บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค _____________ ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๑. มัคคสังยุต ๑. อวิชชาวรรค หมวดว่าด้วยอวิชชา ๑. อวิชชาสูตร ว่าด้วยอวิชชา [๑] ข้าพเจ้า๑- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) เป็นประธานแห่งการเข้าถึงอกุศลธรรม ทั้งหลาย อหิริกะ (ความไม่ละอายบาป) อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป) ก็มี ตามมาด้วย @เชิงอรรถ : @๑ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้หมายถึงพระอานนท์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๒. อุปัฑฒสูตร
๑. ผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้งย่อมมีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. ผู้มีมิจฉาทิฏฐิย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ๓. ผู้มีมิจฉาสังกัปปะย่อมมีมิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. ผู้มีมิจฉาวาจาย่อมมีมิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ๕. ผู้มีมิจฉากัมมันตะย่อมมีมิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. ผู้มีมิจฉาอาชีวะย่อมมีมิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. ผู้มีมิจฉาวายามะย่อมมีมิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. ผู้มีมิจฉาสติย่อมมีมิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ภิกษุทั้งหลาย วิชชา๑- (ความรู้แจ้ง) เป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย หิริ (ความละอายบาป) และโอตตัปปะ (ความเกรงกลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย ๑. ผู้มีวิชชาเห็นแจ้งย่อมมีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. ผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมมีสัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. ผู้มีสัมมาสังกัปปะย่อมมีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. ผู้มีสัมมาวาจาย่อมมีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. ผู้มีสัมมากัมมันตะย่อมมีสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. ผู้มีสัมมาอาชีวะย่อมมีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. ผู้มีสัมมาวายามะย่อมมีสัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. ผู้มีสัมมาสติย่อมมีสัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)๒-อวิชชาสูตรที่ ๑ จบ ๒. อุปัฑฒสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นพรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง [๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของเจ้าศากยะ ชื่อว่าสักกระ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ @เชิงอรรถ : @๑ วิชชา ในที่นี้หมายถึงกัมมัสสกตาญาณ (สํ.ม.อ. ๓/๑-๒/๑๗๙) @๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๐๕/๒๔๗-๒๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑-๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=1 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=1&Z=25 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3875 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3875 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i001-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn45/sn45.001.than.html https://suttacentral.net/sn45.1/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.1/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]