![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. สุริยสูตร
๑๐. สุริยสูตร ว่าด้วยสุริยเทพบุตร [๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น สุริยเทพบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับตัวไว้ ครั้งนั้น สุริยเทพบุตรระลึกถึง พระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง ข้าพระองค์ตกอยู่ในภาวะคับขัน ขอพระองค์จงเป็นสรณะแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด๑- ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทพบุตร ได้ตรัสกับอสุรินทราหู ด้วยพระคาถาว่า สุริยเทพบุตรถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์เป็นสรณะ ราหู ท่านจงปล่อยสุริยเทพบุตรเสียเถิด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์โลก สุริยเทพบุตรเป็นผู้ส่องแสง ทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ท่านอย่าอมสุริยเทพบุตรผู้เที่ยวไปในอากาศเลย ราหู ท่านจงปล่อยสุริยเทพบุตรผู้เป็นบุตรของเราเสียเถิด ลำดับนั้น อสุรินทราหูปล่อยสุริยเทพบุตรแล้วก็เร่งรีบเข้าไปหาท้าวเวปจิตติ จอมอสูรถึงที่อยู่ เป็นผู้เศร้าสลดใจ เกิดขนพองสยองเกล้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบคาถาข้อ ๙๐ หน้า ๙๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๙๗}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับอสุรินทราหูผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ด้วยคาถาว่า ราหู ทำไมท่านจึงรีบปล่อยสุริยเทพบุตรเสียเล่า ทำไมท่านจึงเศร้าสลดใจ มายืนกลัวอยู่เล่า อสุรินทราหูกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยสุริยเทพบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตก ๗ เสี่ยง มีชีวิตอยู่ก็จะไม่ได้รับความสุขเลย๑-สุริยสูตรที่ ๑๐ จบ วรรคที่ ๑ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ปฐมกัสสปสูตร ๒. ทุติยกัสสปสูตร ๓. มาฆสูตร ๔. มาคธสูตร ๕. ทามลิสูตร ๖. กามทสูตร ๗. ปัญจาลจัณฑสูตร ๘. ตายนสูตร ๙. จันทิมสูตร ๑๐. สุริยสูตร @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบคาถาข้อ ๙๐ หน้า ๙๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๙๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๙๗-๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=91 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=1577&Z=1609 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=246 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=246&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2721 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=246&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2721 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i221-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn2.10/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]