ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๘. ปิณโฑลยสูตร
ว่าด้วยการเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพ
[๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์เพราะ เหตุบางอย่างแล้ว เวลาเช้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๒๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหาร เสร็จแล้ว เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อประทับพักผ่อนกลางวัน ครั้นเสด็จถึงแล้ว ได้ ประทับนั่ง ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงว่า “เราเองได้ขับไล่ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ในภิกษุเหล่านี้ มีพวกภิกษุใหม่บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นเราก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไป เหมือนลูกโคน้อยๆ เมื่อไม่เห็นแม่ก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไปฉะนั้น และ เหมือนพืชที่ยังอ่อนๆ ขาดน้ำพึงเหี่ยวเฉาไปฉะนั้น ทางที่ดี เราพึงอนุเคราะห์ ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยอนุเคราะห์มาแล้วในครั้งก่อนๆ เถิด” ขณะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ ของตนแล้วจึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้า เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางพระผู้มีพระภาคกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็น อย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ใน ภิกษุเหล่านี้ มีพวกภิกษุใหม่บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ เมื่อภิกษุ เหล่านั้น ไม่เห็นพระผู้มีพระภาคก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไป เหมือนลูกโคน้อยๆ เมื่อไม่เห็นแม่ก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไปฉะนั้น และเหมือนพืชที่ยังอ่อนๆ ขาดน้ำพึงเหี่ยวเฉาไปฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคโปรดชื่นชมภิกษุสงฆ์ โปรดพร่ำสอน ภิกษุสงฆ์ โปรดอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยอนุเคราะห์มาแล้ว ในครั้งก่อนๆ เถิด พระพุทธเจ้าข้า”๑- พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาแล้วจึงถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ แล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นนั่นเอง ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น ได้เสด็จเข้าไปยัง นิโครธาราม ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ทรงบันดาลด้วยอิทธาภิสังขาร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.ม. ๑๓/๑๕๘-๑๕๙/๑๗๘-๑๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๒๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

ให้ภิกษุเหล่านั้นเกรงกลัวเข้าไปเฝ้าทีละรูปบ้าง สองรูปบ้าง ต่างถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุทุศีลเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพนี้เป็นการกระทำที่ ต่ำทราม การที่ภิกษุทุศีลประพฤติเช่นนี้ ย่อมถูกชาวโลกด่าว่า ‘เจ้าคนนี้อุ้มบาตร เที่ยวขอชาวโลกมาเลี้ยงชีพ’ กุลบุตรต่างเป็นผู้ตระหนักในเหตุ อาศัยความตระหนักในเหตุจึงเข้ามาใช้ชีวิต เที่ยวขอก้อนข้าวนี้ มิใช่ถูกพระราชารับสั่งให้นำไปจองจำ มิใช่ถูกพวกโจรนำไปกักขัง มิใช่เป็นลูกหนี้ มิใช่ตกอยู่ในห้วงอันตราย มิใช่จะยึดเป็นอาชีพ แท้ที่จริง กุลบุตร เหล่านั้นเข้ามาบวชด้วยเหตุผลว่า ‘พวกเราต่างถูกชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ทับถม ครอบงำ จมปลักอยู่ในทุกข์ สาละวนอยู่กับทุกข์ ทำอย่างไรเล่า การทำที่สุดแห่ง กองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏได้’ กุลบุตรนี้เป็นผู้บวชด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมาแล้วนี้ แต่แล้วกุลบุตรนั้นกลับ เกิดความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตพยาบาท คิดประทุษร้าย ลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกระสับกระส่าย ไม่สำรวมอินทรีย์ บุคคลผู้เสื่อมจากโภคะของคฤหัสถ์ และไม่สามารถบำเพ็ญประโยชน์สำหรับ ความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ได้ เราเรียกว่า เป็นเหมือนท่อนไม้ที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ไฟไหม้ทั้ง ๒ ข้าง ตรงกลางเปื้อนคูถ ย่อมไม่อำนวยประโยชน์เป็นเครื่องเรือน๑- ทั้งไม่อำนวยประโยชน์เป็นอุปกรณ์ในป่า๒- ภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการ คือ ๑. กามวิตก (ความตรึกในกาม) ๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในพยาบาท) ๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียน) @เชิงอรรถ : @ หมายถึงนำไปใช้เป็นกลอน เสา และบันไดที่คดเป็นต้นก็ไม่ได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๕/๓๖๗) @ หมายถึงนำไปใช้เป็นเสาของกระท่อมในนา หรือเป็นขาเตียงก็ไม่ได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๕/๓๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

อกุศลวิตก ๓ ประการนี้ดับไม่เหลือที่ไหน คือ เมื่อบุคคลมีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ประการ หรือเจริญอนิมิตต- สมาธิ อกุศลวิตก ๓ ประการ ย่อมดับโดยไม่เหลือ อนิมิตตสมาธิควรแท้ที่ บุคคลจะเจริญ อนิมิตตสมาธิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ ๒ ประการนี้ คือ ๑. ภวทิฏฐิ (ความเห็นในภพ) ๒. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นในวิภพ) อริยสาวกผู้ได้สดับพิจารณาเห็นในทิฏฐิ ๒ ประการนั้นเช่นนี้ว่า ‘เรายึดถือ สิ่งใดอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นมีอยู่ในโลกบ้างไหม’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรา ยึดถือสิ่งใดอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นไม่มีในโลกเลย ก็เราเมื่อยึดถือ พึงยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั่นเอง เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จึงมีด้วย ประการอย่างนี้’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข” “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๒๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยง หรือไม่เที่ยง” ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ปิณโฑลยสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๒๕-๑๒๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=80              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=2042&Z=2110                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=165              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=165&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7204              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=165&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7204                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i149-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.080.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.080.wlsh.html https://suttacentral.net/sn22.80/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.80/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :