ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. กัปปสหัสสสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. กัปปสหัสสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ระลึกได้ตั้ง ๑,๐๐๐ กัป
[๙๐๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ฯลฯ๑- เรียนถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหนที่ท่าน อนุรุทธะเจริญ ทำให้มากแล้ว” ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญา มาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ผม ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมระลึกได้ตั้ง ๑,๐๐๐ กัป เพราะ สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
กัปปสหัสสสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๙๐๑ (สุตนุสูตร) หน้า ๔๓๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๔. เจโตปริยสูตร

๒. อิทธิวิธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง
[๙๑๐] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมแสดงฤทธิ์ ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ๑- ใช้อำนาจทางกายไป จนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
อิทธิวิธสูตรที่ ๒ จบ
๓. ทิพพโสตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มีหูทิพย์
[๙๑๑] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ก็เพราะ สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ทิพพโสตสูตรที่ ๓ จบ
๔. เจโตปริยสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ได้เจโตปริยญาณ
[๙๑๒] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมกำหนดรู้ใจของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคล เหล่าอื่นได้ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ๒- จิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิต ยังไม่หลุดพ้น ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
เจโตปริยสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๘๒๓ (ปุพพสูตร) หน้า ๓๙๒ ในเล่มนี้ @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๘๒๓ (ปุพพสูตร) หน้า ๓๙๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๘. นานาธาตุสูตร

๕. ฐานสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดฐานะและอฐานะ
[๙๑๓] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดย เป็นอฐานะตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ฐานสูตรที่ ๕ จบ
๖. กัมมสมาทานสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรม
[๙๑๔] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมทั้งที่เป็น อดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
กัมมสมาทานสูตรที่ ๖ จบ
๗. สัพพัตถคามินีสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวง
[๙๑๕] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความ เป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
สัพพัตถคามินีสูตรที่ ๗ จบ
๘. นานาธาตุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดโลกที่มีธาตุแตกต่างกัน
[๙๑๖] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิดและมีธาตุ แตกต่างกันตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
นานาธาตุสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑๑. ฌานาทิสูตร

๙. นานาธิมุตติสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดหมู่สัตว์ที่มีอัธยาศัยต่างกัน
[๙๑๗] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดว่า หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างกันตาม ความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
นานาธิมุตติสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อินทริยปโรปริยัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดความแก่อ่อนแห่งอินทรีย์
[๙๑๘] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดว่า สัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่น มีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
อินทริยปโรปริยัตตสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. ฌานาทิสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดความเศร้าหมองแห่งฌานเป็นต้น
[๙๑๙] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ สมาบัติตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ฌานาทิสูตรที่ ๑๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑๔. อาสวักขยสูตร

๑๒. ปุพเพนิวาสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ระลึกชาติก่อนได้
[๙๒๐] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ชาติ ๑ บ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑- ผมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ ชีวประวัติอย่างนี้ ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ปุพเพนิวาสสูตรที่ ๑๒ จบ
๑๓. ทิพพจักขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มีตาทิพย์
[๙๒๑] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(ตาย)และกำลัง อุบัติ(เกิด)ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นไปตาม อำนาจกรรม ฯลฯ๒- ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์อย่างนี้ ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ทิพพจักขุสูตรที่ ๑๓ จบ
๑๔. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้สิ้นอาสวะ
[๙๒๒] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะสติ- ปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
อาสวักขยสูตรที่ ๑๔ จบ
ทุติยวรรคที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๘๒๓ (ปุพพสูตร) หน้า ๓๙๒ ในเล่มนี้ @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๘๒๓ (ปุพพสูตร) หน้า ๓๙๓-๓๙๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]

๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กัปปสหัสสสูตร ๒. อิทธิวิธสูตร ๓. ทิพพโสตสูตร ๔. เจโตปริยสูตร ๕. ฐานสูตร ๖. กัมมสมาทานสูตร ๗. สัพพัตถคามินีสูตร ๘. นานาธาตุสูตร ๙. นานาธิมุตติสูตร ๑๐. อินทริยปโรปริยัตตสูตร ๑๑. ฌานาทิสูตร ๑๒. ปุพเพนิวาสสูตร ๑๓. ทิพพจักขุสูตร ๑๔. อาสวักขยสูตร
อนุรุทธสังยุตที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๔๒-๔๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=297              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=7458&Z=7557                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1285              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1285&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7461              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1285&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7461                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn52.11/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.12/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.13/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.14/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.15/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.16/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.17/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.18/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.19/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.20/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.21/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.22/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.23/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.24/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :