บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค ๓. ทูเตยยสูตร
๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๔ ๑. เขตตวัตถุสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่นา และที่ดิน [๑๑๖๑] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ รับเรือกสวน ไร่นา และที่ดินมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่นา และที่ดินมีจำนวนมากกว่า ฯลฯเขตตวัตถุสูตรที่ ๑ จบ ๒. กยวิกกยสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการซื้อการขาย [๑๑๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ ซื้อขายมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการซื้อขายมีจำนวนมากกว่า ฯลฯกยวิกกยสูตรที่ ๒ จบ ๓. ทูเตยยสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทน ฯ [๑๑๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสารมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสารมีจำนวนมากกว่า ฯลฯทูเตยยสูตรที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๕๐}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค ๖-๑๑. เฉทนาทิสูตร
๔. ตุลากูฏสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ฯ [๑๑๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการโกง ด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัดมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาด จากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัดมีจำนวนมากกว่า ฯลฯตุลากูฏสูตรที่ ๔ จบ ๕. อุกโกฏนสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับสินบน ฯ [๑๑๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ รับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลงมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจาก การรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลงมีจำนวนมากกว่า ฯลฯอุกโกฏนสูตรที่ ๕ จบ ๖-๑๑. เฉทนาทิสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการตัดเป็นต้น [๑๑๖๖-๑๑๗๑] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจาก การตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการกรรโชกมี จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิง วิ่งราว การปล้น และการกรรโชกมีจำนวนมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ ประการ อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๕๑}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเฉทนาทิสูตรที่ ๖-๑๑ จบ จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๑๐ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. เขตตวัตถุสูตร ๒. กยวิกกยสูตร ๓. ทูเตยยสูตร ๔. ตุลากูฏสูตร ๕. อุกโกฏนสูตร ๖. เฉทนสูตร ๗. วธนสูตร ๘. พันธนสูตร ๙. วิปราโมสสูตร ๑๐. อาโลปสูตร ๑๑. สหสาการสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๕๒}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๒. มนุสสจุติติรัจฉานสูตร
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค หมวดว่าด้วยปัญจคติเปยยาล ๑. มนุสสจุตินิรยสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก [๑๑๗๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อยแล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจ ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยนี้ที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมา กับแผ่นดินใหญ่นี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์ ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบ เคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดใน หมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์แล้วไปเกิดในนรกมีจำนวนมากกว่า ฯลฯมนุสสจุตินิรยสูตรที่ ๑ จบ ๒. มนุสสจุติติรัจฉานสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน [๑๑๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับ มาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์แล้วไปเกิดในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานมีจำนวนมากกว่า ฯลฯมนุสสจุติติรัจฉานสูตรที่ ๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๕๓}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร
๓. มนุสสจุติเปตติวิสยสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต [๑๑๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายที่จุติจาก มนุษย์แล้วกลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์แล้วไป เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯมนุสสจุติเปตติวิสยสูตรที่ ๓ จบ ๔-๖. มนุสสจุติเทวนิรยาทิสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น [๑๑๗๕-๑๑๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก มนุษย์แล้วไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯมนุสสจุติเทวนิรยาทิสูตรที่ ๔-๖ จบ ๗-๙. เทวจุตินิรยาทิสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรกเป็นต้น [๑๑๗๘-๑๑๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดา มาเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯเทวจุตินิรยาทิสูตรที่ ๗-๙ จบ ๑๐-๑๒. เทวมนุสสนิรยสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากเทวดามาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรก ฯ [๑๑๘๑-๑๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดา มาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯเทวมนุสสนิรยสูตรที่ ๑๐-๑๒ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๕๔}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร
๑๓-๑๕. นิรยมนุสสนิรยาทิสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากนรกมาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรกเป็นต้น [๑๑๘๔-๑๑๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรก มาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯนิรยมนุสสนิรยาทิสูตรที่ ๑๓-๑๕ จบ ๑๖-๑๘. นิรยเทวนิรยาทิสูตร ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น [๑๑๘๗-๑๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรก ไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯนิรยเทวนิรยาทิสูตรที่ ๑๖-๑๘ จบ ๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉานที่จุติมาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรกเป็นต้น [๑๑๙๐-๑๑๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวน มากกว่า ฯลฯติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตรที่ ๑๙-๒๑ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๕๕}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร
๒๒-๒๔. ติรัจฉานเทวนิรยาทิสูตร ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉานที่จุติไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น [๑๑๙๓-๑๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่ง เปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯติรัจฉานเทวนิรยาทิสูตรที่ ๒๒-๒๔ จบ ๒๕-๒๗. เปตติมนุสสนิรยาทิสูตร ว่าด้วยเปรตที่จุติมาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรกเป็นต้น [๑๑๙๖-๑๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิ แห่งเปรตมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดใน นรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯเปตติมนุสสนิรยาทิสูตรที่ ๒๕-๒๗ จบ ๒๘-๒๙. เปตติเทวนิรยาทิสูตร ว่าด้วยเปรตที่จุติไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น [๑๑๙๙-๑๒๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิ แห่งเปรตไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดใน นรกมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดใน หมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานมีจำนวนมากกว่า ฯลฯเปตติเทวนิรยาทิสูตรที่ ๒๘-๒๙ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๕๖}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาล ๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร วรรครวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร ว่าด้วยเปรตที่จุติไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในภูมิแห่งเปรต [๑๒๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรต ไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตกลับมาเกิดในภูมิ แห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ประการ อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แลเปตติเทวเปตติวิสยสูตรที่ ๓๐ จบ ปัญจคติเปยยาลวรรคที่ ๑๑ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. มนุสสจุตินิรยสูตร ๒. มนุสสจุติติรัจฉานสูตร ๓. มนุสสจุติเปตติวิสยสูตร ๔-๖. มนุสสจุติเทวนิรยาทิสูตร ๗-๙. เทวจุตินิรยาทิสูตร ๑๐-๑๒. เทวมนุสสนิรยสูตร ๑๓-๑๕. นิรยมนุสสนิรยาทิสูตร ๑๖-๑๘. นิรยเทวนิรยาทิสูตร ๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร ๒-๒๔. ติรัจฉานเทวนิรยาทิสูตร ๒๕-๒๗. เปตติมนุสสนิรยาทิสูตร ๒๘-๒๙. เปตติเทวนิรยาทิสูตร ๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตรสัจจสังยุตที่ ๑๒ จบ มหาวรรคที่ ๕ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๕๗}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาล รวมสังยุตที่มีในมหาวารวรรค
รวมสังยุตที่มีในมหาวารวรรคนี้ คือ ๑. มัคคสังยุต ๒. โพชฌังคสังยุต ๓. สติปัฏฐานสังยุต ๔. อินทริยสังยุต ๕. สัมมัปปธานสังยุต ๖. พลสังยุต ๗. อิทธิปาทสังยุต ๘. อนุรุทธสังยุต ๙. ฌานสังยุต ๑๐. อานาปานสังยุต ๑๑. โสตาปัตติสังยุต ๑๒. สัจจสังยุตมหาวารวรรคสังยุต จบ สังยุตตนิกาย จบบริบูรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๕๘}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๖๕๐-๖๕๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=444 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=11105&Z=18106 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1786 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1786&items=18 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8478 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1786&items=18 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8478 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn56/sn56.102-113.than.html https://suttacentral.net/sn56.91/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.92/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.93/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.94/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.95/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.96-101/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.102/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.103/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.104/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.105-107/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.108-110/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.111-113/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.114-116/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.117-119/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.120-122/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.123-125/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.126-128/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.129-130/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.131/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]