะอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและตระกูลแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งเฉย ณ ที่สมควร
นัตถิกวาทะ
ความเห็นว่าไม่มี
[๔๑๐] ลำดับนั้น เจ้าปายาสิครั้นประทับ ณ ที่สมควรแล้วจึงตรัสกับท่าน พระกุมารกัสสปะดังนี้ว่า “ท่านกัสสปะ โยมมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ทำชั่วไม่มี” ท่านพระกุมารกัสสปะถวายพระพรว่า “บพิตร อาตมภาพ ไม่เคยเห็น หรือได้ ยินบุคคลผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ทำไมพระองค์จึงตรัสอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะ เหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’
อุปมาด้วยดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
[๔๑๑] บพิตร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพขอถวายพระพรถามพระองค์ใน เรื่องนี้ โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย พระองค์เข้าพระทัยเรื่องนั้นว่าอย่างไร คือ “ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มีในโลกนี้หรือโลกอื่น เป็นเทพหรือเป็นมนุษย์” “ท่านกัสสปะ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มีในโลกอื่น มิใช่มีในโลกนี้ เป็นเทพ มิใช่เป็นมนุษย์” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

“บพิตร ด้วยเหตุแห่งพระดำรัสของพระองค์นี้แล จึงแสดงอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะ เหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี” [๔๑๒] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมก็ยังคงเชื่อในเรื่องนี้อยู่ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ทำชั่วไม่มี” “บพิตร เหตุที่ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น ไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่หรือ” “ท่านกัสสปะ เหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่” “บพิตร อุปมาด้วยอะไร” “ท่านกัสสปะ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของโยมในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอา สิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ต่อมา พวกเขาป่วย ได้รับทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก เมื่อโยมรู้ว่า ‘เวลานี้ พวกเขายัง ไม่หายป่วย’ จึงเข้าไปเยี่ยมแล้วสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ เขาไม่ได้ให้ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะไป เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต (หรือ)นรก’ พวกท่านเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่ เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าหาก คำของสมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นจริง พวกท่านหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต (หรือ)นรก ถ้าพวกท่านหลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต (หรือ)นรกจริง ก็ขอให้กลับมาบอกเราบ้างว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี’ พวกท่านเท่านั้นพอเป็นที่ เชื่อถือไว้วางใจของเรา สิ่งที่พวกท่านเห็นก็เช่นเดียวกับสิ่งที่เราเห็นเอง’ คนเหล่านั้น รับคำของโยมแล้ว แต่ไม่กลับมาบอก ไม่ส่งข่าวมาบอก ท่านกัสสปะ นี้แลเป็นเหตุ ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบาก แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยโจร

อุปมาด้วยโจร๑-
[๔๑๓] “บพิตร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพขอถวายพระพรถามพระองค์ในเรื่องนี้ โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย พระองค์เข้าพระทัยเรื่องนั้นว่าอย่างไร พวกราชบุรุษ ของพระองค์ในโลกนี้จับโจรผู้ก่อกรรมชั่วมาแสดงแก่พระองค์ว่า ‘ฝ่าพระบาท นี้เป็น โจรผู้ก่อกรรมชั่วต่อพระองค์ พระองค์โปรดลงพระอาชญาแก่โจรนี้ตามพระประสงค์เถิด’ ถ้าพระองค์จะพึงรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงใช้เชือกเหนียวมัดบุรุษนี้ เอาแขนไพล่หลังอย่างแน่นหนาแล้วโกนศีรษะ นำตระเวนจากถนนหนึ่งไปสู่ถนนหนึ่ง จากสี่แยกหนึ่งไปสู่สี่แยกหนึ่ง พร้อมกับแกว่งบัณเฑาะว์เสียงดัง น่ากลัวนำออกทาง ประตูด้านทิศใต้ตัดศีรษะที่ตะแลงแกงทางทิศใต้แห่งเมือง’ ราชบุรุษทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว ใช้เชือกเหนียวมัดบุรุษนั้นเอาแขนไพล่หลังอย่างแน่นหนาแล้วโกนศีรษะ นำตระเวนจากถนนหนึ่งไปสู่ถนนหนึ่ง จากสี่แยกหนึ่งไปสู่สี่แยกหนึ่ง พร้อมกับ แกว่งบัณเฑาะว์เสียงดังน่ากลัว นำออกไปทางประตูด้านทิศใต้แล้วให้นั่งที่ตะแลงแกง ทางทิศใต้แห่งเมือง โจรจะได้รับการผ่อนผันจากเพชฌฆาตตามคำขอที่ว่า ‘ขอให้ ท่านเพชฌฆาตโปรดรอจนกว่าข้าพเจ้าจะได้ไปแจ้งแก่มิตรอำมาตย์ หรือญาติสาโลหิตใน บ้านโน้นหรือนิคมโน้น แล้วจะกลับมา’ กระนั้นหรือ หรือว่าเพชฌฆาตจะพึงตัดศีรษะ โจรผู้กำลังอ้อนวอนอยู่เล่า” “ท่านกัสสปะ โจรไม่ควรได้รับการผ่อนผันจากเพชฌฆาตตามคำขอที่ว่า ‘ขอให้ ท่านเพชฌฆาตโปรดรอจนกว่าข้าพเจ้าจะได้ไปแจ้งแก่มิตรอำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต ในบ้านโน้นหรือนิคมโน้นแล้วจะกลับมา’ ที่แท้ เพชฌฆาตพึงตัดศีรษะโจรผู้กำลังอ้อนวอน อยู่นั่นแหละ” “บพิตร โจรนั้นเป็นมนุษย์ยังไม่ได้รับการผ่อนผันจากเพชฌฆาตที่เป็นมนุษย์ ตามคำขอที่ว่า ‘ขอให้ท่านเพชฌฆาตโปรดรอจนกว่าข้าพเจ้าจะได้ไปแจ้งแก่มิตรอำมาตย์ หรือญาติสาโลหิตในบ้านโน้นหรือนิคมโน้นแล้วจะกลับมา’ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของพระองค์ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ประพฤติผิดในกาม @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๗๐/๑๕๓, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๔๔/๓๖๑-๓๖๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยโจร

พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต (หรือ)นรก จะได้รับ ผ่อนผันจากนายนิรยบาลตามคำขอที่ว่า ‘ขอให้นายนิรยบาลโปรดรอจนกว่าข้าพเจ้า จะได้ไปแจ้งแก่เจ้าปายาสิว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบาก แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี’ หรือ บพิตร ด้วยเหตุแห่งพระดำรัสของพระองค์นี้แล จึงแสดงอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรม ที่ทำดีและทำชั่วมี” [๔๑๔] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมก็ยังคงเชื่อในเรื่องนี้อยู่ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ทำชั่วไม่มี” “บพิตร เหตุที่ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น ไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่หรือ” “ท่านกัสสปะ เหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่” “บพิตร อุปมาด้วยอะไร” “ท่านกัสสปะ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของโยมในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิต ไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ต่อมาพวกเขาป่วย ได้รับทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก เมื่อโยมรู้ว่า ‘เวลานี้ พวกเขายังไม่หายป่วย’ จึงเข้าไปเยี่ยมแล้วสั่ง อย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ เขาไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง อยากได้ของของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน สุคติโลกสวรรค์’ พวกท่านเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยบุรุษในหลุมอุจจาระ

เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง อยากได้ของของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าหากคำของสมณพราหมณ์ พวกนั้นเป็นจริง พวกท่านหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถ้าพวกท่าน หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์จริง ก็ขอให้กลับมาบอกเราบ้างว่า ‘แม้ เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี’ พวกท่าน เท่านั้นพอเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของเรา สิ่งที่พวกท่านเห็นก็เช่นเดียวกับสิ่งที่เรา เห็นเอง’ คนเหล่านั้นรับคำของโยมแล้ว แต่ไม่กลับมาบอก ไม่ส่งข่าวมาบอกท่าน กัสสปะ นี้แลเป็นเหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี”
อุปมาด้วยบุรุษในหลุมอุจจาระ
[๔๑๕] “บพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะยกอุปมาถวายพระองค์ให้สดับ คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ เข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร เปรียบ เหมือนบุรุษจมลงในหลุมอุจจาระมิดศีรษะ เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าพระองค์จะพึงรับสั่ง ราชบุรุษว่า ‘พวกท่านจงช่วยกันยกบุรุษนั้นขึ้นจากหลุมอุจจาระ’ พวกราชบุรุษทูลรับ สนองพระดำรัสแล้ว พึงช่วยกันยกบุรุษนั้นขึ้นมาจากหลุมอุจจาระ ถ้าพระองค์จะพึง รับสั่งอีกว่า ‘พวกท่านจงเอาซี่ไม้ไผ่ขูดอุจจาระออกจากร่างกายของบุรุษนั้นให้หมด’ พวกราชบุรุษทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พึงเอาซี่ไม้ไผ่ขูดอุจจาระออกจากร่างกาย ของบุรุษนั้นให้หมด ถ้าพระองค์จะพึงรับสั่งอีกว่า ‘พวกท่านจงเอาดินสีเหลืองขัด สีร่างกายของบุรุษนั้นสัก ๓ ครั้ง’ พวกราชบุรุษทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เอาดิน สีเหลืองขัดสีร่างกายของบุรุษนั้น ๓ ครั้ง ถ้าพระองค์จะพึงรับสั่งอีกว่า ‘พวกท่านจง เอาน้ำมันชโลมบุรุษนั้นแล้วลูบไล้ด้วยจุรณ๑- อย่างดีให้ผุดผ่องสัก ๓ ครั้ง’ พวกราชบุรุษ พึงเอาน้ำมันชโลมบุรุษนั้นแล้วลูบไล้ด้วยจุรณอย่างดีให้ผุดผ่อง ๓ ครั้ง ถ้าพระองค์ จะพึงรับสั่งอีกว่า ‘พวกท่านจงตัดผมและโกนหนวดบุรุษนั้น’ พวกราชบุรุษพึงตัดผม @เชิงอรรถ : @ จุรณ ในที่นี้หมายถึงเครื่องหอมที่เป็นผงละเอียดอาจทำเป็นก้อนเก็บไว้ใช้ได้ทุกเวลา (ที.ม.อ. ๓๗๙/๓๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยบุรุษในหลุมอุจจาระ

และโกนหนวดของบุรุษนั้น ถ้าพระองค์จะพึงรับสั่งอีกว่า ‘พวกท่านจงนำพวงดอกไม้ เครื่องลูบไล้และผ้าราคาแพงไปให้บุรุษนั้น’ พวกราชบุรุษพึงนำพวงดอกไม้ เครื่อง ลูบไล้ และผ้าราคาแพงไปให้บุรุษนั้น ถ้าพระองค์จะพึงรับสั่งอีกว่า ‘พวกท่านจงเชิญ บุรุษนั้นขึ้นปราสาทบำรุงบำเรอด้วยกามคุณ ๕’ พวกราชบุรุษพึงเชิญบุรุษนั้นขึ้น ปราสาทบำรุงบำเรอด้วยกามคุณ ๕ บพิตร พระองค์เข้าพระทัยเรื่องนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้น อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตัดผมและโกนหนวดอย่างดี สวมพวงดอกไม้และเครื่องประดับแล้ว นุ่งผ้าขาว อยู่ปราสาทชั้นดี เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรอด้วยกามคุณ ๕ ยังต้องการ จะดำลงในหลุมอุจจาระนั้นอีกหรือ” “ไม่เป็นเช่นนั้น ท่านกัสสปะ” “เพราะเหตุไร จึงไม่เป็นเช่นนั้น” “ท่านกัสสปะ เพราะหลุมอุจจาระไม่สะอาด คือ พึงเป็นสิ่งทั้งไม่สะอาด ทั้งนับว่า ไม่สะอาด ทั้งมีกลิ่นเหม็น ทั้งนับว่ามีกลิ่นเหม็น ทั้งน่ารังเกียจ ทั้งนับว่าน่ารังเกียจ ทั้งน่าเกลียด ทั้งนับว่าน่าเกลียด” “บพิตร มนุษย์ก็เช่นเดียวกันนั่นแหละ คือสำหรับพวกเทพ พวกมนุษย์ เป็นผู้ ไม่สะอาด ทั้งนับว่าไม่สะอาด เป็นผู้มีกลิ่นเหม็น ทั้งนับว่ามีกลิ่นเหม็น เป็นผู้น่า รังเกียจ ทั้งนับว่าน่ารังเกียจ เป็นผู้น่าเกลียด ทั้งนับว่าน่าเกลียด กลิ่นมนุษย์ย่อม ฟุ้งไปในหมู่เทพตลอด ๑๐๐ โยชน์ ก็(ถ้า)มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของพระองค์ ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นขาด จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของ ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ พวกเขาหลังจากตายแล้วก็ไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ แล้วจะกลับมาทูลพระองค์ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์ มีผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี’ หรือ บพิตร ด้วยเหตุแห่งพระดำรัสของ พระองค์แม้นี้แล จึงแสดงอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบาก แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยบุรุษในหลุมอุจจาระ

[๔๑๖] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมก็ยังคงเชื่อในเรื่องนี้อยู่ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ทำชั่วไม่มี” “บพิตร เหตุที่ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น ไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่หรือ” “ท่านกัสสปะ เหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่” “บพิตร อุปมาด้วยอะไร” “ท่านกัสสปะ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของโยมในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุรา และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ต่อมา พวกเขาป่วย ได้รับทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก เมื่อโยมรู้ว่า ‘เวลานี้พวกเขายังไม่หายป่วย’ จึงเข้าไปเยี่ยมแล้วสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นขาด จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท หลังจากตายไปแล้วจะไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์อยู่ร่วมกับเทพชั้นดาวดึงส์’ ท่านทั้งหลาย เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการประพฤติผิด ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอัน เป็นเหตุแห่งความประมาท ถ้าหากคำของสมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นจริง พวกท่าน หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อยู่ร่วมกับเทพชั้นดาวดึงส์ ถ้าพวกท่าน หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์จริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยเทพชั้นดาวดึงส์

ก็ขอให้กลับมาบอกเราบ้างว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบาก แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี’ พวกท่านเท่านั้นพอเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของเรา สิ่งที่ พวกท่านเห็นก็เช่นเดียวกับสิ่งที่เราเห็นเอง’ คนเหล่านั้นรับคำของโยมแล้ว แต่ไม่ กลับมาบอก ไม่ส่งข่าวมาบอก ท่านกัสสปะ นี้แลเป็นเหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ทำชั่วไม่มี”
อุปมาด้วยเทพชั้นดาวดึงส์
[๔๑๗] “บพิตร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพขอถวายพระพรถามพระองค์ ในเรื่องนี้ โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย ๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับคืนและวันหนึ่ง ของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของพระองค์ ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการถือ เอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ พูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์ หากพวก เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘รอเวลาให้พวกเราเอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรอด้วยกามคุณ ๕ ที่เป็นทิพย์สัก ๒-๓ วันก่อน จึงค่อยไปกราบทูลเจ้าปายาสิว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี’ พวกเขาพึงกลับ มากราบทูลพระองค์ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่ง กรรมที่ทำดีและทำชั่วมี‘ หรือ บพิตร” “ไม่เป็นเช่นนั้น ท่านกัสสปะ ที่จริง พวกเราคงตายไปนานแล้ว แต่ใครเล่า บอกท่านกัสสปะว่า ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีอยู่’ หรือว่า ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีอายุ ยืนเท่านี้’ พวกเราไม่เชื่อท่านกัสสปะว่า ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีอยู่’ หรือว่า ‘พวกเทพ ชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนเท่านี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยคนตาบอดแต่กำเนิด

อุปมาด้วยคนตาบอดแต่กำเนิด๑-
[๔๑๘] “บพิตร เปรียบเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิดไม่อาจเห็นรูปสีดำและ รูปสีขาว ไม่อาจเห็นรูปสีเขียว ไม่อาจเห็นรูปสีเหลือง ไม่อาจเห็นรูปสีแดง ไม่อาจ เห็นรูปสีแดงฝาง ไม่อาจเห็นรูปที่เรียบและรูปที่ขรุขระ ไม่อาจเห็นรูปดวงดาว ไม่อาจเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาจะพึงพูดอย่างนี้ว่า ‘รูปสีดำและรูปสีขาวไม่มี คนที่เห็นรูปสีดำและรูปสีขาวก็ไม่มี รูปสีเขียวไม่มี คนที่เห็นรูปสีเขียวก็ไม่มี รูปสีเหลืองไม่มี คนที่เห็นรูปสีเหลืองก็ไม่มี รูปสีแดงไม่มี คนที่เห็นรูปสีแดงก็ไม่มี รูปสีแดงฝางไม่มี คนที่เห็นรูปสีแดงฝางก็ไม่มี รูปที่เรียบและรูปที่ขรุขระไม่มี คนที่เห็นรูปที่เรียบและรูปที่ขรุขระก็ไม่มี รูปดวงดาวไม่มี คนที่เห็นรูปดวงดาวก็ไม่มี ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่มี คนที่เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ไม่มี บพิตร คนนั้นเมื่อจะพูดว่า ‘เราไม่รู้สิ่งนั้น ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้น จึงไม่มี’ ชื่อว่าพูดถูกหรือไม่” “ไม่ถูก ท่านกัสสปะ เพราะ รูปสีดำและรูปสีขาวมี คนที่เห็นรูปสีดำและรูปสีขาวก็มี รูปสีเขียวมี คนที่เห็นรูปสีเขียวก็มี รูปสีเหลืองมี คนที่เห็นรูปสีเหลืองก็มี รูปสีแดงมี คนที่เห็นรูปสีแดงก็มี รูปสีแดงฝางมี คนที่เห็นรูปสีแดงฝางก็มี รูปที่เรียบและรูปที่ขรุขระมี คนที่เห็นรูปที่เรียบและรูปที่ขรุขระก็มี รูปดวงดาวมี คนที่เห็นรูปดวงดาวก็มี ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มี คนที่เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็มี @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.ม. ๑๓/๔๖๖/๔๕๘-๔๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยคนตาบอดแต่กำเนิด

ท่านกัสสปะ คนนั้นเมื่อจะพูดว่า ‘เราไม่รู้สิ่งนั้น ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นจึงไม่มี’ ชื่อว่าพูดไม่ถูก” “บพิตร พระองค์ก็เช่นเดียวกับคนที่ตาบอดแต่กำเนิดนั่นแหละ ที่ตรัสกับ อาตมภาพอย่างนี้ว่า ‘ก็ใครเล่า บอกท่านกัสสปะว่า ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์มี’ หรือว่า ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนเท่านี้’ พวกเราไม่เชื่อท่านกัสสปะว่า ‘พวกเทพชั้น ดาวดึงส์มี’ หรือว่า ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนเท่านี้’ บพิตร คนจะเห็นโลกอื่นได้ ด้วยตาเนื้อดังที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยไม่ได้ สมณพราหมณ์ผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ในป่าใหญ่ ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ทำตาทิพย์ให้บริสุทธิ์ ย่อมเห็นโลกนี้โลกอื่น ตลอดถึงเหล่าโอปปาติกสัตว์ได้ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เกิน กว่าตาของมนุษย์ คนไม่อาจจะเห็นโลกอื่นได้ด้วยตาเนื้อดังที่พระองค์ทรงเข้าพระทัย บพิตร ด้วยเหตุแห่งพระดำรัสของพระองค์แม้นี้แล จึงแสดงอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะ เหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี” [๔๑๙] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมก็ยังคงเชื่อในเรื่องนี้อยู่ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ทำชั่วไม่มี” “บพิตร เหตุที่ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น ไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่หรือ” “ท่านกัสสปะ เหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่” “บพิตร อุปมาด้วยอะไร” “ท่านกัสสปะ โยมเห็นสมณพราหมณ์ในโลกนี้ ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม อยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักความสุข เกลียดความทุกข์ จึงคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าท่านสมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘เมื่อพวกเรา ตายจากโลกนี้แล้ว คุณความดีจะปรากฏ’ ท่านเหล่านี้คงดื่มยาพิษ ใช้ศัสตรา ฆ่าตัวตาย ผูกคอตาย หรือกระโดดเหวตาย แต่เพราะท่านเหล่านั้นไม่ทราบ อย่างนี้ว่า ‘เมื่อพวกเราตายจากโลกนี้แล้ว คุณความดีจะปรากฏ’ ฉะนั้น ท่านเหล่านั้น จึงอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักความสุข เกลียดความทุกข์ ท่านกัสสปะ นี้แล เป็นเหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยสตรีมีครรภ์

อุปมาด้วยสตรีมีครรภ์
[๔๒๐] “บพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะยกอุปมาถวายพระองค์ให้สดับ คนฉลาดบางพวกในโลกนี้เข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร เรื่องเคย มีมาแล้ว พราหมณ์คนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน บุตรของภรรยาคนหนึ่งมีอายุ ๑๐ ปี หรือ ๑๒ ปี ภรรยาอีกคนหนึ่ง มีครรภ์ใกล้จะคลอด ต่อมาพราหมณ์เสียชีวิตลง ชายหนุ่มพูดกับแม่เลี้ยงดังนี้ว่า ‘คุณแม่ ทรัพย์ ธัญชาติ เงินหรือทอง ทั้งหมดล้วน เป็นของฉัน แม่ไม่มีส่วนแบ่งในทรัพย์สมบัตินี้ โปรดมอบมรดกของพ่อแก่ฉัน’ เมื่อชายหนุ่มกล่าวอย่างนี้ นางพราหมณีนั้นกล่าวกับชายหนุ่มนั้นดังนี้ว่า ‘ลูกเอ๋ย เจ้าจงรอจนกว่าแม่จะคลอด ถ้าเด็กที่เกิดมาเป็นชาย เขาจะได้รับส่วนแบ่ง ครึ่งหนึ่ง ถ้าเด็กที่เกิดมาเป็นหญิง เขาจะเป็นผู้รับใช้ของเจ้า’ แม้ครั้งที่ ๒ ชายหนุ่มก็พูดกับแม่เลี้ยงอีกว่า ‘คุณแม่ ทรัพย์ ธัญชาติ เงิน หรือทอง ทั้งหมดล้วนเป็นของฉัน แม่ไม่มีส่วนแบ่งในทรัพย์สมบัตินี้ โปรดมอบ มรดกของพ่อแก่ฉัน’ แม้ครั้งที่ ๒ นางพราหมณีก็กล่าวกับชายหนุ่มนั้นอีกว่า ‘ลูกเอ๋ย เจ้าจงรอจนกว่าแม่จะคลอด ถ้าเด็กที่เกิดมาเป็นชาย เขาจะได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง ถ้าเด็กที่เกิดมาเป็นหญิง เขาจะเป็นผู้รับใช้ของเจ้า’ แม้ครั้งที่ ๓ ชายหนุ่มก็พูดกับแม่เลี้ยงอีกว่า ‘คุณแม่ ทรัพย์ ธัญชาติ เงิน หรือทอง ทั้งหมดล้วนเป็นของฉัน แม่ไม่มีส่วนแบ่งในทรัพย์สมบัตินี้ โปรดมอบ มรดกของพ่อแก่ฉัน’ ลำดับนั้น นางพราหมณีถือมีดเข้าไปในห้องแล้วแหวะท้องด้วยคิดว่า ‘เราอยากรู้ ว่าลูกในครรภ์เป็นชายหรือเป็นหญิง’ ได้ทำลายตนเอง ชีวิตลูกในครรภ์ และทรัพย์ สมบัติ (ที่จะพึงได้)จนพินาศ บพิตร นางพราหมณีผู้โง่ ไม่ฉลาด เมื่อแสวงหามรดก โดยวิธีที่ไม่แยบคาย ได้ถึงความพินาศไปแล้ว ฉันใด พระองค์ผู้โง่ ไม่ฉลาด เมื่อแสวงหาโลกอื่นโดยวิธีที่ไม่แยบคายจักถึงความพินาศ ฉันนั้น บพิตร สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ไม่เหมือนนางพราหมณีผู้โง่ ไม่ฉลาด เมื่อแสวงหามรดกโดยวิธีที่ไม่แยบคายได้ถึงความพินาศแล้ว คือ เขาไม่เร่ง อายุที่ยังไม่สิ้นให้สิ้นไป แต่รอให้อายุสิ้นไปเอง เพราะว่าชีวิตของสมณพราหมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยสตรีมีครรภ์

ผู้ฉลาด มีศีล มีกัลยาณธรรม เป็นชีวิตที่มีประโยชน์ สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ดำรงชีวิตอยู่นานเพียงใด ก็ย่อมประสบบุญมาก และปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพียงนั้น บพิตร ด้วยเหตุแห่ง พระดำรัสของพระองค์แม้นี้แล จึงแสดงอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี” [๔๒๑] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมก็ยังคงเชื่อในเรื่องนี้อยู่ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ทำชั่วไม่มี” “บพิตร เหตุที่ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น ไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่หรือ” “ท่านกัสสปะ เหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่” “บพิตร อุปมาด้วยอะไร” “ท่านกัสสปะ พวกราชบุรุษของโยมในโลกนี้ จับโจรผู้ก่อกรรมชั่วมาแสดงแก่ โยมว่า ‘ฝ่าพระบาท นี้เป็นโจรผู้ก่อกรรมชั่วต่อพระองค์ พระองค์โปรดลงพระอาชญา แก่โจรนี้ตามพระประสงค์เถิด’ โยมสั่งพวกราชบุรุษอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน จงจับบุรุษนี้ใส่หม้อทั้งเป็นแล้วปิดปากหม้อ รัดด้วยหนังสด พอกด้วยดินเหนียว ให้หนา ยกขึ้นตั้งเตาแล้วติดไฟ’ พวกราชบุรุษรับคำของโยมแล้วจึงจับบุรุษนั้น ใส่หม้อทั้งเป็นแล้วปิดปากหม้อ รัดด้วยหนังสด พอกด้วยดินเหนียวให้หนา ยกขึ้น ตั้งเตาแล้วติดไฟ เมื่อโยมรู้ว่า ‘บุรุษนั้นเสียชีวิตแล้ว’ จึงให้ยกหม้อนั้นลง กะเทาะ ดินเหนียวออกแล้วค่อยๆ เปิดปากหม้อ ตรวจดูว่า ‘บางทีพวกเราจะได้เห็นชีวะ (วิญญาณ)ของบุรุษนั้นออกมาบ้าง’ แต่พวกเราไม่เห็นชีวะของเขาออกมาเลย ท่าน กัสสปะ นี้แลเป็นเหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยคนหลับฝัน

อุปมาด้วยคนหลับฝัน
[๔๒๒] “บพิตร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพขอถวายพระพรถามพระองค์ ในเรื่องนี้ โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย พระองค์ทรงเคยบรรทมกลางวัน ทรงสุบิน เห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ พื้นที่อันน่ารื่นรมย์ และสระโบกขรณีอันน่า รื่นรมย์บ้างไหม” “ท่านกัสสปะ โยมเคยหลับกลางวัน ฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่า รื่นรมย์ พื้นที่อันน่ารื่นรมย์ และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์” “ในขณะที่ทรงสุบินนั้น มีหญิงค่อม หญิงเตี้ย นางภูษามาลาหรือเด็กสาว คอยดูแลพระองค์อยู่หรือ” “ท่านกัสสปะ ในขณะที่ฝันนั้น มีหญิงค่อม หญิงเตี้ย นางภูษามาลาหรือเด็ก สาวคอยดูแลโยมอยู่” “หญิงเหล่านั้นเห็นชีวะของพระองค์เข้า-ออกอยู่ หรือไม่” “ท่านกัสสปะ หญิงเหล่านั้นไม่เห็นชีวะของโยมเข้า-ออกอยู่เลย” “บพิตร หญิงเหล่านั้นมีชีวิตอยู่แท้ๆ ยังไม่เห็นชีวะเข้า-ออกของพระองค์ผู้ยังทรง พระชนม์อยู่ พระองค์จะทรงเห็นชีวะเข้า-ออกของคนผู้สิ้นชีวิตไปแล้วได้อย่างไรเล่า บพิตร ด้วยเหตุแห่งพระดำรัสของพระองค์แม้นี้แล จึงแสดงอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะ เหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี” [๔๒๓] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมก็ยังคงเชื่อในเรื่องนี้อยู่ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ทำชั่วไม่มี” “บพิตร เหตุที่ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น ไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่หรือ” “ท่านกัสสปะ เหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยก้อนเหล็กร้อน

“บพิตร อุปมาด้วยอะไร” “ท่านกัสสปะ พวกราชบุรุษของโยมในโลกนี้จับโจรผู้ก่อกรรมชั่วมาแสดงแก่ โยมว่า ‘ฝ่าพระบาท นี้เป็นโจรผู้ก่อกรรมชั่วต่อพระองค์ พระองค์โปรดลงพระอาชญา แก่โจรนี้ตามพระประสงค์เถิด’ โยมสั่งพวกราชบุรุษอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน จงเอาตาชั่งมาชั่งบุรุษนี้ทั้งเป็นแล้ว ใช้เชือกมัดให้ขาดใจตาย เอาตาชั่งชั่งอีกครั้งหนึ่ง’ พวกราชบุรุษรับคำของโยมแล้วจึงเอาตาชั่งไปชั่งบุรุษนั้นทั้งเป็นแล้ว ใช้เชือกมัดให้ ขาดใจตาย เอาตาชั่งชั่งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อบุรุษนั้นยังมีชีวิตอยู่ ร่างกายนี้มีน้ำหนักเบา อ่อนนุ่ม และปรับตัวได้ง่ายกว่า แต่เมื่อบุรุษนั้นสิ้นชีวิตแล้ว ร่างกายมีน้ำหนักมาก แข็งกระด้าง และปรับตัวได้ยากกว่า ท่านกัสสปะ นี้แลเป็นเหตุที่ทำให้โยมเข้าใจ อย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำ ดีและทำชั่วไม่มี”
อุปมาด้วยก้อนเหล็กร้อน
[๔๒๔] “บพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะยกอุปมาถวายพระองค์ให้สดับ คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ เข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร เปรียบ เหมือนคนเอาตาชั่งชั่งก้อนเหล็กที่เผาไว้ตลอดวัน ติดไฟลุกโพลง ต่อมาใช้ตาชั่ง ชั่งก้อนเหล็กนั้นขณะเย็นสนิท เมื่อไรก้อนเหล็กนั้นจะมีน้ำหนักเบากว่า อ่อนกว่า และดัดง่ายกว่า คือเมื่อติดไฟลุกโพลงอยู่หรือว่าเมื่อเย็นสนิทแล้ว” “ท่านกัสสปะ เมื่อก้อนเหล็กนั้นมีไฟ มีลม ติดไฟลุกโพลงอยู่จะมีน้ำหนัก เบากว่า อ่อนกว่าและดัดได้ง่ายกว่า แต่เมื่อก้อนเหล็กนั้นไม่มีไฟ ไม่มีลม เย็นสนิท จะมีน้ำหนักมากกว่า แข็งกระด้างกว่าและดัดได้ยากกว่า” “บพิตร เช่นเดียวกันนั่นแหละ เมื่อร่างกายนี้ยังมีอายุ มีไออุ่นและมีวิญญาณ จะมีน้ำหนักเบากว่า อ่อนนุ่มกว่า และปรับตัวได้ง่ายกว่า แต่เมื่อร่างกายนี้ไม่มีอายุ ไม่มีไออุ่นและไม่มีวิญญาณ จะมีน้ำหนักมากกว่า แข็งกระด้างกว่า และปรับตัวได้ ยากกว่า บพิตร ด้วยเหตุแห่งพระดำรัสของพระองค์แม้นี้แล จึงแสดงอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยก้อนเหล็กร้อน

[๔๒๕] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมก็ยังคงเชื่อในเรื่องนี้อยู่ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ทำชั่วไม่มี” “บพิตร เหตุที่ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น ไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่หรือ” “ท่านกัสสปะ เหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่” “บพิตร อุปมาด้วยอะไร” “ท่านกัสสปะ พวกราชบุรุษของโยมในโลกนี้ จับโจรผู้ก่อกรรมชั่วมาแสดงแก่ โยมว่า ‘ฝ่าพระบาท นี้เป็นโจรผู้ก่อกรรมชั่วต่อพระองค์ พระองค์โปรดลงพระอาชญา แก่โจรนี้ ตามพระประสงค์เถิด’ โยมสั่งพวกราชบุรุษอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน จงฆ่าบุรุษนี้ อย่าให้ผิว หนัง เอ็น กระดูก และเยื่อในกระดูกช้ำ บางทีพวกเราจะได้ เห็นชีวะของบุรุษนั้นออกมาบ้าง’ พวกราชบุรุษรับคำของโยมแล้วจึงฆ่าบุรุษนั้น ไม่ให้ผิว หนัง เอ็น กระดูก และเยื่อในกระดูกช้ำ เมื่อบุรุษนั้นใกล้ตาย โยมสั่งว่า ‘พวกท่านจงผลักให้เขานอนหงาย บางทีพวกเราจะได้เห็นชีวะของบุรุษนั้นออกมาบ้าง’ เมื่อราชบุรุษผลักให้เขานอนหงาย พวกเราก็ไม่ได้เห็นชีวะของเขาออกมาเลย โยมจึง สั่งอีกว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงพลิกให้เขานอนคว่ำ...’ ‘...ให้เขานอนตะแคงข้างหนึ่ง...’ ‘...ให้นอนตะแคงอีกข้างหนึ่ง...’ ‘...จงพยุงให้ลุกขึ้น...’ ‘...จับศีรษะกดลง...’ ‘...ใช้ฝ่า มือทุบ...’ ‘...ใช้ก้อนดินทุบ...’ ‘...ใช้ท่อนไม้ทุบ...’ ‘...ใช้ศัสตราทุบ..’ ‘...ลากมาลากไป ลากไปลากมา บางทีพวกเราจะได้เห็นชีวะของบุรุษนั้นออกมาบ้าง’ พวกราชบุรุษ ลากบุรุษนั้นมาลากบุรุษนั้นไป ลากไปลากมา พวกเราก็ไม่เห็นชีวะของเขาเลย ตาของเขาก็เหมือนเดิม รูปก็รูปเดิมๆ แต่ตานั้นไม่รับรู้รูปนั้น หูของเขาก็หูเดิม เสียงก็เสียงเดิมๆ แต่หูนั้นไม่รับรู้เสียงนั้น จมูกของเขาก็จมูกเดิม กลิ่นก็กลิ่นเดิมๆ แต่จมูกนั้นไม่รับรู้กลิ่นนั้น ลิ้นของเขาก็ลิ้นเดิม รสก็รสเดิมๆ แต่ลิ้นนั้นไม่รับรู้รสนั้น กายของเขาก็กายเดิม โผฏฐัพพะก็โผฏฐัพพะเดิมๆ แต่กายนั้นไม่รับรู้โผฏฐัพพะนั้น ท่านกัสสปะ นี้แลเป็นเหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยการเป่าสังข์

อุปมาด้วยการเป่าสังข์
[๔๒๖] “บพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะยกอุปมาถวายพระองค์ให้สดับ คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ เข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร เรื่องเคยมี มาแล้ว คนเป่าสังข์คนหนึ่งนำสังข์ไปยังปัจจันตชนบท เข้าไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ยืนอยู่กลางหมู่บ้านเป่าสังข์ขึ้น ๓ ครั้ง วางสังข์ไว้ที่พื้นดินแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น ชาวปัจจันตชนบทแตกตื่นว่า ‘ท่านทั้งหลาย นั้นเสียงใครกัน น่าพอใจ น่ารักใคร่ น่าหลงใหล น่าติดใจ ไพเราะอย่างนี้’ จึงพากันล้อมคนเป่าสังข์ ถามว่า ‘พ่อคุณ นั่นเสียงใครกัน น่าพอใจ น่ารักใคร่ น่าหลงใหล น่าติดใจ ไพเราะ อย่างนี้’ คนเป่าสังข์ตอบว่า ‘ท่านทั้งหลาย นี้เป็นเสียงสังข์ น่าพอใจ น่ารักใคร่ น่าหลงใหล น่าติดใจ ไพเราะอย่างนี้’ ชาวปัจจันตชนบทเหล่านั้นจับสังข์นั้นให้หงายขึ้นแล้วสั่งว่า ‘พูดซิพ่อสังข์ พูดซิ พ่อสังข์’ สังข์นั้นก็ไม่ส่งเสียง พวกเขาจับสังข์ให้คว่ำหน้าลง ... จับสังข์ให้ตะแคงข้าง หนึ่ง ... จับสังข์ให้ตะแคงอีกข้างหนึ่ง ... ยกสังข์ให้สูงขึ้น ... วางสังข์ให้ต่ำลง ... ใช้ฝ่ามือ เคาะ ... ใช้ก้อนดินเคาะ .... ใช้ท่อนไม้เคาะ ... ใช้ศัสตราเคาะ ... ลากมาลากไป ลากไปลากมา แล้วสั่งว่า ‘พูดซิพ่อสังข์ พูดซิพ่อสังข์’ สังข์นั้นก็ไม่ส่งเสียง คนเป่าสังข์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ชาวปัจจันตชนบทเหล่านี้ช่างโง่เขลาจริง ไฉนจึงแสวงหาเสียงสังข์โดยไม่ถูกวิธีอย่างนี้เล่า’ ขณะที่ชาวปัจจันตชนบทเหล่านั้น กำลังมุงดูอยู่ เขาจึงหยิบสังข์ขึ้นมาเป่า ๓ ครั้งแล้วถือสังข์เดินไป ชาวปัจจันตชนบทเหล่านั้นพูดกันว่า ‘ท่านทั้งหลาย เมื่อสังข์นี้มีคน มีความ พยายาม และมีลมจึงส่งเสียงได้ เมื่อสังข์นี้ไม่มีคน ไม่มีความพยายาม และไม่มีลม ก็ส่งเสียงไม่ได้’ บพิตร เช่นเดียวกันนั่นแหละ เมื่อกายนี้ยังมีอายุ มีไออุ่นและมีวิญญาณ จึงก้าว ไปได้ ถอยกลับได้ ยืนได้ นั่งได้ นอนได้ เห็นรูปทางตาได้ ฟังเสียงทางหูได้ ดมกลิ่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยการเป่าสังข์

ทางจมูกได้ ลิ้มรสทางลิ้นได้ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายได้ รู้ธรรมารมณ์ทางใจได้ แต่เมื่อกายนี้ไม่มีอายุ ไม่มีไออุ่น และไม่มีวิญญาณ กายนี้จึงก้าวไปไม่ได้ ถอยกลับ ไม่ได้ ยืนไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนไม่ได้ เห็นรูปทางตาไม่ได้ ฟังเสียงทางหูไม่ได้ ดมกลิ่น ทางจมูกไม่ได้ ลิ้มรสทางลิ้นไม่ได้ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายไม่ได้ หรือรู้ธรรมารมณ์ ทางใจไม่ได้ บพิตร ด้วยเหตุแห่งพระดำรัสของพระองค์แม้นี้แล จึงแสดงอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี โอปปาติกสัตว์มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี”
ภาณวารที่ ๑ จบ
[๔๒๗] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมก็ยังคงเชื่อในเรื่องนี้อยู่ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ทำชั่วไม่มี’ บพิตร เหตุที่ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น ไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่หรือ” “ท่านกัสสปะ เหตุที่ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ มีอยู่” “บพิตร อุปมาด้วยอะไร” “ท่านกัสสปะ พวกราชบุรุษของโยมในโลกนี้ จับโจรผู้ก่อกรรมชั่วมาแสดงแก่ โยมว่า ‘ฝ่าพระบาท นี้เป็นโจรผู้ก่อกรรมชั่วต่อพระองค์ พระองค์โปรดลงพระอาชญา แก่โจรนี้ตามพระประสงค์เถิด’ โยมสั่งพวกราชบุรุษอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน จงเชือดผิวของบุรุษนี้ บางทีพวกเราจะได้เห็นชีวะของเขาบ้าง’ พวกเขาจึงเชือดผิว ของบุรุษนั้น พวกเราก็ไม่ได้ไม่เห็นชีวะของเขาเลย โยมจึงสั่งอีกว่า ‘ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเถือหนัง ...’ ... ‘... แล่เนื้อ ...’ ... ‘... ตัดเอ็น ...’ ... ‘... ตัดกระดูก ...’ ... ‘ตัดเยื่อในกระดูกของเขา บางทีพวกเราจะได้เห็นชีวะของเขาบ้าง’ พวกเขาตัดเยื่อใน กระดูกของบุรุษนั้น พวกเราก็ไม่ได้เห็นชีวะของเขาเลย ท่านกัสสปะ นี้แลเป็นเหตุที่ ทำให้โยมเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบาก แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยชฏิลผู้บูชาไฟ

อุปมาด้วยชฎิลผู้บูชาไฟ
[๔๒๘] “บพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะยกอุปมาถวายพระองค์ให้สดับ คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ เข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร เรื่องเคยมี มาแล้ว มีชฎิลผู้บูชาไฟคนหนึ่งอาศัยอยู่ในกุฎีใบไม้ ณ ชายป่า เวลานั้น หมู่เกวียน หมู่หนึ่งพักอยู่ในที่ใกล้อาศรมของชฎิลนั้น ๑ คืนแล้วจากไป ต่อมาชฎิลผู้บูชาไฟมี ความคิดดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเข้าไปในสถานที่ที่หมู่เกวียนนั้นพักอยู่ บางทีจะได้ อุปกรณ์ใช้สอยในที่นั้นบ้าง จึงลุกขึ้นแต่เช้าตรงเข้าไปที่ที่หมู่เกวียนพำนัก พบเด็ก อ่อนถูกทิ้งนอนหงายอยู่ที่นั้น คิดว่า ‘การที่เราผู้เป็นมนุษย์มาพบเด็ก แล้วจะปล่อย ให้เด็กเสียชีวิตไปก็ไม่เหมาะ ทางที่ดี เราควรพาเขาไปอาศรมแล้วชุบเลี้ยงให้เจริญเติบโต’ จึงพาเด็กนั้นไปชุบเลี้ยงจนเจริญเติบโต เมื่อเด็กนั้นอายุได้ ๑๐ ปี หรือ ๑๒ ปี ชฎิลบูชาไฟคนนั้นมีธุระอย่างหนึ่งในเมืองจึงสั่งเด็กนั้นว่า ‘ลูก พ่อจะไปในเมือง เจ้าพึงบูชาไฟอย่าให้ไฟดับ ถ้าไฟดับ นี้มีด นี้ฟืน นี้ไม้สีไฟ เจ้าพึงก่อไฟบูชา’ เมื่อสั่งเด็กแล้วได้ไปในเมือง ขณะที่เด็กกำลังเล่นอยู่ไฟเกิดดับ เด็กนึกขึ้นได้ว่า ‘พ่อสั่งเราไว้ว่า ‘เจ้าพึงบูชาไฟ อย่าให้ไฟดับ ถ้าไฟดับ นี้มีด นี้ฟืน นี้ไม้สีไฟ เจ้าพึง ก่อไฟบูชา’ ทางที่ดี เราควรก่อไฟบูชา’ จึงเอามีดถากไม้สีไฟด้วยเข้าใจว่า ‘บางทีจะได้ ไฟบ้าง’ แต่ไม่ได้ไฟเลย จึงผ่าไม้สีไฟออกเป็น ๒ ซีก ... ๓ ซีก... ๔ ซีก ... ๕ ซีก ... ๑๐ ซีก ... ๒๐ ซีก ... แล้วสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ครั้นสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วก็นำ มาโขลกในครก ครั้นโขลกในครกแล้วก็โปรยในที่มีลมแรงด้วยเข้าใจว่า ‘บางทีจะได้ ไฟบ้าง’ แต่เขาก็ไม่ได้ไฟเลย ต่อมา ชฎิลผู้บูชาไฟทำธุระในเมืองเสร็จแล้วจึงกลับมาอาศรมของตน ได้ถาม เด็กนั้นว่า ‘ลูกเอ๋ย ไฟของเจ้าไม่ดับบ้างเลยหรือ’ เด็กนั้นตอบว่า ‘พ่อครับ ผมมัวเล่นอยู่ตรงนี้ ไฟก็ดับเสีย’ พอนึกขึ้นได้ว่า ‘พ่อสั่งไว้ว่า ‘เจ้าพึงบูชาไฟ อย่าให้ไฟดับ ถ้าไฟดับ นี้มีด นี้ฟืน นี้ไม้สีไฟ เจ้าพึง ก่อไฟบูชา’ ทางที่ดี เราควรก่อไฟบูชา ผมจึงเอามีดถากไม้สีไฟด้วยคิดว่า ‘บางทีจะ ได้ไฟบ้าง’ แต่ไม่ได้ไฟเลย จึงผ่าไม้สีไฟออกเป็น ๒ ซีก ... ๓ ซีก ... ๔ ซีก ... ๕ ซีก ... ๑๐ ซีก ... ๒๐ ซีก ... แล้วสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ครั้นสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วก็ นำมาโขลกในครก ครั้นโขลกในครกแล้วก็โปรยในที่มีลมแรงด้วยเข้าใจว่า ‘บางทีจะได้ ไฟบ้าง’ แต่ไม่ได้ไฟเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยนายกองเกวียน ๒ คน

ลำดับนั้น ชฎิลผู้บูชาไฟคนนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เด็กคนนี้ช่างโง่ไม่ฉลาดเอา เสียเลย หาไฟโดยไม่ถูกวิธีจะได้อย่างไรเล่า’ เมื่อเด็กนั้นกำลังดูอยู่ จึงหยิบไม้สีไฟมา สีให้เกิดไฟแล้วบอกกับเด็กนั้นดังนี้ว่า ‘ลูกเอ๋ย เขาติดไฟกันอย่างนี้ ไม่เหมือนเจ้าที่โง่ ไม่ฉลาดหาไฟโดยไม่ถูกวิธี’ บพิตร พระองค์ก็เช่นเดียวกันทรงโง่เขลา ไม่ฉลาดนั่นแหละ แสวงหาโลกหน้า โดยไม่ถูกวิธี พระองค์โปรดสละทิฏฐิชั่วนั้นเถิด ปล่อยวางทิฏฐิชั่วนั้นเถิด ทิฏฐิชั่วเช่น นั้นอย่าได้เกิดมีแก่พระองค์เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนานเลย” [๔๒๙] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมไม่อาจสละทิฏฐิชั่วนี้ได้ พระเจ้าปเสนทิโกศลหรือพระราชานอกอาณาจักร ทรงรู้จักโยมอย่างนี้ว่า ‘เจ้าปายาสิ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ หากโยมสละทิฏฐิชั่วนี้ จะมีคนว่าโยมได้ว่า ‘เจ้าปายาสินี้ช่างโง่ ไม่ฉลาด ยึดถือแต่สิ่งผิดๆ’ โยมจะถือทิฏฐินั้นต่อไปเพราะความ โกรธ เพราะความลบหลู่ เพราะความแข่งดี”
อุปมาด้วยนายกองเกวียน ๒ คน
[๔๓๐] “บพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะยกอุปมาถวายพระองค์ให้สดับ คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ เข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร เรื่องเคยมี มาแล้ว มีพ่อค้าเกวียนหมู่ใหญ่มีเกวียนประมาณ ๑,๐๐๐ เล่ม เดินทางจากแคว้น ทางทิศตะวันออกไปยังแคว้นทางทิศตะวันตก ขณะเมื่อเดินทางไป หญ้า ฟืน น้ำ ใบ ไม้สดได้หมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว ในหมู่เกวียนนั้นมีนายกองเกวียน ๒ คน คุมเกวียน คนละ ๕๐๐ เล่ม นายกองเกวียนทั้ง ๒ คนนั้นได้ปรึกษากันว่า ‘กองเกวียนนี้เป็น หมู่ใหญ่มีเกวียน ๑,๐๐๐ เล่ม เวลาที่พวกเราเดินทางรวมกันไป หญ้า ฟืน น้ำ ใบไม้ สดหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว ทางที่ดีพวกเราควรแยกกองเกวียนนี้ออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ แยกเป็นกลุ่มละ ๕๐๐ เล่ม’ จึงตกลงแยกกันเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มละ ๕๐๐ เล่ม นายกองเกวียนคนหนึ่งบรรทุกหญ้า ฟืน และน้ำเป็นอันมากขับเกวียนล่วงหน้าไปก่อน เมื่อไปได้ ๒-๓ วันได้พบบุรุษผิวดำนัยน์ตาแดงสะพายแล่งธนู ทัดดอกโกมุท มีผ้า และผมเปียกปอน ขับรถคันงามมีล้อเปื้อนตมสวนทางมา จึงถามว่า ‘ท่านมาจากไหน’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยนายกองเกวียน ๒ คน

บุรุษนั้นตอบว่า ‘เรามาจากที่โน้น’ นายกองเกวียนถามว่า ‘ท่านจะไปไหน’ บุรุษนั้นตอบว่า ‘เราจะไปที่โน้น’ นายกองเกวียนถามว่า ‘หนทางกันดารข้างหน้ามีฝนตกมากใช่ไหม’ บุรุษนั้นตอบว่า ‘ใช่ครับ หนทางกันดารข้างหน้ามีฝนตกมาก หนทางมีน้ำ ชุ่มฉ่ำ มีหญ้า ฟืนและน้ำมากมาย พวกท่านจงทิ้งหญ้า ฟืน และน้ำเก่าเสียเถิด เกวียนเบาท่านจะเดินทางได้เร็วขึ้น วัวก็ไม่ต้องลำบาก’ ลำดับนั้น นายกองเกวียนเรียกพวกขับเกวียนมาบอกว่า ‘บุรุษนี้บอกว่า ‘หนทางกันดารข้างหน้ามีฝนตกมาก หนทางมีน้ำชุ่มฉ่ำ มีหญ้า ฟืน และน้ำ มากมาย พวกท่านจงทิ้งหญ้า ฟืน และน้ำเก่าเสียเถิด เกวียนเบาท่านจะเดินทาง ได้เร็วขึ้น วัวก็ไม่ต้องลำบาก’ พวกท่านจงทิ้งหญ้า ฟืน และน้ำเก่า จงขับเกวียนเบา ไปเถิด’ พวกขับเกวียนรับคำของนายกองเกวียนแล้วทิ้งหญ้า ฟืน และน้ำเก่า ขับเกวียน เบาไป แต่ก็มิได้พบเห็นหญ้า ฟืนหรือน้ำแม้ในที่พักกองเกวียนแห่งแรก แห่งที่ ๒ แห่งที่ ๓ แห่งที่ ๔ แห่งที่ ๕ แห่งที่ ๖ แห่งที่ ๗ ก็ไม่พบ จึงถึงความวอดวายด้วยกัน มนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในกองเกวียนนั้นถูกอมนุษย์คือยักษ์จับกินเสียทั้งหมดเหลือแต่ กระดูก ต่อมา เมื่อนายกองเกวียนคณะที่ ๒ รู้สึกว่า เวลานี้กองเกวียนคณะแรกได้ ออกเดินทางไปนานแล้ว จึงบรรทุกหญ้า ฟืน และน้ำเป็นอันมากแล้วขับเกวียนไป เมื่อไปได้ ๒-๓ วันได้พบบุรุษผิวดำนัยน์ตาแดงสะพายแล่งธนู ทัดดอกโกมุท มีผ้า และผมเปียกปอน ขับรถคันงามมีล้อเปื้อนตมสวนทางมา จึงถามว่า ‘ท่านมา จากไหน’ บุรุษนั้นตอบว่า ‘เรามาจากที่โน้น’ นายกองเกวียนถามว่า ‘ท่านจะไปไหน’ บุรุษนั้นตอบว่า ‘เราจะไปที่โน้น’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยนายกองเกวียน ๒ คน

นายกองเกวียนถามว่า ‘หนทางกันดารข้างหน้ามีฝนตกมากใช่ไหม’ บุรุษนั้นตอบว่า ‘ใช่ครับ หนทางกันดารข้างหน้ามีฝนตกมาก หนทางมีน้ำ ชุ่มฉ่ำ มีหญ้า ฟืนและน้ำมากมาย พวกท่านจงทิ้งหญ้า ฟืน และน้ำเก่าเสียเถิด เกวียนเบาท่านจะเดินทางได้เร็วขึ้น วัวก็ไม่ต้องลำบาก’ ลำดับนั้น นายกองเกวียนเรียกพวกขับเกวียนมาบอกว่า ‘บุรุษนี้บอกว่า ‘หนทางกันดารข้างหน้ามีฝนตกมาก หนทางมีน้ำชุ่มฉ่ำ มีหญ้า ฟืน และน้ำ มากมาย พวกท่านจงทิ้งหญ้า ฟืน และน้ำเก่าเสียเถิด เกวียนเบาท่านจะเดินทางได้ เร็วขึ้น วัวก็ไม่ต้องลำบาก’ ท่านทั้งหลาย บุรุษผู้นี้ไม่ใช่มิตรหรือญาติสาโลหิตของ พวกเรา พวกเราจะเชื่อเขาได้อย่างไร พวกท่านไม่ควรทิ้งหญ้า ฟืน และน้ำเก่า จงขับ กองเกวียนไปพร้อมกับสิ่งของตามที่นำมาเถิด พวกเราจะไม่ทิ้งของเก่า’ พวกขับเกวียนรับคำของนายกองเกวียนแล้ว ขับเกวียนไปพร้อมกับสิ่งของตาม ที่นำมา พวกเขาไม่พบเห็นหญ้า ฟืน หรือน้ำในที่พักกองเกวียนแห่งแรก แห่งที่ ๒ แห่งที่ ๓ แห่งที่ ๔ แห่งที่ ๕ แห่งที่ ๖ แห่งที่ ๗ ก็ไม่พบเลย เห็นแต่กอง เกวียน(คณะแรก)ที่ถึงความวอดวาย และเห็นมนุษย์และสัตว์เลี้ยงในกองเกวียนนั้น ซึ่งถูกอมนุษย์คือยักษ์จับกินเสียทั้งหมดเหลือแต่กระดูก ลำดับนั้น นายกองเกวียนจึงเรียกพวกขับเกวียนมาบอกว่า ‘นี้คือหมู่เกวียน (คณะแรก)นั้นได้ถึงความวอดวาย ทั้งนี้เพราะนายกองเกวียนผู้นำเป็นคนโง่เขลา ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงทิ้งสิ่งของที่มีประโยชน์น้อยในกองเกวียนของเราแล้ว จงขนเอา สิ่งของที่มีประโยชน์มากในกองเกวียนนี้ไป’ พวกขับเกวียนรับคำของนายกองเกวียนแล้ว ทิ้งสิ่งของที่มีประโยชน์น้อยในเกวียน ของตน ขนเอาสิ่งของที่มีประโยชน์มากในหมู่เกวียนนั้น เดินทางข้ามทางกันดารไป ได้โดยสวัสดิภาพ ทั้งนี้เพราะนายกองเกวียนผู้นำเป็นคนฉลาด บพิตร พระองค์ทรงโง่เขลา ไม่ฉลาด ทรงแสวงหาโลกอื่นโดยไม่ถูกวิธี จะถึง ความพินาศ ก็เช่นเดียวกับนายกองเกวียนคนแรกนั้นแหละ พวกคนที่เข้าใจว่าทิฏฐิ ของพระองค์ควรฟัง ควรเชื่อถือเหล่านั้น ก็จะถึงความพินาศเหมือนกัน ฉะนั้น พระองค์โปรดสละทิฏฐิชั่วนั้นเถิด ปล่อยวางทิฏฐิชั่วนั้นเถิด ทิฏฐิชั่วเช่นนั้นอย่าได้เกิด มีแก่พระองค์เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยคนทูนห่ออุจจาระ

[๔๓๑] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมไม่อาจสละทิฏฐิชั่วนี้ได้ พระเจ้าปเสนทิโกศลหรือพระราชานอกอาณาจักรทรงรู้จักโยมอย่างนี้ว่า ‘เจ้าปายาสิ ทรงมีวาทะอย่างนี้ ทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ หากโยมสละทิฏฐิชั่วนี้ จะมีคนว่า โยมได้ว่า ‘เจ้าปายาสินี้ช่างโง่เขลา ไม่ฉลาด ยึดถือแต่สิ่งผิดๆ’ โยมจะถือทิฏฐินั้น ต่อไป เพราะความโกรธ เพราะความลบหลู่ เพราะความแข่งดี”
อุปมาด้วยคนทูนห่ออุจจาระ
[๔๓๒] “บพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะยกอุปมาถวายพระองค์ให้สดับ คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ เข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร เรื่องเคยมี มาแล้ว มีบุรุษผู้เลี้ยงสุกรคนหนึ่งออกจากหมู่บ้านของตนไปยังหมู่บ้านอื่น เห็น อุจจาระแห้งจำนวนมากที่เขาทิ้งไว้ในบ้านนั้น จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘อุจจาระแห้ง มากมายที่เขาทิ้งนี้เป็นอาหารของสุกรของเรา ทางที่ดี เราควรนำอุจจาระแห้ง ไปจากที่นี้’ จึงปูผ้าห่มลงแล้วโกยเอาอุจจาระแห้งจำนวนมาก ผูกเป็นห่อทูนเดินไป ในระหว่างทาง เขาถูกฝนห่าใหญ่นอกฤดูกาล ตกรดเปรอะเปื้อนไปด้วยอุจจาระ ตั้งแต่ศีรษะจดปลายเล็บ(เท้า) ทูนเอาห่ออุจจาระที่ล้นไหลเดินไป ชาวบ้านเห็นเขาจึงถามว่า ‘ท่านบ้าหรือเปล่า เสียจริตหรือเปล่า ทำไมจึง เปรอะเปื้อนด้วยอุจจาระตั้งแต่ศีรษะจดปลายเล็บ ทูนห่ออุจจาระที่ล้นไหลอยู่เล่า’ บุรุษนั้นตอบว่า ‘พวกท่านต่างหากที่บ้า พวกท่านต่างหากที่เสียจริต ความจริง อุจจาระเป็นอาหารของสุกรของเรา’ บพิตร พระองค์ก็เช่นเดียวกับบุรุษผู้ทูนห่ออุจจาระเดินไปนั่นแหละ พระองค์ โปรดสละทิฏฐิชั่วนั้นเถิด ปล่อยวางทิฏฐิชั่วนั้นเถิด ทิฏฐิชั่วเช่นนั้นอย่าได้เกิดมีแก่ พระองค์เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนานเลย” [๔๓๓] “ท่านกัสสปะพูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมไม่อาจสละทิฏฐิชั่วนี้ได้ พระเจ้า ปเสนทิโกศลหรือพระราชานอกอาณาจักรรู้จักโยมอย่างนี้ว่า ‘เจ้าปายาสิทรงมีวาทะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยนักเลงสกา

อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบาก แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ หากโยมสละทิฏฐิชั่วนี้จะมีคนว่าโยมได้ว่า ‘เจ้าปายาสิ นี้ช่างโง่เขลาไม่ฉลาด ยึดถือแต่สิ่งผิดๆ’ โยมจะถือทิฏฐินั้นต่อไป เพราะความโกรธ เพราะความลบหลู่ เพราะความแข่งดี”
อุปมาด้วยนักเลงสกา
[๔๓๔] “บพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะยกอุปมาถวายพระองค์ให้สดับ คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ เข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร เรื่องเคยมี มาแล้ว มีนักเลงสกา ๒ คนกำลังเล่นสกา คนหนึ่งกลืนเบี้ยที่จะทำให้แพ้ลูกแล้ว ลูกเล่า อีกคนหนึ่งเห็นเช่นนั้นจึงพูดว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ท่านชนะอยู่ฝ่ายเดียว จงคืนลูกสกา แก่เราบ้าง เราจะเซ่นบูชา’ นักเลงสกาคนนั้นรับคำแล้วมอบลูกสกาคืน ต่อมานัก เลงสกาคนที่ ๒ เอายาพิษทาลูกสกาแล้วบอกว่า ‘มาเถิด เพื่อน เราจักเล่นสกา กันต่อ’ นักเลงสกาคนแรกรับคำแล้ว แม้ครั้งที่ ๒ นักเลงสกาทั้ง ๒ ก็เล่นสกากันต่อ แม้ครั้งที่ ๒ นักเลงสกาคนแรก ก็ยังกลืนเบี้ยที่จะทำให้แพ้ลูกแล้วลูกเล่า นักเลงสกาคนที่ ๒ เห็นนักเลงคนแรก กลืนเบี้ยที่จะทำให้แพ้ลูกแล้วลูกเล่า แม้ครั้งที่ ๒ จึงได้พูดกับนักเลงสกาดังนี้ว่า ‘คนกลืนลูกสกาเคลือบยาพิษ อย่างแรงกล้าก็ยังไม่รู้ตัว เฮ้ย เจ้านักเลงชั่ว เจ้าจงกลืนเข้าไป พิษร้ายแรงจักออกฤทธิ์แก่เจ้าภายหลัง‘๑- บพิตร พระองค์ก็เช่นเดียวกับนักเลงสกานั่นแหละ โปรดสละทิฏฐิชั่วนั้นเถิด ปล่อยวางทิฏฐิชั่วนั้นเถิด ทิฏฐิชั่วเช่นนั้นอย่าได้เกิดมีแก่พระองค์เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนานเลย” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๙๑/๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยคนหอบเปลือกป่าน

[๔๓๕] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมไม่อาจสละทิฏฐิชั่วนี้ได้ พระเจ้าปเสนทิโกศลหรือพระราชานอกอาณาจักรรู้จักโยมอย่างนี้ว่า ‘เจ้าปายาสิมี วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ หากโยมสละทิฏฐิชั่วนี้ จะมีคนว่าโยมได้ว่า ‘เจ้าปายาสินี้ช่างโง่เขลา ไม่ฉลาด ยึดถือแต่สิ่งผิดๆ’ โยมจะยึดถือทิฏฐินั้นต่อไป เพราะความโกรธ เพราะความลบหลู่ เพราะความแข่งดี”
อุปมาด้วยคนหอบเปลือกป่าน
[๔๓๖] ท่านพระกุมารกัสสปะถวายพระพรว่า “บพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพ จะยกอุปมาถวายพระองค์ให้สดับ คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ เข้าใจความหมายแห่ง ถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ เมืองแห่งหนึ่ง สหายผู้หนึ่งเรียก สหายมาบอกว่า ‘มาเถิด เพื่อน เราจะเข้าไปยังเมืองนั้น บางทีจะได้ทรัพย์ในเมืองนั้น บ้าง’ สหายคนที่ ๒ รับคำของเพื่อนแล้ว พากันเข้าไปยังชนบทถึงถนนในหมู่บ้าน แห่งหนึ่ง เห็นเปลือกป่านที่เขาทิ้งไว้มากมายในที่นั้น สหายคนแรกบอกสหายคน ที่ ๒ ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เขาทิ้งเปลือกป่านไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงผูกเปลือก ป่านไป ๑ มัด เราจะผูกอีก ๑ มัด เรา ๒ คนจะช่วยกันขนเปลือกป่านไป’ สหาย คนที่ ๒ รับคำแล้วผูกเปลือกป่าน ๑ มัด แล้ว ต่างช่วยกันหอบเปลือกป่านเข้าไป ยังถนนในหมู่บ้านอีกสายหนึ่ง ได้เห็นด้ายป่านที่เขาทิ้งไว้มากมายในที่นั้น สหาย คนแรกจึงบอกสหายอีกคนหนึ่งว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เราจะปรารถนาเปลือกป่านไปเพื่อ อะไร นี้ด้ายป่านที่เขาทิ้งไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงทิ้งมัดเปลือกป่านเสียเถิด เราก็จะทิ้งเหมือนกัน เรามาช่วยกันนำมัดด้ายป่านไปเถิด’ สหายคนที่ ๒ ตอบว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เราหอบมัดเปลือกป่านนี้มาตั้งไกล อีกทั้งมัดไว้เรียบร้อยดีแล้ว เราจะไม่ ทิ้งล่ะ ท่านจงทราบเถิด’ ลำดับนั้น สหายคนแรกทิ้งมัดเปลือกป่านแล้วนำมัดด้ายป่าน สหายทั้งสองพากันเข้าไปยังถนนในหมู่บ้านอีกสายหนึ่ง ได้เห็นผ้าป่านที่เขา ทิ้งไว้มากมายในที่นั้น สหายคนแรกจึงบอกสหายอีกคนหนึ่งว่า ‘เราจะปรารถนา เปลือกป่านและด้ายป่านไปเพื่ออะไร นี้ผ้าป่านที่เขาทิ้งไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

อุปมาด้วยคนหอบเปลือกป่าน

ทิ้งมัดเปลือกป่านเสีย เราก็จะทิ้งมัดด้ายป่านเหมือนกัน พวกเรามาช่วยกันนำมัดผ้า ป่านไปเถิด’ สหายคนที่ ๒ ตอบว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เราหอบมัดเปลือกป่านนี้มาตั้งไกล อีกทั้งมัดไว้เรียบร้อยดีแล้ว เราจะไม่ทิ้งล่ะ ท่านจงทราบเถิด’ ลำดับนั้น สหายคนแรกทิ้งมัดด้ายป่านแล้วนำมัดผ้าป่านไป สหายทั้งสองพากันเข้าไปยังถนนในหมู่บ้านอีกสายหนึ่ง ได้เห็นเปลือกไม้โขมะ ที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ด้ายเปลือกไม้โขมะที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ผ้าเปลือกไม้ โขมะ ที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ลูกฝ้ายที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ด้ายฝ้ายที่เขาทิ้งไว้ มากมาย ฯลฯ ผ้าฝ้ายที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ เหล็กที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ โลหะ๑- ที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ดีบุกที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ สำริดที่เขาทิ้งไว้ มากมาย ฯลฯ เงินที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ทองที่เขาทิ้งไว้มากมายในที่นั้น สหาย คนแรกจึงบอกสหายอีกคนหนึ่งว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เราจะปรารถนาเปลือกป่าน ด้ายป่าน ผ้าป่าน เปลือกไม้โขมะ ด้ายเปลือกไม้โขมะ ผ้าเปลือกไม้โขมะ ลูกฝ้าย ด้ายฝ้าย ผ้าฝ้าย เหล็ก โลหะ ดีบุก สำริด หรือเงินไปเพื่ออะไรกัน นี้ทองที่เขาทิ้งไว้มากมาย ท่านจงทิ้งมัดเปลือกป่านเสียเถิด เราก็จะทิ้งห่อเงินเหมือนกัน พวกเรามาช่วยกัน นำห่อทองไปเถิด’ สหายคนที่ ๒ ตอบว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เราหอบมัดเปลือกป่านนี้มา ตั้งไกล อีกทั้งมัดไว้เรียบร้อยดีแล้ว เราจะไม่ทิ้งล่ะ ท่านจงทราบเถิด’ ลำดับนั้น สหายคนแรกทิ้งห่อเงินแล้วนำห่อทองไป สหายทั้งสองพากันเข้าไปยังหมู่บ้านของตนๆ ในบรรดาสหายทั้ง ๒ คนนั้น คนที่หอบมัดเปลือกป่านไป ไม่ได้รับความชื่นชมยินดีจากมารดาบิดา ไม่ได้รับความ ชื่นชมยินดีจากบุตรภรรยา ไม่ได้รับความชื่นชมยินดีจากมิตรอำมาตย์ อีกทั้งไม่ได้ รับความสุขโสมนัสที่เกิดจากการหอบเปลือกป่านนั้น ส่วนสหายอีกคนหนึ่งที่นำห่อ ทองไป ได้รับความชื่นชมยินดีจากมารดาบิดา ได้รับความชื่นชมยินดีจากบุตรภรรยา ได้รับความชื่นชมยินดีจากมิตรอำมาตย์ อีกทั้งได้รับความสุขโสมนัสที่เกิดจากการนำ ห่อทองนั้น @เชิงอรรถ : @ โลหะ ในที่นี้หมายถึงทองแดง (ที.ม.อ. ๔๓๖/๔๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

ว่าด้วยยัญพิธี

บพิตร พระองค์ก็เช่นเดียวกับบุรุษผู้ขนมัดเปลือกป่านไม่เกื้อกูลนั่นแหละ พระองค์ โปรดสละทิฏฐิชั่วนั้นเถิด ปล่อยวางทิฏฐิชั่วนั้นเถิด ทิฏฐิชั่วเช่นนั้นอย่าได้เกิดมีแก่พระองค์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย”
เจ้าปายาสิทรงรับสรณคมน์
[๔๓๗] เจ้าปายาสิตรัสว่า “เพียงอุปมาโวหารข้อแรกของท่านกัสสปะเท่านั้น โยมก็พอใจอย่างยิ่งแล้ว แต่อยากจะฟังปฏิภาณในการตอบปัญหาที่วิจิตรเหล่านี้ จึงทำทีโต้แย้งท่านกัสสปะไปเท่านั้นเอง ภาษิตของท่านกัสสปะชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ภาษิตของท่านกัสสปะชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัสสปะประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย ประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ โยมขอถึงพระผู้มี พระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัสสปะโปรดจำโยมว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต โยมปรารถนาจะบูชา มหายัญ ขอท่านกัสสปะโปรดชี้แจงวิธีบูชามหายัญอันเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ ่โยมตลอดกาลนานเถิด”
ว่าด้วยยัญพิธี
[๔๓๘] ท่านพระกุมารกัสสปะถวายพระพรว่า “บพิตร ยัญที่มีการฆ่าโค ๑ ยัญที่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ทำให้สัตว์ต่างๆ ได้รับ ความเดือดร้อน ๑ และผู้รับ(ยัญ) ก็เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉาสังกัปปะ มี มิจฉาวาจา มีมิจฉากัมมันตะ มีมิจฉาอาชีวะ มีมิจฉาสติ มีมิจฉาสมาธิ เช่นนี้ ไม่มี ผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ไม่มีความแพร่หลายมาก เปรียบเหมือนชาวนาถือเมล็ดพืชและไถไปป่าแล้วหว่านเมล็ดพืชที่หัก เน่า ถูกลม แดดแผดเผาแล้ว ลีบ ยังไม่สุกดีลงในนาไร่ที่ไม่ดี มีพื้นที่ไม่เหมาะ ไม่แผ้วถางตอและ หนามให้หมดไป ทั้งฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล เมล็ดพืชเหล่านั้นจะเจริญงอกงามไพบูลย์ หรือ ชาวนาจะได้รับผลอันไพบูลย์หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

เรื่องอุตตรมาณพ

เจ้าปายาสิตรัสตอบว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย ท่านกัสสปะ” ท่านพระกุมารกัสสปะถวายพระพรว่า “บพิตร ยัญที่มีการฆ่าโค ๑ ยัญที่ มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ทำให้สัตว์ต่างๆ ได้รับ ความเดือดร้อน ๑ และผู้รับ(ยัญ)ก็เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉาสังกัปปะ มีมิจฉาวาจา มีมิจฉากัมมันตะ มีมิจฉาอาชีวะ มีมิจฉาวายามะ มีมิจฉาสติ มีมิจฉาสมาธิเช่นนี้ ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความเจริญรุ่งเรืองมากไม่มีความแพร่หลาย มาก” ส่วนยัญที่ไม่มีการฆ่าโค ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ไม่ทำให้สัตว์ต่างๆ ได้รับความเดือดร้อน ๑ และผู้รับก็เป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิเช่นนี้ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก เปรียบเหมือนชาวนาถือเมล็ดพืชและ ไถไปป่าแล้วหว่านเมล็ดพืชที่ไม่หัก ไม่เน่า ไม่ถูกลมแดดแผดเผา มีเมล็ดสุกดีลงใน นาไร่ที่ดีมีพื้นที่เหมาะ แผ้วถางตอและหนามให้หมดไป ทั้งฝนก็ตกตามฤดูกาล พืชเหล่านั้นจะเจริญงอกงามไพบูลย์ หรือชาวนาจะได้รับผลอันไพบูลย์หรือ” เจ้าปายาสิตรัสตอบว่า “เป็นอย่างนั้น ท่านกัสสปะ” ท่านพระกุมารกัสสปะถวายพระพรว่า “ยัญที่ไม่มีการฆ่าโค ๑ ยัญที่ไม่มีการ ฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ไม่ทำให้สัตว์ต่างๆ ได้รับความ เดือนร้อน ๑ และผู้รับก็เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิเช่นนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความเจริญรุ่งเรืองมากมีความแพร่หลายมาก”
เรื่องอุตตรมาณพ
[๔๓๙] ต่อมา เจ้าปายาสิทรงเริ่มให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และพวกยาจก แต่ในทานนั้นท้าวเธอประทานโภชนะเห็นปานนี้ คือ ปลายข้าวมีน้ำผักดองเป็นกับ ได้ประทานผ้าเนื้อหยาบมีชายขอดเป็นปมๆ ในการ ให้ทานนั้น มีอุตตรมาณพเป็นเจ้าหน้าที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

เรื่องอุตตรมาณพ

อุตตรมาณพให้ทานแล้วอุทิศอย่างนี้ว่า “ด้วยผลทานนี้ ข้าพเจ้าขออยู่ร่วมกับ เจ้าปายาสิในโลกนี้เท่านั้น อย่าได้อยู่ร่วมกันอีกในโลกหน้าเลย” เจ้าปายาสิทรงสดับว่า “ทราบว่า อุตตรมาณพให้ทานแล้วอุทิศอย่างนี้ว่า ‘ด้วยผลทานนี้ ข้าพเจ้าขออยู่ร่วมกับเจ้าปายาสิในโลกนี้เท่านั้น อย่าได้อยู่ร่วมกัน อีกในโลกหน้าเลย’ ต่อมาพระองค์ จึงรับสั่งให้เรียกอุตตรมาณพมาตรัสถามว่า “พ่ออุตตระ เธอให้ทานแล้วอุทิศอย่างนี้ว่า ‘ด้วยผลทานนี้ ข้าพเจ้าขออยู่ร่วมกับ เจ้าปายาสิในโลกนี้เท่านั้น อย่าได้อยู่ร่วมกันอีกในโลกหน้าเลย’ จริงหรือ” อุตตรมาณพกราบทูลว่า “จริงอย่างนั้น กระหม่อม” เจ้าปายาสิตรัสถามว่า “พ่ออุตตระ ก็เพราะเหตุใด เธอให้ทานแล้วจึงอุทิศ อย่างนี้ว่า ‘ด้วยผลทานนี้ ฯลฯ อย่าได้อยู่ร่วมกันอีกในโลกหน้าเลย’ พวกเรา ต้องการบุญ หวังผลทานจริงๆ มิใช่หรือ” อุตตรมาณพกราบทูลว่า “ในทานของพระองค์ยังมีการประทานโภชนะเห็น ปานนี้ คือปลายข้าวมีน้ำผักดองเป็นกับ ซึ่งพระองค์ไม่ทรงปรารถนาจะถูกต้องแม้ ด้วยพระบาท ไฉนจะเสวยเล่า อนึ่ง ผ้าก็เนื้อหยาบมีชายขอดเป็นปมๆ ซึ่งพระองค์ ไม่ทรงปรารถนาจะถูกต้องแม้ด้วยพระบาท ไฉนจะทรงนุ่งห่มเล่า พระองค์ทรงเป็น ที่รัก เป็นที่พอใจของพวกข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์จะชักจูงผู้ซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ พอใจไป ด้วยสิ่งที่ไม่น่าพอใจได้อย่างไรเล่า” เจ้าปายาสิตรัสว่า “พ่ออุตตระ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดเตรียมโภชนะชนิดเดียว กับที่เราบริโภค จงจัดเตรียมผ้าชนิดเดียวกับที่เรานุ่งห่ม” อุตตรมาณพทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จัดเตรียมโภชนะชนิดเดียวกับที่เจ้า ปายาสิเสวย และจัดเตรียมผ้าชนิดเดียวกับที่เจ้าปายาสิทรงนุ่งห่ม [๔๔๐] ต่อมา เพราะเหตุที่เจ้าปายาสิทรงให้ทานโดยไม่เคารพ ไม่ทรง ให้ทานด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ทรงให้ทานโดยความไม่นอบน้อม แต่ทรงให้ทาน อย่างโยนทิ้ง หลังจากถึงชีพิตักษัยแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้น จาตุมหาราช๑- คือ ได้วิมานว่างเปล่าชื่อเสรีสกวิมาน’ ส่วนอุตตรมาณพผู้เป็น @เชิงอรรถ : @ เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราช ในที่นี้หมายถึงไปเกิดเป็นบริวารของท้าวเวสวัณ- @มหาราช (ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๑๒๔๘/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

ปายาสิเทพบุตร

เจ้าหน้าที่ในการให้ทานของเจ้าปายาสินั้น ให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน เอง ให้ทานโดยความนอบน้อม ไม่ใช่ให้ทานอย่างโยนทิ้ง หลังจากตายแล้ว ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์
ปายาสิเทพบุตร
[๔๔๑] สมัยต่อมา ท่านพระควัมปติไปพักกลางวัน ณ เสรีสกวิมานที่ว่าง เปล่าอยู่เนืองๆ ลำดับนั้น ปายาสิเทพบุตรเข้าไปหาท่านพระควัมปติถึงที่อยู่ไหว้ แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระควัมปติถามปายาสิเทพบุตรว่า “ท่านเป็นใคร” ปายาสิเทพบุตรตอบว่า “ข้าพเจ้าคือเจ้าปายาสิ ขอรับ” ท่านพระควัมปติถามว่า “ท่านเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น ไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ จริงหรือ” ปายาสิเทพบุตรตอบว่า “จริงขอรับ ข้าพเจ้าเคยมีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘แม้เพราะ เหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ แต่พระผู้เป็นเจ้ากุมารกัสสปะได้ชี้นำให้ข้าพเจ้าออกจากทิฏฐิชั่วนั้นแล้ว” ท่านพระควัมปติถามว่า “ก็อุตตรมาณพผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในการให้ทานของท่าน ไปเกิดที่ไหน” ปายาสิเทพบุตรตอบว่า “อุตตรมาณพผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในการให้ทานของข้าพเจ้า ให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานโดยความนอบน้อม ไม่ใช่ให้ทาน อย่างโยนทิ้ง หลังจากตายแล้ว ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ ส่วนข้าพเจ้าให้ทานโดยไม่เคารพ ไม่ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานโดย ความไม่นอบน้อม ให้ทานอย่างโยนทิ้ง หลังจากตายแล้วเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วม กับพวกเทพชั้นจาตุมหาราช คือ ได้วิมานว่างเปล่าชื่อเสรีสกวิมาน ท่านควัมปติ ขอรับ ขอท่านจงไปมนุษยโลกประกาศอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยความนอบน้อม อย่าให้ทานอย่างโยนทิ้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑๐. ปายาสิสูตร]

รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เจ้าปายาสิทรงให้ทานโดยไม่เคารพ ไม่ทรงให้ทานด้วยมือของพระองค์เอง ทรงให้ ทานโดยความไม่นอบน้อม ทรงให้ทานอย่างโยนทิ้ง หลังจากถึงชีพิตักษัยแล้วได้เข้า ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราช คือ ได้วิมานว่างเปล่าชื่อ เสรีสกวิมาน ส่วนอุตตรมาณพผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในการให้ทานของเจ้าปายาสินั้นให้ ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานโดยความนอบน้อม ไม่ใช่ให้ทาน อย่างโยนทิ้ง หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้น ดาวดึงส์” ต่อมา เมื่อท่านพระควัมปติกลับมาสู่มนุษยโลกแล้วได้ประกาศอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานโดยความ นอบน้อม อย่าให้ทานอย่างโยนทิ้ง เจ้าปายาสิทรงให้ทานโดยไม่เคารพ ไม่ทรงให้ ทานด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ทรงให้ทานโดยไม่นอบน้อม ทรงให้ทานอย่างโยนทิ้ง หลังจากถึงชีพิตักษัยแล้วเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราช คือ ได้วิมานว่างเปล่าชื่อเสรีสกวิมาน ส่วนอุตตรมาณพผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในการให้ทาน ของเจ้าปายาสิให้ทานโดยความเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานโดยความ นอบน้อม ไม่ใช่ให้ทานอย่างโยนทิ้ง หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ได้อยู่ ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์”
ปายาสิสูตรที่ ๑๐ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหาปทานสูตร ๒. มหานิทานสูตร ๓. มหาปรินิพพานสูตร ๔. มหาสุทัสสนสูตร ๕. ชนวสภสูตร ๖. มหาโควินทสูตร ๗. มหาสมยสูตร ๘. สักกปัญหสูตร ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร ๑๐. ปายาสิสูตร เรียกว่ามหาวรรค
มหาวรรค จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๗๒}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๓๔๑-๓๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=6765&Z=10814                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=301              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=10&item=301&items=30              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=5&A=10814              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=10&item=301&items=30              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=5&A=10814                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn23/en/sujato https://suttacentral.net/dn23/en/tw-caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :