ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ที่เกิดสับลำดับกัน
[๕๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขินทรีย์ ๒. โทมนันสินทรีย์ ๓. สุขินทรีย์ ๔. โสมนัสสินทรีย์ ๕. อุเปกขินทรีย์ เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ทุกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และทุกขินทรีย์นั้น มีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกขินทรีย์นั้นซึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๑๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]

๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร

ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดทุกขินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งทุกขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งทุกขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่ เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขที่เกิดจากวิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่ เหลือในปฐมฌานนี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งทุกขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ โทมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘โทมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ โทมนัสสินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลย ที่โทมนัสสินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จัก เกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความดับ แห่งโทมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งโทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มี ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในทุติยฌานนี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น อย่างนั้น เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ สุขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และสุขินทรีย์นั้น มีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่สุขินทรีย์นั้นซึ่ง ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดสุขินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งสุขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งสุขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่ง สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๑๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค[๔. อินทริยสังยุต]

๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร

สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในตติยฌานนี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งสุขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ โสมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ โสมนัสสินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่ โสมนัสสินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งโสมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความ ดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในจตุตถฌานนี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น อย่างนั้น เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ อุเปกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘อุเปกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ อุเปกขินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่ อุเปกขินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดอุเปกขินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๒๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]

๔. สุขินทริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการ ทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับ ไม่เหลือในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น อย่างนั้น”
อุปปฏิปาฏิกสูตรที่ ๑๐ จบ
สุขินทริยวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุทธิกสูตร ๒. โสตาปันนสูตร ๓. อรหันตสูตร ๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๖. ปฐมวิภังคสูตร ๗. ทุติยวิภังคสูตร ๘. ตติยวิภังคสูตร ๙. กัฏโฐปมสูตร ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๒๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๑๘-๓๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=221              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=5605&Z=5668                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=956              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=956&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6937              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=956&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6937                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/maha/sn48-040.html https://suttacentral.net/sn48.40/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :