บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๓. จุนทสูตร ว่าด้วยจุนทสมณุทเทส [๓๗๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้าน นาฬกคาม แคว้นมคธ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก อนึ่ง จุนทะ สมณุทเทส๒- เป็นผู้ปรนนิบัติท่าน ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั้นแล ทีนั้น จุนทะ สมณุทเทสจึงถือบาตรและจีวรของท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึง @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๔๕-๑๔๗/๙๐-๙๒ @๒ จุนทะ สมณุทเทส (สามเณรจุนทะ) เป็นน้องชายคนเล็กของท่านพระสารีบุตร ขณะเป็นสามเณร @พวกภิกษุเรียกท่านว่า จุนทะ สมณุทเทส จนติดปาก เมื่อเป็นพระเถระแล้วก็ยังเรียกเหมือนเดิม @(สํ.ม.อ. ๓/๓๗๙/๒๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๓๒}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๓. จุนทสูตร
พระเชตวัน ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ท่าน สารีบุตรปรินิพพานแล้ว ขอรับ นี้บาตรและจีวรของท่าน ท่านพระอานนท์กล่าวว่า จุนทะ มูลเรื่องนี้ให้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด จุนทะ พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลเรื่องนี้ จุนทะ สมณุทเทสรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว ต่อมา ท่านพระอานนท์และจุนทะ สมณุทเทส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จุนทะ สมณุทเทสนี้ได้กล่าวอย่าง นี้ว่า ท่านสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ร่างกายของข้าพระองค์อ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา ข้าพระองค์รู้สึกมืดทุกด้าน แม้ธรรมก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เพราะได้ฟังว่า ท่านสารีบุตรปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า อานนท์ สารีบุตรพาเอาสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๑- ปรินิพพานไปด้วยหรือ ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า มิใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ท่านสารีบุตร ไม่ได้พาเอาสีลขันธ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย แต่ท่าน สารีบุตรได้เป็นผู้ให้โอวาท ชักนำให้รู้ ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง เอาใจใส่ในการแสดงธรรม อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารี ข้าพระองค์ทั้งหลายระลึกถึงโอชะแห่งธรรม โภคธรรม และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้นของท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ เราได้บอกเรื่องนั้นไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจ ทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป เมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ยืนต้นอยู่ ต้นที่ใหญ่กว่า @เชิงอรรถ : @๑ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญาที่เป็นขันธ์ระดับโลกิยะและโลกุตตระ @ส่วนวิมุตติขันธ์ หมายถึงวิมุตติที่เป็นขันธ์ระดับโลกุตตระอย่างเดียว และวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ @หมายถึง ปัจจเวกขณญาณที่เป็นขันธ์ระดับโลกิยะอย่างเดียว (สํ.ม.อ. ๓/๓๗๙/๒๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๓๓}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๔. อุกกเจลสูตร
พึงโค่นลง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ผู้เป็นหลักยังดำรงอยู่ สารีบุตร ปรินิพพานแล้วก็ฉันนั้น ฉะนั้น จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็น ที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็น เกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล อานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปก็ดี จักมีตน เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษาจุนทสูตรที่ ๓ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๓๒-๒๓๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=143 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=4280&Z=4326 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=733 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=733&items=8 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6242 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=733&items=8 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6242 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn47/sn47.013.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn47/sn47.013.nypo.html https://suttacentral.net/sn47.13/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.13/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]