ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๔. ปมาทวิหารีสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท
[๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความ ประมาทและภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง ทางตา เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปราโมทย์ ปีติ (ความอิ่มใจ) ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ก็ไม่มี เมื่อ ไม่มีปัสสัทธิ ภิกษุนั้นย่อมอยู่ลำบาก จิตของเธอผู้อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิต ไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลาย๑- ก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ เธอย่อม นับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุไม่สำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งทาง ลิ้น เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ฯลฯ เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งหลาย หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (สํ.สฬา.อ. ๓/๙๗/๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๐๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๕. สังวรสูตร

เมื่อภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ทางใจ เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปราโมทย์ ปีติก็ไม่มี เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อไม่มีปัสสัทธิ เธอย่อมอยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้ อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรม ทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาทเป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง ทางตา เมื่อเธอมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบาย ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไป ฯลฯ เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ เมื่อเธอมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อเกิด ปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นอย่างนี้แล”
ปมาทวิหารีสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๐๗-๑๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=77              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=1973&Z=2004                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=143              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=143&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=755              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=143&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=755                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i128-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.097.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn35-097.html https://suttacentral.net/sn35.97/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.97/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :