ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๐. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย
[๑๒๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่ หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย ขอรับ” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการอัน ภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น (บังคับไม่ได้) เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๑๐/๑๒๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๑๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๐. สีลวันตสูตร

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นไป ได้ที่อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุผู้มีศีลมนสิการโดยแยบคาย โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล” “ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นโสดาบันควรมนสิการโดย แยบคาย ขอรับ” “ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไป ได้ที่ภิกษุผู้เป็นโสดาบันมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งสกทาคามิผล” “ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุแม้ผู้เป็นสกทาคามีควรมนสิการโดย แยบคาย ขอรับ” “ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นสกทาคามี ก็ควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไป ได้ที่ภิกษุผู้เป็นสกทาคามีมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งอนาคามิผล” “ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอนาคามีควรมนสิการโดยแยบคาย ขอรับ” “ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นอนาคามีก็ควร มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไปได้ที่ ภิกษุผู้เป็นอนาคามีมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งอรหัตตผล” “ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอรหันต์ควรมนสิการโดย แยบคาย ขอรับ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๑๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๑. สุตวันตสูตร

“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นอรหันต์ก็ควร มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา ท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มี แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ อนึ่ง ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ”
สีลวันตสูตรที่ ๑๐ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๑๕-๒๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=122              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3721&Z=3764                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=310              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=310&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8031              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=310&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8031                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i300-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.122.than.html https://suttacentral.net/sn22.122/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :