ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๕. ปปาตวรรค ๕. วาลสูตร

๕. วาลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยปลายขนทราย
[๑๑๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ จีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ได้เห็นลิจฉวีกุมารจำนวนมากฝึกยิงลูกศรอยู่ใน สัณฐาคารให้เข้าทางช่องดาลเล็กๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด จึงคิดดังนี้ ว่า “ลิจฉวีกุมารเหล่านี้ฝึกแล้วหนอ ฝึกดีแล้วหนอ ที่ยิงลูกศรให้เข้าทางช่องดาล เล็กๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด” ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลีแล้ว กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ได้เห็นลิจฉวีกุมารจำนวนมากฝึกยิงลูกศรอยู่ในสัณฐาคาร ให้เข้าทางช่องดาลเล็กๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด จึงคิดดังนี้ ว่า ‘ลิจฉวีกุมารเหล่านี้ฝึกแล้วหนอ ฝึกดีแล้วหนอ ที่ยิงลูกศรให้เข้าทางช่องดาล เล็กๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ผู้ที่ยิงลูกศรให้เข้าทางช่องดาลเล็กๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด หรือผู้ที่ ใช้ปลายขนทรายซึ่งแบ่งเป็น ๗ เสี่ยง แทงเข้าที่ปลายขนทราย อย่างไหนทำได้ยาก กว่าหรือเกิดได้ยากกว่ากัน” “ผู้ที่ใช้ปลายขนทรายซึ่งแบ่งเป็น ๗ เสี่ยง แทงเข้าที่ปลายขนทรายนี้แล ทำได้ยากกว่า และเกิดได้ยากกว่า พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ ที่แท้เหล่าชนผู้แทงตลอดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ ชื่อว่าแทงตลอดสิ่งที่แทงตลอดได้ยากกว่า อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็น จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
วาลสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๖๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=425              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=10650&Z=10675                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1737              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1737&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8375              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1737&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8375                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn56/sn56.045.than.html https://suttacentral.net/sn56.45/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.45/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :