บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒. ฉวิโสธนสูตร ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ [๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑๕}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๒. ฉวิโสธนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัด ว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๑- เธอทั้งหลายไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้านคำกล่าว ของภิกษุรูปนั้น ไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้ว พึงถามปัญหาว่า ท่านผู้มีอายุ โวหาร ๔ ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว โวหาร ๔ ประการ๒- อะไรบ้าง คือ ๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้ ท่านผู้มีอายุ โวหาร ๔ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ ประการนี้ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๓- บรรลุประโยชน์ตน๔- โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๕- หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ท่าน ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนเห็นแล้ว มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ กิเลสได้แล้วอยู่ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒, ๓ และ ๔ ข้อ ๑๙ (เทวทหสูตร) หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ @๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๓/๓๗๐ @๓ ปลงภาระได้แล้ว ในที่นี้หมายถึงปลงขันธภาระได้ ปลงกิเลสภาระได้ และปลงอภิสังขารภาระได้ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) @๔ บรรลุประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงบรรลุอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) @๕ สิ้นภวสังโยชน์แล้ว ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๗๗ (คณกโมคคัลลานสูตร) หน้า ๘๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑๖}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๒. ฉวิโสธนสูตร
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ในสิ่งที่ตนได้ฟังแล้ว ... ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ในสิ่งที่ตนได้ทราบแล้ว ... ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนได้รู้ มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลส ได้แล้วอยู่ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า สาธุ แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่าหลักการตรวจสอบอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ [๙๙] ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ๒. เวทนูปาทานขันธ์ ๓. สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขารูปาทานขันธ์ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑๗}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๒. ฉวิโสธนสูตร
ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่เป็นที่ตั้ง แห่งความชื่นใจ จึงรู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะ ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา ฯลฯ ข้าพเจ้ารู้แจ้งสัญญา ฯลฯ ข้าพเจ้ารู้แจ้งสังขาร ฯลฯ ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ความชื่นใจ จึงรู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะ ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในวิญญาณ และอนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นได้ ท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ได้ ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า สาธุ แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่าหลักการตรวจสอบธาตุ ๖ ประการ [๑๐๐] ท่านผู้มีอายุ ธาตุ ๖ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ธาตุ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) ๓. เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ(ธาตุลม) ๕. อากาสธาตุ(ธาตุคืออากาศ) ๖. วิญญาณธาตุ(ธาตุคือวิญญาณ) ท่านผู้มีอายุ ธาตุ ๖ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้ อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ ประการนี้ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑๘}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๒. ฉวิโสธนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่า ท่าน ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นปฐวีธาตุโดยความเป็นอัตตา และมิได้ยึดมั่นอัตตาที่ อาศัยปฐวีธาตุ จึงรู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะ ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่น ได้ ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นอาโปธาตุ ฯลฯ ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นเตโชธาตุ ฯลฯ ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นวาโยธาตุ ฯลฯ ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นอากาสธาตุ ฯลฯ ข้าพเข้ามิได้ยึดมั่นวิญญาณธาตุโดยความเป็นอัตตา และมิได้ยึดมั่นอัตตาอัน อาศัยวิญญาณธาตุ จึงรู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะ ความสละคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวิญญาณธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจ มั่นและความปักใจมั่นได้ ท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ จึง หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ ประการนี้ได้ ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า สาธุ แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่าหลักการตรวจสอบอายตนะ ๑๒ ประการ [๑๐๑] ท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑๙}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๒. ฉวิโสธนสูตร
อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. จักขุ(ตา)คู่กับรูป ๒. โสตะ(หู)คู่กับสัททะ(เสียง) ๓. ฆานะ(จมูก)คู่กับคันธะ(กลิ่น) ๔. ชิวหา(ลิ้น)คู่กับรส ๕. กายคู่กับโผฏฐัพพะ ๖. มโน(ใจ)คู่กับธรรมารมณ์ ท่านผู้มีอายุ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ ประการนี้ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่า ท่านผู้มี อายุ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะ ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง ความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ความอยาก ความยึดมั่น อุปาทาน และ อนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นในจักขุ ในรูป ในจักขุวิญญาณ และใน ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในโสตะ ในเสียง ในโสตวิญญาณ ฯลฯ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในฆานะ ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ ฯลฯ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ ฯลฯ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะ ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง ความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ความอยาก ความยึดมั่น อุปาทาน และ อนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ ท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็น อยู่อย่างนี้จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะภายในและอายตนะ ภายนอกอย่างละ ๖ ประการนี้ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๐}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๒. ฉวิโสธนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า สาธุ แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่าหลักการตรวจสอบเรื่องการถอนอนุสัย [๑๐๒] ท่านผู้มีอายุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงถอนอหังการ มมังการ และ มานานุสัย ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอกได้ด้วยดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่า ท่านผู้มี อายุ เมื่อก่อนที่ข้าพเจ้ายังครองเรือนอยู่ ยังเป็นผู้ไม่รู้ พระตถาคต หรือสาวก ของพระตถาคต ได้แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าได้สดับธรรมนั้นแล้ว จึงเกิด ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อมีศรัทธา ย่อมตระหนักว่า การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่อง อึดอัด เป็นทางแห่งธุลี การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง การที่ผู้ครองเรือนจะ ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ทาง ที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตเถิดสิกขาและสาชีพของภิกษุ ต่อมา ข้าพเจ้าละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกน ผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ข้าพเจ้า บวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้มีสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย คือ ๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มี ความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือรับเอา แต่สิ่งของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่สิ่งของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคน สะอาดอยู่ ๓. ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ คือ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๑}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๒. ฉวิโสธนสูตร
๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก ๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่ ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้ว ไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่ง เสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชม ยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี ๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่ อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่กาลเวลา ๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑- และภูตคาม๒- ๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๓- ๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่น ที่เป็นข้าศึกแก่กุศล ๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอมและเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว ๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่ ๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน ๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๔- ๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ @เชิงอรรถ : @๑-๒-๓-๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ ข้อ ๑๔ (เทวทหสูตร) หน้า ๒๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๒}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๒. ฉวิโสธนสูตร
๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี ๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย ๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ ๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร ๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา ๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน ๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร ๒๓. เว้นขาดจากการซื้อขาย ๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่อง ตวงวัด ๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง ๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันที เหมือนนกบินไป ณ ที่ใดๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์เช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน [๑๐๓] ข้าพเจ้านั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ... ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๓}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๒. ฉวีโสธนสูตร
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยอริยอินทรียสังวรเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ข้าพเจ้านั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะ แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ข้าพเจ้ากลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ข้าพเจ้านั้นละอภิชฌาในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ มีจิต ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัย ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา [๑๐๔] ข้าพเจ้านั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บั่นทอน กำลังปัญญา สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๔}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๓. สัปปุริสสูตร
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ข้าพเจ้านั้น น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อข้าพเจ้ารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ จึงถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัย๑- ในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอกได้ ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า สาธุ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่พิจารณาเห็นท่านผู้มีอายุเช่นท่านเป็นเพื่อนพรหมจารี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แลฉวิโสธนสูตรที่ ๒ จบ ๓. สัปปุริสสูตร ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ [๑๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๙ (มหาปุณณมสูตร) หน้า ๑๐๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๕}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๑๕-๑๒๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=12 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=166 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=166&items=12 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=1598 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=166&items=12 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=1598 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i166-e.php# https://suttacentral.net/mn112/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]