ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อสุรวรรค ๓. ทุติยสมาธิสูตร

๓. ทุติยสมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ สูตรที่ ๒
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความเห็น แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้ง ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความ เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ควรตั้งมั่นในความสงบแห่งจิตภายใน แล้วทำ ความเพียรเพื่อความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน ควรตั้งมั่นในความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วทำความเพียรเพื่อความสงบ แห่งจิตภายใน สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง และได้ความสงบแห่งจิตภายใน บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา อันยิ่ง ควรทำความพอใจ๑- ความพยายาม๒- ความอุตสาหะ๓- ความขะมัก @เชิงอรรถ :- @ ความพอใจ แปลจากคำว่า ฉันทะ หมายถึงกัตตุกัมยตาฉันทะ คือ ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ @(ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้ ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายชั่ว) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๓/๓๖๗) @ ความพยายาม แปลจากคำว่า วายามะ หมายถึงความเพียรพยายาม (ปโยคะ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๓/๓๖๗) @ ความอุตสาหะ แปลจากคำว่า อุสสาหะ หมายถึงความเพียรที่ยิ่งกว่าความเพียรพยายาม (วิริยะ) @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๓/๓๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อสุรวรรค ๔. ตติยสมาธิสูตร

เขม้น๑- ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่า นั้นเถิด บุคคลนั้นทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอยให้มีประมาณยิ่ง สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้นๆ สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและความเห็นแจ้งธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ทุติยสมาธิสูตรที่ ๓ จบ
๔. ตติยสมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ สูตรที่ ๓
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความเห็น แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง @เชิงอรรถ : @ ความขะมักเขม้น แปลจากคำว่า อุสโสฬหี หมายถึงความเพียรอย่างหนัก (มหาวิริยะ) เปรียบเหมือน @การยกเกวียนขึ้นจากหล่ม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๓/๓๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๔๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๔๑-๑๔๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=93              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=2535&Z=2565                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=93              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=93&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8471              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=93&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8471                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i091-e.php#sutta3 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i091-e2.php#sutta3 https://suttacentral.net/an4.93/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :