ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕. สุนักขัตตสูตร
ว่าด้วยเจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร
[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต กรุงเวสาลี สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นจำนวนมากได้พยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของ พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑- เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรได้ฟังว่า “ภิกษุจำนวนมากได้พยากรณ์อรหัตตผล ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒, ๓ และ ๔ ข้อ ๑๙ (เทวทหสูตร) หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑- ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังว่า ‘ภิกษุจำนวนมากได้พยากรณ์ อรหัตตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป’ ภิกษุทั้งหลายผู้พยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้า พระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ แล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหล่านั้น ได้พยากรณ์อรหัตตผล โดยชอบ หรือว่ามีภิกษุบางพวกได้พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญตนว่าได้ บรรลุ พระพุทธเจ้าข้า” [๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุนักขัตตะ ภิกษุเหล่านั้นผู้พยากรณ์ อรหัตตผลในสำนักของเราว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ มีภิกษุบางพวกในศาสนานี้ได้พยากรณ์อรหัตตผลโดยถูกต้องทีเดียว แต่มีภิกษุ บางพวกในศาสนานี้ ได้พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญตนว่าได้บรรลุ สุนักขัตตะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายผู้พยากรณ์อรหัตตผลโดย ชอบเหล่านั้น ย่อมมีอรหัตตผลจริงทีเดียว ส่วนบรรดาภิกษุผู้พยากรณ์อรหัตตผล ด้วยความสำคัญตนว่าได้บรรลุเหล่านั้น ตถาคตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดง ธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น’ สุนักขัตตะ ในเรื่องนี้ ตถาคตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดงธรรมแก่ ภิกษุเหล่านั้น‘แต่ถ้าในธรรมวินัยนี้ มีโมฆบุรุษบางพวกแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความคิดในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น’ ก็จะเป็นอย่างอื่นไป” @เชิงอรรถ : @ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสม คือ เว้นโทษการนั่ง ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ไกล @เกินไป (๒) ใกล้เกินไป (๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

เจ้าสุนักขัตตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรม ภิกษุ ทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสเรื่องนี้ว่า [๕๗] “สุนักขัตตะ กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ๑- อะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สุนักขัตตะ กามคุณมี ๕ ประการนี้แล [๕๘] สุนักขัตตะ เป็นไปได้๒- ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจ ไปในโลกามิส๓- บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่ โลกามิสนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่โลกามิสนั้น คบแต่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๒ @ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ(เหตุ) ที่ให้เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) @ โลกามิส ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันเป็นเหยื่อล่อของวัฏฏะ @กามและโลก (ม.อุ.อ. ๓/๕๘/๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยว กับเรื่องอาเนญชสมาบัติ๑- ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคน ประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น เปรียบเหมือนคนที่จากบ้าน หรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมไปไม่นาน พึง ถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความสุขสบาย ทำมาหากินดี และมี อาพาธน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความสุขสบาย ทำมาหากินดี และมีอาพาธน้อยแก่เขา สุนักขัตตะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ คนนั้นพึงสนใจฟังบุรุษนั้น เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจรับรู้ คบบุรุษนั้น และถึงความปลื้มใจกับบุรุษนั้นใช่ไหม” “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” “สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้พึง เป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส สนทนาแต่เรื่องที่ เหมาะแก่โลกามิสนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่โลกามิสนั้น คบแต่ คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเกี่ยวกับ เรื่องอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคน ประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น บุรุษบุคคลนั้น บัณฑิตพึง ทราบว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากการเกี่ยวข้องกับอาเนญชสมาบัติ มีแต่น้อม ใจไปในโลกามิส [๕๙] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจ ไปในอาเนญชสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่ เหมาะแก่อาเนญชสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่อาเนญช- สมาบัตินั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมี ใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น @เชิงอรรถ : @ อาเนญชสมาบัติ หมายถึงสมาบัติอันไม่หวั่นไหว ได้แก่ สมาบัติ ๖ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน @ที่ ๑ ที่ ๒ (ม.อุ.อ. ๓/๕๙/๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

เปรียบเหมือนใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วแล้ว ไม่กลับเขียวสดขึ้นมาได้ แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้องในโลกามิสของบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติก็หลุดไป ฉันนั้น เหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความ เกี่ยวข้องกับโลกามิส มีแต่น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ’ [๖๐] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไป ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรอง ธรรมอันสมควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึง ความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึง ความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น ก้อนศิลาแตกออกเป็น ๒ เสี่ยงแล้ว ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิท ไม่ได้ แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติของบุคคลผู้มีใจน้อมไปใน อากิญจัญญายตนสมาบัติก็แตกไป ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้น บัณฑิตพึง ทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับอาเนญชสมาบัติ มีแต่ น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ’ [๖๑] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปใน เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น คบแต่คน ประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับ เรื่องอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น เปรียบเหมือนคน บริโภคโภชนะที่ถูกใจจนอิ่มหนำแล้วพึงหยุดเสีย สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ คนนั้นพึงมีความปรารถนา ในภัตนั้นบ้างไหม” “ไม่ปรารถนา พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร” “เพราะว่าภัตนั้นตนเองรู้สึกว่าเป็นของไม่น่ากินเสียแล้ว พระพุทธเจ้าข้า” “สุนักขัตตะ ความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ก็ถูกบุรุษบุคคล ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติคายได้แล้ว อย่างนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับ อากิญจัญญายตนสมาบัติ มีแต่น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ’ [๖๒] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไป ในนิพพานโดยชอบ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ สนทนาแต่เรื่องที่ เหมาะแก่นิพพานโดยชอบนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่นิพพาน โดยชอบนั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่ เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคน ประเภทนั้น เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้อง ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ถูกบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ ถอนขึ้นได้ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ มีแต่น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ’ [๖๓] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดอย่าง นี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อม งอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษ อันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เรื่องต่อไปนี้ มีเนื้อความดังนี้ ภิกษุนั้นพึงประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ๑- แห่งใจ อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ พึงประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตา @เชิงอรรถ : @ ไม่เป็นสัปปายะ ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดความเจริญ (ม.อุ.อ. ๓/๖๔/๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

เนืองๆ พึงประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนืองๆ พึงประกอบ การดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนืองๆ พึงประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็น สัปปายะทางลิ้นเนืองๆ พึงประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทาง กายเนืองๆ พึงประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนืองๆ เมื่อภิกษุนั้นประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนืองๆ ประกอบการฟัง เสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนืองๆ ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทาง จมูกเนืองๆ ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนืองๆ ประกอบการ ถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนืองๆ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์ อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนืองๆ แล้ว ราคะพึงครอบงำจิตได้ เธอมีจิตถูกราคะ ครอบงำแล้ว พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย เปรียบเหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศรที่อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผล แล้วใช้เครื่องตรวจหาลูกศร ตรวจพบลูกศรแล้วจึงถอนออก พึงกำจัดโทษคือพิษที่ ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่า ‘ไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่’ หมอผ่าตัดนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อหลง เหลือแล้ว ท่านพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ต้องรับประทานอาหารที่ไม่แสลง เมื่อท่าน จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่แสลง ก็อย่าถึงกับให้แผลต้องกำเริบ และท่านต้อง ล้างแผลตามเวลา ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อท่านล้างแผลและทายาสมาน แผลตามเวลา ก็อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดปิดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตาก ลมตากแดดเนืองๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมตากแดดเนืองๆ ก็อย่าให้ละอองหรือ สิ่งโสโครกถูกปากแผลได้ ท่านต้องรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะสมานกันดี’ บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘หมอถอนลูกศรให้เราแล้ว โทษคือพิษหมอก็ กำจัดจนไม่มีเชื้อหลงเหลือแล้ว เราพ้นขีดอันตรายแล้ว’ เขาจึงรับประทานอาหาร ที่แสลง เมื่อเขารับประทานอาหารที่แสลง แผลก็กำเริบ เขาไม่ล้างแผลตามเวลา และไม่ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อเขาไม่ล้างแผลและไม่ทายาสมานแผล ตามเวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ปิดปากแผล เขาเที่ยวตากลมตากแดดเนืองๆ เมื่อเขาเที่ยวตากลมตากแดดเนืองๆ ละอองและสิ่งโสโครกจึงถูกปากแผล เขาไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

คอยรักษาแผลอยู่ แผลจึงไม่สมานกัน เพราะการกระทำไม่ถูกต้องนี้ แผลจึง อักเสบได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) ไม่กำจัดโทษคือพิษอันเกิดจากความไม่ สะอาด (๒) ไม่กำจัดโทษคือพิษอันยังมีเชื้อหลงเหลืออยู่ไป เขามีแผลอักเสบ พึงถึง ความตายหรือทุกข์ปางตายได้ แม้ฉันใด สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมี ความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคือ อวิชชา ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เรื่องต่อไปนี้มีเนื้อความดังนี้ ภิกษุนั้นประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ แห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ พึงประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะ ทางตาเนืองๆ พึงประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนืองๆ พึง ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนืองๆ พึงประกอบการลิ้มรสอัน ไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนืองๆ พึงประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะ ทางกายเนืองๆ พึงประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนืองๆ เมื่อภิกษุนั้นเห็นรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนืองๆ ประกอบการฟังเสียงอันไม่ เป็นสัปปายะทางหูเนืองๆ ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนืองๆ ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนืองๆ ประกอบการถูกต้อง โผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนืองๆ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่ เป็นสัปปายะทางใจเนืองๆ แล้ว ราคะพึงครอบงำจิตได้ เธอมีจิตถูกราคะครอบงำแล้ว พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย สุนักขัตตะ นั่นเป็นความตายของภิกษุผู้บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ใน อริยวินัย ส่วนทุกข์นี้เป็นทุกข์ปางตายของภิกษุ ผู้ต้องอาบัติเศร้าหมองข้อใดข้อหนึ่ง [๖๔] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดอย่างนี้ ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาย่อมงอก งามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอัน เป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เมื่อภิกษุนั้นมีใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

น้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล เธอจึงไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่ เป็นสัปปายะแห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ไม่ประกอบการดูรูปอันไม่เป็น สัปปายะทางตาเนืองๆ ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนืองๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนืองๆ ไม่ประกอบการลิ้มรส อันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนืองๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็น สัปปายะทางกายเนืองๆ ไม่ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจ เนืองๆ เมื่อเธอไม่ประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนืองๆ ไม่ ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนืองๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอัน ไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนืองๆ ไม่ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้น เนืองๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนืองๆ ไม่ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนืองๆ แล้ว ราคะก็ ครอบงำจิตไม่ได้ เธอมีจิตไม่ถูกราคะครอบงำแล้ว จึงไม่พึงถึงความตายหรือทุกข์ ปางตาย เปรียบเหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศรที่อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผล แล้วใช้เครื่องตรวจหาลูกศร ตรวจพบลูกศรแล้วจึงถอนออก พึงกำจัดโทษคือพิษที่ ยังมีเชื้อเหลืออยู่ จนรู้ว่า ‘ไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่’ หมอผ่าตัดนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อหลง เหลือแล้ว ท่านพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ต้องรับประทานอาหารที่ไม่แสลง เมื่อท่าน จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่แสลง ก็อย่าถึงกับให้แผลต้องกำเริบ และท่านต้อง ล้างแผลตามเวลา ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อท่านล้างแผลและทายาสมาน แผลตามเวลา ก็อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดปิดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตาก ลมตากแดดเนืองๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมตากแดดเนืองๆ ก็อย่าให้ละอองหรือ สิ่งโสโครกถูกปากแผลได้ ท่านต้องรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะสมานกันดี’ บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘หมอถอนลูกศรให้เราแล้ว โทษคือพิษหมอก็ กำจัดจนไม่มีเชื้อหลงเหลือแล้ว เราพ้นขีดอันตรายแล้ว’ เขาจึงรับประทานอาหารที่ ไม่แสลง เมื่อเขารับประทานอาหารที่ไม่แสลง แผลก็ไม่อักเสบ เขาล้างแผลตาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

เวลา และทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อเขาล้างแผลและทายาสมานแผลตาม เวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ไม่ปิดปากแผล เขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดเนืองๆ เมื่อเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดเนืองๆ ละอองและสิ่งโสโครกจึงไม่ถูกปากแผล เขาคอยรักษาแผลอยู่จนปากแผลสมานหายสนิท เพราะการกระทำอย่างถูกต้องนี้ แผลจึงหายได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) กำจัดโทษคือพิษอันเกิดจากความ ไม่สะอาด (๒) กำจัดโทษคือพิษจนไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่ เพราะแผลหายแล้วเขา จึงมีผิวพรรณเรียบสนิท จึงไม่พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมี ความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคือ อวิชชาย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เมื่อภิกษุนั้นมีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล เธอจึงไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะแห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ไม่ประกอบการ ดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนืองๆ ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะ ทางหูเนืองๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนืองๆ ไม่ประกอบ การลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนืองๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่ เป็นสัปปายะทางกายเนืองๆ ไม่ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ ทางใจเนืองๆ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนืองๆ ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนืองๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอัน ไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนืองๆ ไม่ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้น เนืองๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนืองๆ ไม่ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนืองๆ แล้ว ราคะก็ ครอบงำจิตไม่ได้ เธอมีจิตไม่ถูกราคะครอบงำแล้ว จึงไม่พึงถึงความตายหรือ ทุกข์ปางตาย [๖๕] สุนักขัตตะ เพื่อให้รู้เนื้อความ เราจึงทำอุปมานี้ไว้ ในอุปมานี้มีเนื้อ ความดังต่อไปนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๕. สุนักขัตตสูตร

คำว่า ‘แผล’ นี้ เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ คำว่า ‘โทษคือพิษ’ นี้ เป็นชื่อของอวิชชา คำว่า ‘ลูกศร’ นี้ เป็นชื่อของตัณหา คำว่า ‘เครื่องตรวจ’ นี้ เป็นชื่อของสติ คำว่า ‘มีดผ่าตัด’ นี้ เป็นชื่อของอริยปัญญา๑- คำว่า ‘หมอผ่าตัด’ นี้ เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในผัสสายตนะ ๖ จึงรู้ดังนี้ว่า ‘อุปธิ๒- เป็นรากเง่าแห่งทุกข์” จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ หลุดพ้นแล้วในธรรมเป็นที่สิ้น ไปแห่งอุปธิ๓- จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ๔- เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม สมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์ด้วยรส แต่เจือด้วยยาพิษ ต่อมาบุรุษผู้รักชีวิตยังไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์มาพบเข้า สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็ม เปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งที่รู้ว่า ‘ดื่มแล้วจะต้องตายหรือทุกข์ปางตาย’ บ้างไหม” “ไม่ดื่ม พระพุทธเจ้าข้า” “สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมใน ผัสสายตนะ ๖ รู้ดังนี้ว่า ‘อุปธิเป็นรากเง่าแห่งทุกข์ ฯลฯ’ เปรียบเหมือน ต่อมาบุรุษผู้รักชีวิตยังไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มา พบอสรพิษมีพิษร้ายแรงเข้า @เชิงอรรถ : @ อริยปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญาอันบริสุทธิ์ (ม.อุ.อ. ๓/๖๕/๓๗) @ อุปธิ ในที่นี้หมายถึงกิเลส (ม.อุ.อ. ๓/๖๕/๓๗) @ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ม.อุ.อ. ๓/๖๕/๓๗) @ อุปธิ ในที่นี้หมายถึงกามคุณ (ม.อุ.อ. ๓/๖๕/๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๖. อาเนญชสัปปายสูตร

สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือ หัวแม่มือให้แก่อสรพิษตัวมีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งที่รู้ว่า ‘ถูกอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงกัด แล้วจะต้องตายหรือทุกข์ปางตาย’ บ้างไหม” “ไม่ยื่น พระพุทธเจ้าข้า” “สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมใน ผัสสายตนะ ๖ รู้ดังนี้ว่า ‘อุปธิเป็นรากเง่าแห่งทุกข์’ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ หลุดพ้นแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรมีใจยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สุนักขัตตสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๖๑-๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=67              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=67&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=869              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=67&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=869                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i067-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i067-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.105.than.html https://suttacentral.net/mn105/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :