ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๕. ปัญญัตติสูตร
ว่าด้วยการบัญญัติสิ่งที่เลิศ
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย บัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้ บัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. จรวรรค ๖. โสขุมมสูตร

๑. บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพใหญ่ ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นเลิศ ๒. บรรดากามโภคีบุคคล๑- พระเจ้ามันธาตุเป็นเลิศ ๓. บรรดาบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ มารผู้มีบาปเป็นเลิศ ๔. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ภิกษุทั้งหลาย บัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้แล บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพใหญ่ ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นเลิศ บรรดากามโภคีบุคคล พระเจ้ามันธาตุเป็นเลิศ บรรดาบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ มารเป็นเลิศ พระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทั่วภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งชั้นบน ชั้นกลาง และชั้นต่ำ
ปัญญัตติสูตรที่ ๕ จบ
๖. โสขุมมสูตร
ว่าด้วยโสขุมมญาณ
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย โสขุมมญาณ๒- (ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้ลักษณะละเอียด) ๔ ประการนี้ โสขุมมญาณ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ กามโภคีบุคคล หมายถึงคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ในที่นี้หมายถึงพระเจ้ามันธาตุผู้บริโภคกามคุณ ๕ ทั้งที่ @เป็นทิพย์และเป็นของมนุษย์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๕/๒๙๓) @ โสขุมมญาณ หมายถึงญาณที่เป็นเครื่องกำหนดรู้ลักษณะละเอียด เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖/๒๙๔, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๖/๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๖-๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=419&Z=431                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=15              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=15&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6777              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=15&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6777                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i011-e.php#sutta5 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i011-e2.php#sutta5 https://suttacentral.net/an4.15/en/sujato https://suttacentral.net/an4.15/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :