ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

๓. โลกันตคมนสูตร
ว่าด้วยการถึงที่สุดแห่งโลก
[๑๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก๑- บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก๒- แล้ว จะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้” ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษากันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทส๓- นี้โดย ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วย การไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้” ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา ทรงสรรเสริญแล้วและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะ จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้ โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง @เชิงอรรถ : @ โลก ในที่นี้หมายถึงโลกจักรวาล (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๑๖/๓๘) @ โลก ในที่นี้หมายถึงสังขารโลก (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๑๖/๓๘) @ อุทเทส หมายถึงบทมาติกาหรือหัวข้อธรรม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๕/๓๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๓๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร เมื่อ พระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกกระผมจึงได้ปรึกษากันว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรา ไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าว ว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความ ไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนก เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา ทรงสรรเสริญแล้วและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะ จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้ โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’ ขอท่านอานนท์จงจำแนกเถิด” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะ หน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามผม เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นมีอยู่ ก็มองข้ามรากและลำต้น ไปเสีย สำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนแสวงหา ผู้มีอายุทั้งหลาย แท้จริง พระ ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ๑- มีพระญาณ มีพระธรรม๒- เป็นผู้ประเสริฐ๓- @เชิงอรรถ : @ มีพระจักษุ หมายถึงมีพระปัญญาจักษุโดยทรงเป็นผู้นำของชาวโลกในการเห็นธรรมด้วยพระสยัมภูญาณ @(องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๘) @ มีพระธรรม หมายถึงทรงแสดงธรรมให้ปริยัติธรรมเป็นไปได้ หรือทรงให้โพธิปักขิยธรรม (ธรรมอันเป็น @ฝ่ายแห่งการตรัสรู้) ๓๗ ประการ ได้แก่ (๑) สติปัฏฐาน ๔ (๒) สัมมัปปธาน ๔ (๓) อิทธิบาท ๔ @(๔) อินทรีย์ ๕ (๕) พละ ๕ (๖) โพชฌงค์ ๗ (๗) มรรคมีองค์ ๘ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๘) @ เป็นผู้ประเสริฐ หมายถึงการบรรลุพระสยัมภูญาณแล้ว แสดงอริยธรรมแก่ชาวโลก @(องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

ตรัสบอกได้๑- ทรงให้เป็นไปได้๒- ทรงแสดงประโยชน์๓- ประทานอมตธรรม๔- เป็นเจ้าของ ธรรม๕- เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แล เป็นเวลาสมควรที่ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ พึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรง แสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคตทรงรู้ธรรม ที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แลเป็นเวลาสมควรที่พวกกระผมพึงเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ และทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระ ผู้มีพระภาคทรงตอบแก่พวกกระผมอย่างแน่นอน ท่านอานนท์เองพระศาสดาทรง สรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ถ้าท่านอานนท์ไม่มีความหนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าว เรื่องนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อ ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วย การไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร @เชิงอรรถ : @ ตรัสบอกได้ หมายถึงตรัสบอกอริยสัจ ๔ ได้ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙) @ ทรงให้เป็นไปได้ หมายถึงตรัสบอกให้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙) @ ทรงแสดงประโยชน์ หมายถึงทรงให้สรรพสัตว์พ้นจากความทุกข์ ความบีบคั้นโดยให้บรรลุพระนิพพาน @อันเป็นประโยชน์ยอดเยี่ยม (องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙) @ ประทานอมตธรรม หมายถึง ทรงแสดงข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุ เพื่อรู้แจ้งอมตธรรมแก่สรรพสัตว์ @(องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙) @ เป็นเจ้าของธรรม หมายถึงเป็นเจ้าของพระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ @(องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๑๑๓-๑๑๖/๔๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๓๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลมีความ หมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยธรรมใด นี้เรียกว่าโลกในอริยวินัย บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยธรรมอะไรเล่า คือ บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยจักขุ ... ด้วย โสตะ ... ด้วยฆานะ บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยชิวหา ... ด้วยกาย บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายในโลกว่าเป็นโลกด้วยมโน ผู้มี อายุทั้งหลาย เหตุที่บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลก นี้เรียกว่า โลกในอริยวินัย ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง อยู่พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่านทั้งหลายพึง ทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด” ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้วลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคของข้าพระองค์ทั้งหลาย ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคล พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารเสด็จลุกขึ้นจาก พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๓๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใคร หนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน อานนท์นี้แลพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และ ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน อานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’ ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถาม เนื้อความดังนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากเธอทั้งหลายจะพึงถามเนื้อความนี้กับเรา ถึงเราเองก็พึงตอบเนื้อความนั้น อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น และเธอ ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
โลกันตคมนสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๓๐-๑๓๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=96              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=2411&Z=2502                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=169              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=169&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=821              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=169&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=821                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i165-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn35.116/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.116/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :