ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]

๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร

๕. สัมมัปปธานสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น
[๖๕๑-๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑- ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้ สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้ แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๑ (อวิชชาสูตร) หน้า ๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๖๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]

๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุเมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ ๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
(คังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุตพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธาน)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]

๒. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๒. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร
(อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธาน)
อัปปมาทวรรคที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]

๓. พลกรณียวรรค ๑-๑๒. พลกรณียาทิสูตร

๓. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลกรณียาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น
[๖๗๓-๖๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วย กำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก อย่างนี้แล”
พลกรณียาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
(พลกรณียวรรคพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธานอย่างนี้)
พลกรณียวรรคที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]

๓. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]

๔. เอสนาวรรค ๑-๑๐. เอสนาทิสุตตทสกะ

๔. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๐. เอสนาทิสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีเอสนาสูตรเป็นต้น
[๖๘๕-๖๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้ การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ ๓. การแสวงหาพรหมจรรย์ การแสวงหา ๓ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ ประการนี้ สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ ประการนี้” (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
เอสนาวรรคที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]

๔. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร ๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร ๑๑. ตสินาสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๖๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]

๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๖๙๕-๗๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ ๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ ๕. อวิชชา อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๖๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]

๕. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้” (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร ๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
สัมมัปปธานสังยุตที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๖๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๖๐-๓๖๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=253              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=6306&Z=6369                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1090              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1090&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7129              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1090&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7129                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/maha/sn49-024.html https://suttacentral.net/sn49.1-12/en/sujato https://suttacentral.net/sn49.13-22/en/sujato https://suttacentral.net/sn49.23-34/en/sujato https://suttacentral.net/sn49.35-44/en/sujato https://suttacentral.net/sn49.45-54/en/sujato https://suttacentral.net/sn49.55-66/en/sujato https://suttacentral.net/sn49.67-76/en/sujato https://suttacentral.net/sn49.77-88/en/sujato https://suttacentral.net/sn49.89-98/en/sujato https://suttacentral.net/sn49.99-108/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :