ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๐. ปังสุโธวกสูตร
ว่าด้วยคนล้างฝุ่นล้างทอง
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ทองมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบ คือ ดินร่วน ทราย ก้อนกรวด และกระเบื้อง คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ร่อนทอง นั้นในรางน้ำแล้ว ล้างซ้ำหลายๆ ครั้ง เมื่อสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบนั้นถูก ทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ทองยังคงมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างกลาง คือ ก้อนกรวด อย่างละเอียด ทรายอย่างหยาบ คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ล้างทองนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ซ้ำหลายๆ ครั้ง เมื่อสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างกลางนั้นถูกทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ทองยังมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างละเอียด คือ ทรายอย่างละเอียด และสะเก็ด กะลำพัก คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ล้างทองนั้นซ้ำหลายๆ ครั้ง เมื่อ สิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างละเอียดนั้นถูกทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ก็ยังคงเหลือเขม่า ทองอยู่อีก ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ใส่ทองลงในเบ้าหลอม เป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าอีก เป่าจนได้ที่ ทองนั้นก็ยังไม่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน ยังไม่หาย กระด้าง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่ายและใช้งานได้ไม่ดี ช่างทอง หรือลูกมือของช่างทองเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าอีก เป่าจนได้ที่ในสมัยใด สมัยนั้น ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้วเป่าอีก ถูกเป่าจนได้ที่ ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน หมดความกระด้าง เป็นของอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่อง ไม่แตกง่าย ใช้งานได้ดี เขามุ่ง หมายจะทำเครื่องประดับชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง เครื่องประดับชนิดนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ กายทุจริต(ความประพฤติชั่ว ด้วยกาย) วจีทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) มโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย ใจ)ของภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละบรรเทา อุปกิเลสอย่างหยาบนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาดทำให้สิ้นไป แล้ว อุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก(ความตรึกในทางกาม) พยาบาทวิตก(ความ ตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในความเบียดเบียน)ของภิกษุผู้บำเพ็ญ อธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละ บรรเทาอุปกิเลสอย่างกลางนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาด ทำให้สิ้นไปแล้ว อุปกิเลสอย่าง ละเอียด คือ ความนึกคิดถึงชาติ ความนึกคิดถึงชนบท และความนึกคิดที่ประกอบ ด้วยความไม่ดูหมิ่นของภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละ บรรเทาอุปกิเลสอย่างละเอียดนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาด ทำให้สิ้นไปแล้ว ก็ยังมีธรรมวิตกเหลืออยู่ สมาธินั้นยังไม่สงบ ไม่ประณีต ไม่ได้ ความสงบระงับ ยังไม่บรรลุภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ยังมีการข่มห้ามกิเลสด้วย ธรรมเครื่องปรุงแต่งอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย มีสมัย๑- ที่จิตตั้งมั่นอยู่ภายใน สงบนิ่งอยู่ มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง ผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ สมาธินั้นเป็นธรรมสงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ถึงภาวะที่จิต เป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีการข่มห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง และภิกษุนั้นจะน้อม จิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เมื่อ มีเหตุแห่งสติ๒- เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงใน แผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวง อาทิตย์อันมีฤทธ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้” เมื่อมีเหตุแห่งสติ๒- เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อม บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือ ปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๓- ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความ เป็นผู้เหมาะที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ @เชิงอรรถ : @ สมัย ในที่นี้หมายถึงกาลที่ได้รับสัปปายะ (ความเหมาะสม) ๕ ประการ คือ อุตุสัปปายะ อาหารสัปปายะ @เสนาสนะสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ และธัมมัสสวนสัปปายะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๒/๒๕๔) @ เหตุแห่งสติ ในที่นี้คือฌานที่เป็นบาท (ปุพพเหตุ) แห่งอภิญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๒/๑๕๔) @ มหัคคตะ แปลว่า ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงจิตที่ถึงฌานสมาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ บ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า “ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุข ทุกข์ และ มีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลาย ชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุ ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(เคลื่อน) กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึง รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ เห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น ชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด ในสุคติโลกสวรรค์ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้ เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ
ปังสุโธวกสูตรที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๔๑-๓๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=146              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6647&Z=6732                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=541              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=541&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5892              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=541&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5892                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i532-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.100.01-10.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/03/an03-102.html https://suttacentral.net/an3.101/en/sujato https://suttacentral.net/an3.101/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :