บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
๕. ภัททาลิสูตร ว่าด้วยพระภัททาลิ คุณแห่งการฉันอาหารมื้อเดียว [๑๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารมื้อเดียว เราเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว๑- ย่อมรู้สึก ว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด แม้เธอทั้งหลายก็จงฉันอาหารมื้อเดียวเถิด เธอทั้งหลาย เมื่อฉันอาหารมื้อเดียว จักรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัย สมบูรณ์ อยู่สำราญ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถฉันอาหารมื้อเดียวได้ เพราะเมื่อ ข้าพระองค์ฉันอาหารมื้อเดียว จะมีความกระวนกระวาย และมีความเดือดร้อน ภัททาลิ ถ้าเช่นนั้น เธอรับนิมนต์ ณ ที่ใดแล้ว พึงฉัน ณ ที่นั้นเสียส่วนหนึ่ง แล้วนำอีกส่วนหนึ่งมาฉันก็ได้ เมื่อเธอฉันอาหารได้อย่างนี้ ก็จักดำรงชีวิตอยู่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันแม้ด้วยอาการอย่างนั้น เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันอย่างนั้น ก็จะมีความกระวนกระวาย และมีความเดือดร้อน @เชิงอรรถ : @๑ ฉันอาหารมื้อเดียว หมายถึงการฉันอาหารในเวลาเช้า คือตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาเที่ยงวัน แม้ภิกษุ @ฉันอาหาร ๑๐ ครั้ง ในช่วงเวลานี้ก็ประสงค์ว่า ฉันอาหารมื้อเดียว (ม.มู.อ. ๒/๒๒๕/๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๐}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
ครั้งนั้น ท่านพระภัททาลิได้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ตั้งแต่นั้นมา ท่าน พระภัททาลิไม่กล้าเผชิญพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตลอด ๓ เดือนเต็ม เหมือนภิกษุ ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขา๑- ในศาสนาของพระศาสดาให้บริบูรณ์พระภัททาลิสำนึกผิด [๑๓๕] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากช่วยกันทำจีวรกรรม(เย็บจีวร) สำหรับ พระผู้มีพระภาคด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคจะทรงใช้จีวรที่ทำสำเร็จแล้ว เสด็จ เที่ยวจาริกไปเป็นเวลา ๓ เดือน เวลานั้น ท่านพระภัททาลิเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าว กับท่านพระภัททาลิว่า ท่านภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายช่วยกันทำจีวรกรรมนี้สำหรับพระผู้มีพระภาค ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคจะทรงใช้จีวรที่ทำสำเร็จแล้วเสด็จเที่ยวจาริกไปเป็น เวลา ๓ เดือน ท่านภัททาลิ เราขอเตือน ท่านจงใส่ใจความผิดนี้ไว้ให้ดีเถิด ทีหลัง ท่านอย่าได้ก่อความยุ่งยากอีกเลย ท่านพระภัททาลิรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษ ได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถ ใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทาน ศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อ ความสำรวมระวังต่อไปเถิด @เชิงอรรถ : @๑ สิกขา ในที่นี้หมายถึงอธิสีลสิกขา(การศึกษาอบรมในเรื่องศีล) อธิจิตตสิกขา(การศึกษาอบรมในเรื่องสมาธิ) @และอธิปัญญาสิกขา(การศึกษาอบรมในเรื่องปัญญา) (ที.สี.อ. ๑/๔๑๓/๓๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๑}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาเถิด ภัททาลิ โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็น คนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ (และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงรู้จักเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิเป็น ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดาให้บริบูรณ์ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า ภิกษุจำนวนมากเข้าจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้ภิกษุ เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ให้บริบูรณ์ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า ภิกษุณีจำนวนมากเข้าจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้ภิกษุณีเหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของ พระศาสดาให้บริบูรณ์ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า อุบาสกจำนวนมากอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้อุบาสก เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ให้บริบูรณ์ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า อุบาสิกาจำนวนมากอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้อุบาสิกา เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ให้บริบูรณ์ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ ภัททาลิ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า สมณพราหมณ์ต่างลัทธิจำนวนมากเข้า จำพรรษาในกรุงสาวัตถี แม้สมณพราหมณ์ต่างลัทธิเหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ภิกษุชื่อ ภัททาลิ สาวกของพระสมณโคดม เป็นพระเถระรูปหนึ่ง ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนา ของพระศาสดาให้บริบูรณ์ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง บัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของ ข้าพระองค์โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๒}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
ภัททาลิ เอาเถิด โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศ ความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทาน ศึกษาอยู่ [๑๓๖] ภัททาลิ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็น อุภโตภาควิมุต๑- เราจะพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุ เราจะก้าวไป ในหล่มด้วยกัน ภิกษุนั้นจะพึงก้าวไป หรือน้อมกายไปทางอื่น หรือจะพึงปฏิเสธ ไม่ปฏิเสธ พระพุทธเจ้าข้า เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นปัญญาวิมุต๒- เป็น กายสักขี๓- เป็นทิฏฐิปัตตะ๔- เป็นสัทธาวิมุต๕- เป็นธัมมานุสารี๖- เป็นสัทธานุสารี๗- เราจะพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มด้วยกัน ภิกษุนั้นจะพึงก้าวไป หรือน้อมกายไปทางอื่น หรือจะพึงปฏิเสธ ไม่ปฏิเสธ พระพุทธเจ้าข้า @เชิงอรรถ : @๑ อุภโตภาควิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้อรูปสมาบัติ และใช้สมถะเป็นพื้นฐานในการ @บำเพ็ญวิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖) @๒ ปัญญาวิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ จนบรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @๓ กายสักขี หมายถึงผู้มีศรัทธาแก่กล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย และอาสวะบางอย่างก็สิ้นไป @เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @๔ ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา @มีปัญญาแก่กล้า หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @๕ สัทธาวิมุต หมายถึงผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา @มีศรัทธาแก่กล้า หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒) @๖ ธัมมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผล @แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @๗ สัทธานุสารี คือผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้า บรรลุผลแล้ว @กลายเป็นสัทธาวิมุต (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๓}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เวลานั้น เธอเป็นอุภโตภาควิมุต เป็น ปัญญาวิมุต เป็นกายสักขี เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นสัทธาวิมุต เป็นธัมมานุสารี หรือ เป็นสัทธานุสารีบ้างไหม ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เวลานั้น เธอเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิด ใช่ไหม ใช่ พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง บัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของ ข้าพระองค์โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า ภัททาลิ เอาเถิด โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์ สมาทานศึกษาอยู่ แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับรู้โทษของเธอนั้น การที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตาม ธรรมจะสำรวมระวังต่อไปนี้ เป็นความเจริญในอริยวินัยผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์ [๑๓๗] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนา ของศาสดาให้บริบูรณ์ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ทางที่ดี เราควรพักอยู่ ณ เสนาสนะ เงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟางเถิด บางทีเราจะพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑- วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ มนุษย์๒- เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ @เชิงอรรถ : @๑ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา (ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความ @เป็นใหญ่) อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้ (ม.มู.อ. ๑/๑๔๖/๓๔๒, องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) @๒ ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (ม.มู.อ. ๑/๑๔๖/๓๔๒, องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๔}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อเธอหลีกออกไปอยู่อย่างนั้น ศาสดาก็ติเตียนได้ เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้ เทวดาก็ติเตียนได้ แม้ตนเอง ก็ติเตียนตนเองได้ เธอถูกศาสดาติเตียนบ้าง ถูกเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายติเตียนบ้าง ถูกเทวดาติเตียนบ้าง ตนเองติเตียนตนเองบ้าง ก็ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์ผู้บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์ [๑๓๘] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บำเพ็ญสิกขาใน ศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ทางที่ดี เราควรพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง บางทีเราจะพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ มนุษย์ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อเธอหลีกออกไปอยู่อย่างนั้น แม้ศาสดาก็ติเตียนไม่ได้ แม้เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนไม่ได้ แม้เทวดาก็ติเตียนไม่ได้ แม้ตนเองก็ติเตียนตนเองไม่ได้ เธออันศาสดาไม่ติเตียน เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ใคร่ครวญแล้วก็ไม่ติเตียน เทวดาไม่ติเตียน ตนเองติเตียนตนเองไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้ง ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ภิกษุนั้นสงัดจาก กามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิด จากวิเวกอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์ [๑๓๙] อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๕}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์ อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์ อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์วิชชา ๓ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑- ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ฯลฯ๒- เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๔ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ @๒ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๔ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๖}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น ไปตามกรรมว่า หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต ฯลฯ จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต ฯลฯ๑- จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เธอเห็น หมู่สัตว์ ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินี- ปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒- ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๓- ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์เหตุที่ทำให้ถูกข่มขี่และไม่ถูกข่มขี่ [๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุ ทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) อนึ่ง อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่ให้ภิกษุทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรม- วินัยนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) พระพุทธเจ้าข้า @เชิงอรรถ : @๑ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๕ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗-๑๘ ในเล่มนี้ @๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒ (กันทรกสูตร) หน้า ๓ ในเล่มนี้ @๓ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๖ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๗}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติ อยู่เนืองๆ เป็นผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติ นอกลู่นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเนืองๆ เป็น ผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่ อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์ เป็นการชอบที่ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจะ พิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไปโดยเร็ว ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยมิให้อธิกรณ์๑- นี้ระงับ ไปโดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๑] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเนืองๆ เป็นผู้มี อาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ยอมถอนตนออก กล่าวว่า ข้าพเจ้า จะทำตามความพอใจของสงฆ์ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเนืองๆ เป็นผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำ ภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม @เชิงอรรถ : @๑ อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่สงฆ์จะต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ (๑)วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับ @พระธรรมวินัย (๒)อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (ละเมิดสิกขาบท) (๓) อาปัตตาธิกรณ์ @การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะ @ต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน แต่ในที่นี้หมายถึงอนุวาทาธิกรณ์ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒, @ม.มู.อ. ๒/๒๒๒/๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๘}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ถอนตนออก กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตาม ความพอใจของสงฆ์ เป็นการชอบแล้ว ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของ ภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไปโดยเร็ว ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไป โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๒] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มี อาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าว ว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุ ทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่ นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอน ตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์ เป็นการชอบที่ท่านผู้ มีอายุทั้งหลายจะพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไปโดยเร็ว ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไป โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๓] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ยอมถอนตนออก กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุ ทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๕๙}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ถอนตนออก กล่าวว่า ข้าพเจ้า จะทำตามความพอใจของสงฆ์ เป็นการชอบแล้ว ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจง พิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไปโดยเร็ว ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไป โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้ [๑๔๔] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ถ้าเราทั้งหลาย จักข่มขี่ภิกษุนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) ด้วยตั้งใจว่า ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอประมาณของเธอนั้นอย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย บุคคลผู้เป็นมิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษผู้มีนัยน์ตาข้างเดียว พึงรักษา นัยน์ตาข้างเดียวนั้นไว้ด้วยตั้งใจว่า นัยน์ตาข้างเดียวของเขานั้น อย่าได้เสื่อมไปจาก เขาเลย แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำเนินชีวิตด้วย ศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ดำเนินชีวิต ด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพูด อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรัก พอประมาณ ถ้าเราทั้งหลายจักข่มขี่ภิกษุนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) ศรัทธา พอประมาณ ความรักพอประมาณของเธอ อย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย ภัททาลิ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุทั้งหลายข่มขี่ภิกษุบางรูปในธรรม- วินัยนี้ แล้วทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) อนึ่ง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ภิกษุทั้งหลาย ข่มขี่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ แล้วทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๖๐}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
อาสวัฏฐานิยธรรม [๑๔๕] ท่านพระภัททาลิทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่เมื่อก่อนสิกขาบทมีเพียงเล็กน้อย แต่ภิกษุจำนวนมากดำรงอยู่ในอรหัตตผล อนึ่ง อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่บัดนี้สิกขาบทมีเป็นอันมาก แต่ภิกษุจำนวนน้อย ดำรงอยู่ในอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลาย กำลังจะเสื่อม เมื่อสัทธรรม๑- กำลังจะอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่เป็นอันมาก แต่ภิกษุ จำนวนน้อยดำรงอยู่ในอรหัตตผล ศาสดาจะยังไม่บัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดอาสวัฏฐานิยธรรม๒- บางอย่างในสงฆ์ เมื่อเกิดอาสวัฏฐานิยธรรม บางอย่างในสงฆ์ ศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิย- ธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นหมู่ใหญ่ เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างจึงเกิดในสงฆ์ ศาสดาจะบัญญัติ สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นผู้เลิศ ด้วยลาภ ... ยังไม่เป็นผู้เลิศด้วยยศ ... ยังไม่เป็นพหูสูต๓- ... @เชิงอรรถ : @๑ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมอันดี หรือศาสนา มี ๓ ประการ คือ ปริยัติสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม และ @อธิคมสัทธรรม (วิ.อ. ๒/๔๓๘/๔๒๕) @๒ อาสวัฏฐานิยธรรม หมายถึงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ คือ การกล่าวร้ายผู้อื่น การฆ่า การจองจำ เป็นต้น @และทุกข์ใจในอบายชนิดต่างๆ รวมทั้งการล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ @(ม.ม.อ. ๒/๑๔๕/๑๑๕) @๓ เป็นพหูสูต ในที่นี้หมายถึงได้เรียนพุทธพจน์โดยตรงจากพระผู้มีพระภาค ตั้งอยู่ในฐานะ ขุนคลังปริยัติ @ในศาสนาของพระทศพล (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๑๙-๒๒๓/๒๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๖๑}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นรัตตัญญู เมื่อสงฆ์เป็นรัตตัญญู๑- อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างจึงเกิดในสงฆ์ ศาสดาจะบัญญัติ สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น [๑๔๖] ภัททาลิ สมัยใด เราแสดงธรรมบรรยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่ม แก่เธอทั้งหลาย สมัยนั้น เธอทั้งหลายยังมีจำนวนน้อย ภัททาลิ เธอยังระลึกถึงธรรม บรรยายนั้น ได้อยู่หรือ ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า ในการระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยเหตุอะไรเล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะข้าพระองค์มิได้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของ พระศาสดาให้บริบูรณ์เป็นเวลานานมาแล้วแน่ พระพุทธเจ้าข้า ภัททาลิ ความเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์นี้ จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ก็หามิได้ แต่เรากำหนดรู้ด้วยจิตจึงรู้จักเธอมานานแล้วว่า เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ โมฆบุรุษนี้ไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจ ไม่เอาใจจดจ่อ ไม่เงี่ยโสตสดับธรรม แต่เราก็จักแสดง ธรรมบรรยายเปรียบเทียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่มแก่เธออีก เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระภัททาลิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่าองค์คุณของภิกษุผู้เป็นเนื้อนาบุญ [๑๔๗] ภัททาลิ เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ชำนาญ ได้ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีแล้ว ครั้งแรกทีเดียวฝึกให้มันรู้เรื่องในการสวมบังเหียน เมื่อเขากำลังฝึกให้มันรู้เรื่องในการ สวมบังเหียน มันก็พยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ยังไม่เคย ฝึก ม้านั้นหมดพยศได้เพราะได้รับการฝึกบ่อยๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดย ลำดับ เมื่อม้าอาชาไนยพันธุ์ดีหมดพยศลงได้ เพราะได้รับการฝึกบ่อยๆ เพราะได้ @เชิงอรรถ : @๑ รัตตัญญู ในที่นี้เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีความ @หมายว่า รู้ราตรีนาน คือ บวชแล้วรู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อนพระสาวกทั้งหลาย @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๖๒}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๕. ภัททาลิสูตร
รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ คนฝึกม้าก็จะฝึกให้มันรู้เรื่องอื่นต่อไปอีก เช่น ฝึก เทียมแอก เมื่อเขากำลังฝึกให้มันรู้เรื่องในการเทียมแอก มันก็จะพยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ไม่เคยฝึก ม้านั้นหมดพยศลงได้เพราะได้รับการฝึก บ่อยๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีหมดพยศลงได้ เพราะได้รับการฝึกบ่อยๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ คนฝึกม้าก็จะ ฝึกให้มันรู้เรื่องอื่นต่อไปอีก คือ ๑. การเหยาะย่าง ๒. การวิ่งเป็นวงกลม ๓. การจรดกีบ ๔. การวิ่ง ๕. การใช้เสียงร้องให้เป็นประโยชน์ ๖. คุณสมบัติได้เป็นราชนิยม ๗. ความเป็นวงศ์พญาม้า ๘. ความว่องไวชั้นเยี่ยม ๙. การเป็นม้าชั้นเยี่ยม ๑๐. การเป็นม้าที่ควรแก่การชมเชยอย่างยิ่ง เมื่อคนฝึกม้าฝึกให้มันรู้เรื่องในความว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าควรแก่การชมเชยอย่างยิ่ง ม้านั้นก็จะพยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใด อย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ยังไม่เคยฝึก ม้านั้นหมดพยศลงได้เพราะได้รับการฝึกอยู่ บ่อยๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ ในการขี่ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีซึ่งหมด พยศลงนั้น คนฝึกม้าก็จะเพิ่มการฝึกให้มีคุณภาพ ให้มีกำลังขึ้น ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการนี้แล จึงเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่า เป็นราชพาหนะโดยแท้ แม้ฉันใด ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ควรแก่ของ ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ อันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นอเสขะ ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะอันเป็นอเสขะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๖๓}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]
๖. ลฏุกิโกปมสูตร
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาอันเป็นอเสขะ ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะอันเป็นอเสขะ ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะอันเป็นอเสขะ ๖. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะอันเป็นอเสขะ ๗. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติอันเป็นอเสขะ ๘. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นอเสขะ ๙. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณะอันเป็นอเสขะ ๑๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติอันเป็นอเสขะ๑- ภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ อันยอดเยี่ยมของโลก พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แลภัททาลิสูตรที่ ๕ จบ ๖. ลฏุกิโกปมสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยนางนกมูลไถ [๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ แคว้นอังคุตตราปะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม ทรงเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเข้าไปยังราวป่า แห่งหนึ่งเพื่อประทับพักผ่อนกลางวัน ได้ประทับนั่งพักกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๑/๒๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๖๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๕๐-๑๖๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=15 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2962&Z=3252 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=160 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=160&items=15 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=2782 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=160&items=15 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=2782 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i160-e1.php# https://suttacentral.net/mn65/en/sujato https://suttacentral.net/mn65/en/bodhi https://suttacentral.net/mn65/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]