ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๖. ธนุคคหสูตร
ว่าด้วยการจับลูกธนู
[๒๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ... “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู ๔ คน ผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อมมาดียืนอยู่ในทิศทั้ง ๔ ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า ‘เราจักจับ ลูกธนูที่นายขมังธนู ๔ คน ผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อม มาดียิงมาจากทิศทั้ง ๔ ไม่ให้ตกถึงพื้นดินนำมา’ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้น ว่าอย่างไร ควรจะกล่าวได้ไหมว่า ‘บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่าง ยอดเยี่ยม” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงแต่บุรุษจับลูกธนูที่นายขมังธนูคนเดียวผู้ยิงธนู แม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อมมาดียิงมา ไม่ให้ตกถึงพื้นดิน นำมา เท่านั้น ก็ควรกล่าวได้ว่า ‘บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่างยอดเยี่ยม’ ไม่จำต้องกล่าวถึงนายขมังธนูทั้ง ๔ คนผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญ ช่ำชองฝึกซ้อมมาดีเลย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๑๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต]

๗. อาณิสูตร

“เปรียบเหมือนความเร็วของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เร็วกว่าความเร็วของ บุรุษนั้น ความเร็วของเทวดาที่ไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เร็วกว่าความเร็ว ของบุรุษและของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ฉะนั้น เปรียบเหมือนอายุสังขารสิ้นไปเร็วยิ่งกว่าความเร็วของบุรุษ ความเร็วของดวง จันทร์และดวงอาทิตย์ ความเร็วของเทวดาที่ไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เหล่านั้น ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ธนุคคหสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๑๖-๓๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=222              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=7027&Z=7045                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=670              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=670&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5487              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=670&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5487                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i662-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn20/sn20.006.than.html https://suttacentral.net/sn20.6/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :