บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑๐. เจติยสูตร ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปาวาลเจดีย์ [๘๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน เขต กรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระ กระยาหารเสร็จแล้ว ได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า อานนท์ เธอจงถือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๘๕}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร
ผ้านิสีทนะ๑- เราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์เพื่อพักผ่อนกลางวัน ท่านพระอานนท์ ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้อง พระปฤษฎางค์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธ- อาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายท่านพระอานนท์ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า อานนท์ กรุงเวสาลี น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็น่ารื่นรมย์ อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลใดบุคคลหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำ ให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว บุคคลนั้นเมื่อปรารถนา ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัป๒- หรือมากกว่ากัป อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อปรารถนาก็จะมี ชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง โอภาสที่ชัดเจนอย่างนี้ ท่าน พระอานนท์ก็ไม่อาจรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัป ขอ พระสุคตโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งนี้เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ @เชิงอรรถ : @๑ ผ้านิสีทนะ ในที่นี้หมายถึงท่อนหนังสำหรับใช้เป็นผ้ารองนั่ง (สํ.ม.อ. ๓/๘๒๒/๓๒๗) @๒ กัป ในที่นี้หมายถึงอายุกัปของมนุษย์ที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ (สํ.ม.อ. ๓/๘๒๒/๓๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๘๖}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร
น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็น่า รื่นรมย์ อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลใดบุคคลหนึ่งเจริญ ทำให้มาก ทำ ให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว บุคคลนั้นเมื่อปรารถนา ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง ก็จะ มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง โอภาสที่ชัดเจนอย่างนี้ ท่าน พระอานนท์ก็ไม่อาจรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัป ขอพระสุคต โปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความ สุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งนี้เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า ไปเถิด อานนท์ เธอจงกำหนดเวลาอันสมควรในบัดนี้ ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้ว นั่งที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ครั้นเมื่อท่านพระอานนท์จากไปไม่นาน มารผู้มีบาปก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ ภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรายัง ไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๘๗}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร
ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก๑- แสดง๒- บัญญัติ๓- กำหนด๔- เปิดเผย๕- จำแนก๖- ทำให้ง่าย๗- ไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับวาท๘- ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยชอบธรรมไม่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน แล้วก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปริพพานในบัดนี้เถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน แล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้ @เชิงอรรถ : @๑ บอก หมายถึงกล่าวคำเริ่มต้น แสดงคำเริ่มต้น (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @๒ แสดง หมายถึงการให้อุทเทส (คำเริ่มต้น) จบลง (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @๓ บัญญัติ หมายถึงประกาศให้รู้ถึงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้โดยประการต่างๆ ตามที่ยกแสดงไว้ @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @๔ กำหนด หมายถึงการให้เนื้อความนั้นดำเนินไปโดยประการต่างๆ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @๕ เปิดเผย หมายถึงการชี้แจงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้ โดยการวกกลับมาอธิบายซ้ำอีก @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @๖ จำแนก หมายถึงการจำแนกประเด็นที่เปิดแล้ว (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @๗ ทำให้ง่าย หมายถึงการแสดงประเด็นที่จำแนกไว้ให้ชัดเจนด้วยการชี้เหตุและยกอุทาหรณ์ต่างๆ มาประกอบ @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @๘ ปรับปวาท ในที่นี้หมายถึงวาทะ หรือลัทธิต่างๆ ของเจ้าลัทธิอื่นนอกพระพุทธศาสนา @(ที.ม.ฏีกา ๓๗๔/๓๗๕, ขุ.ม.อ. ๓๑/๒๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๘๘}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มี พระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ ของตนแล้ว ก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ฯลฯ ตราบ เท่าที่อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระ ภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ ของตนแล้ว ก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรม ได้ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานใน บัดนี้เถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า มารผู้ มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่พรหมจรรย์๑- นี้ของเรายังไม่บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายประกาศได้แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรหมจรรย์นี้ของพระผู้มีพระภาคบริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้แล้ว @เชิงอรรถ : @๑ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงศาสนพรหมจรรย์ คือ คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นที่สงเคราะห์เข้า @ในไตรสิกขา (สํ.ม.อ. ๓/๘๒๒/๓๓๐, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๘๙}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เมื่อมารทูลอาราธนาอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบดังนี้ว่า มารผู้ มีบาป เธอจงอย่ากังวลเลย อีกไม่นานการปรินิพพานของตถาคตจักมี จากนี้ ไป(เพียง) ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงพระชนมายุสังขาร๑- ณ ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดิน ไหวครั้งใหญ่ น่าสะพรึงกลัว ให้เกิดขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทาน นี้ในเวลานั้นว่า มุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้ อันเป็นเหตุก่อกำเนิดเป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว ยินดีภายในตน มีใจมั่งคง ทำลายกิเลสที่เกิดในตนได้ เหมือนนักรบทำลายเกราะเสีย ฉะนั้น๒-เจติยสูตรที่ ๑๐ จบ ปาวาลวรรคที่ ๑ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อปารสูตร ๒. วิรัทธสูตร ๓. อริยสูตร ๔. นิพพิทาสูตร ๕. อิทธิปเทสสูตร ๖. สมัตตสูตร ๗. ภิกขุสูตร ๘. พุทธสูตร ๙. ญาณสูตร ๑๐. เจติยสูตร @เชิงอรรถ : @๑ ปลงพระชนมายุสังขาร หมายถึงสลัดปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ ตกลงพระทัยอย่างมีสติมั่นคง และกำหนด @รู้ด้วยพระปัญญาว่าจะปรินิพพาน (สํ.ม.อ. ๓/๘๒๒/๓๓๐, ที.ม.อ. ๑๖๙/๑๕๙, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๗) @๒ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๖-๑๖๙/๑๑๒-๑๑๖, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๗๐/๓๗๒-๓๗๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๙๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๘๕-๓๙๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=264 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=6549&Z=6637 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1123 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1123&items=13 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7153 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1123&items=13 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7153 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn51.10/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]