ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. โสตสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของช้างต้นที่เชื่อฟัง
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ ๑. เป็นสัตว์เชื่อฟัง ๒. เป็นสัตว์ฆ่าได้ ๓. เป็นสัตว์รักษาได้ ๔. เป็นสัตว์อดทนได้ ๕. เป็นสัตว์ไปได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค ๑๐. โสตสูตร

ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟัง เป็นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยหูฟังเหตุการณ์ที่ ควาญช้างให้ทำ คือเหตุการณ์ที่เคยทำหรือไม่เคยทำ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ เชื่อฟัง เป็นอย่างนี้แล (๑) ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้ เป็นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ฆ่าช้างบ้าง ฆ่าควาญช้างบ้าง ฆ่าม้าบ้าง ฆ่าคนขี่ม้าบ้าง ทำลายรถบ้าง ฆ่าพลรถบ้าง ฆ่าพลเดินเท้าบ้าง ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้ เป็นอย่างนี้แล (๒) ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้ เป็นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว รักษากายส่วนหน้า รักษากาย ส่วนหลัง รักษาเท้าหน้า รักษาเท้าหลัง รักษาศีรษะ รักษาหู รักษางา รักษางวง รักษาหาง รักษาควาญช้าง ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้ เป็นอย่างนี้แล (๓) ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้ เป็นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว อดทนต่อการประหาร ด้วยหอก ดาบ ลูกศร ง้าว เสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และมโหระทึกที่กระหึ่ม ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้ เป็นอย่างนี้แล (๔) ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้ เป็นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ไปสู่ทิศที่ควาญช้างไสไป คือทิศที่เคยไป หรือ ทิศที่ยังไม่เคยไปได้โดยเร็วพลัน ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้ เป็นอย่างนี้แล (๕) ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้างควร แก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค ๑๐. โสตสูตร

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้เชื่อฟัง ๒. เป็นผู้ฆ่าได้ ๓. เป็นผู้รักษาได้ ๔. เป็นผู้อดทนได้ ๕. เป็นผู้ไปได้ ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟัง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรมในเมื่อผู้อื่น แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟัง เป็นอย่างนี้แล (๑) ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ฯลฯ ไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับ วิหึงสาวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป๑- ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้ เป็นอย่างนี้แล (๒) ภิกษุเป็นผู้รักษาได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน มนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุเป็นผู้รักษาได้ เป็นอย่างนี้แล (๓) @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๗/๔๓๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว กระหาย อดทนต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน อดทนต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่างๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่าง กายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ เป็นอย่างนี้แล (๔) ภิกษุเป็นผู้ไปได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปตลอดระยะเวลาอันยาวนานนี้ คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน ภิกษุเป็นผู้ไปได้ เป็นอย่างนี้แล (๕) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของ ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
โสตสูตรที่ ๑๐ จบ
ราชวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร ๒. ทุติยจักกานุวัตตนสูตร ๓. ธัมมราชาสูตร ๔. ยัสสังทิสังสูตร ๕. ปฐมปัตถนาสูตร ๖. ทุติยปัตถนาสูตร ๗. อัปปังสุปติสูตร ๘. ภัตตาทกสูตร ๙. อักขมสูตร ๑๐. โสตสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๒๙-๒๓๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=140              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=3778&Z=3844                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=140              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=140&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1207              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=140&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1207                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i131-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.140.than.html https://suttacentral.net/an5.140/en/sujato https://suttacentral.net/an5.140/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :