![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร ว่าด้วยอัจฉริยธรรมของพระพักกุลเถระ [๒๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระพักกุละพักอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่ออเจลกัสสปะ ผู้เป็นสหายเก่าของท่าน พระพักกุละเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ เข้าไปหาท่านพระพักกุละถึงที่อยู่ ได้สนทนา ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าว กับท่านพระพักกุละว่า ท่านพักกุละ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว ท่านพระพักกุละตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราบวชมา ๘๐ พรรษาแล้ว ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานั้น ท่านเสพเมถุนธรรม๑- มากี่ครั้ง ขอรับ กัสสปะผู้มีอายุ ท่านไม่ควรถามเราอย่างนี้ว่า ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานั้น ท่านเสพเมถุนธรรมมากี่ครั้ง ขอรับ แต่ท่านควรถามเราอย่างนี้ว่า ก็ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ กามสัญญาเคยเกิดขึ้นกับท่านกี่ครั้ง [๒๑๐] ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึก เลยว่ากามสัญญาเคยเกิดขึ้น @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (เทวทหสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๔๒}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่ามีกามสัญญาเคยเกิดขึ้นตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ (๑) ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกเลยว่า พยาบาทสัญญา ... วิหิงสาสัญญาเคยเกิดขึ้น ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่าพยาบาทสัญญา ... วิหิงสาสัญญาเคยเกิด ขึ้นตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคย ปรากฏ ของท่านพักกุละ (๒-๓) ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกเลยว่า กามวิตกเคยเกิดขึ้น ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่ากามวิตกเคยเกิดขึ้น ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ (๔) ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกเลยว่ามี พยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตกเคยเกิดขึ้น ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่าวิหิงสาวิตกเคยเกิดขึ้น ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ (๕-๖) [๒๑๑] ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึก ยินดีคหบดีจีวรเลย ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวรเลย ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ (๗) ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้จักการใช้มีด ตัดผ้าเป็นจีวรเลย ... (๘) ... เราไม่รู้จักการใช้เข็มเย็บจีวรเลย ... ไม่รู้จักการใช้เครื่องย้อมย้อมจีวรเลย ... ไม่รู้จักการเย็บจีวรที่ไม้สดึงเลย ... ไม่รู้จักการจัดทำจีวรของเพื่อนพรหมจารีเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๔๓}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
... ไม่รู้สึกยินดีกับกิจนิมนต์เลย ... ไม่รู้สึกเลยว่าเคยเกิดความคิดอย่างนี้ว่า ขอใครๆ พึงนิมนต์เราเถิด ... ไม่รู้จักการนั่งในละแวกบ้านเลย ... ไม่รู้จักการฉันในละแวกบ้านเลย ... ไม่รู้จักการถือนิมิตแห่งมาตุคามโดยอนุพยัญชนะ๑- เลย ... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่มาตุคามโดยที่สุดแม้คาถาสี่บาทเลย ... ไม่รู้จักการเข้าไปสู่สำนักของภิกษุณีเลย ... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่ภิกษุณีเลย ... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่สิกขมานาเลย ... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่สามเณรีเลย ... ไม่รู้จักการให้บรรพชาเลย ... ไม่รู้จักการให้อุปสมบทเลย ... ไม่รู้จักการให้นิสัยเลย ... ไม่รู้จักการใช้สามเณรเป็นอุปัฏฐากเลย ... ไม่รู้จักการสรงน้ำในเรือนไฟเลย ... ไม่รู้จักการใช้จุรณสรงน้ำเลย ... ไม่รู้จักยินดีการนวดเฟ้นตัวของเพื่อนพรหมจารีเลย ... ไม่รู้จักอาพาธอันเคยเกิดขึ้นแล้วโดยที่สุดแม้ชั่วขณะรีดนมโคเสร็จเลย ... ไม่รู้จักฉันยาโดยที่สุดแม้เท่าชิ้นสมอเลย ... ไม่รู้จักการนั่งพิงพนักพิงเลย ... ไม่รู้จักการนอนเลย ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้จักการนอนตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่า เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ (๙-๓๓) @เชิงอรรถ : @๑ ไม่รู้จักการถือนิมิตแห่งมาตุคามโดยอนุพยัญชนะ หมายความว่า พระเถระไม่เคยมองดูมาตุคามแล้ว @ยึดมั่นนิมิตในรูป (ม.อุ.อ. ๓/๒๑๑/๑๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๔๔}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้จักการ จำพรรษาในเสนาสนะใกล้บ้านเลย ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้จักการจำพรรษาในเสนาสนะใกล้บ้านตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่า เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่าน พักกุละ (๓๔) ท่านผู้มีอายุ เราเป็นผู้มีกิเลส ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้น ๗ วันเท่านั้น ในวันที่ ๘ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล ข้อที่ท่านพักกุละเป็นผู้มีกิเลส ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้น ๗ วันเท่านั้น ในวันที่ ๘ ก็ได้บรรลุอรหัตตผลนี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่ เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ (๓๕) [๒๑๒] ท่านพักกุละ ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย นี้เถิด อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว เมื่อบวชแล้วไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จึงเป็นอันว่า ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ ทั้งหลาย สมัยต่อมา ท่านพระพักกุละถือลูกดาลเข้าไปยังวิหารทุกๆ หลัง แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด วันนี้ จักเป็นวันปรินิพพานของเรา ท่านพระกัสสปะกล่าวว่า ข้อที่ท่านพักกุละถือลูกดาลเข้าไปยังวิหารทุกๆ หลัง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด วันนี้จักเป็นวันปรินิพพานของเรา เราทั้งหลายจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๔๕}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๕. ทันตภูมิสูตร
ครั้งนั้น ท่านพระพักกุละนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ท่านพระกัสสปะ กล่าวว่า ข้อที่ท่านพักกุละนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์นี้ เราทั้งหลายจะ จำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ ดังนี้แลพักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตรที่ ๔ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๔๒-๒๔๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=24 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5282&Z=5374 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=380 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=380&items=8 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=3514 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=380&items=8 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=3514 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i380-e.php# https://suttacentral.net/mn124/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]