ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. ภเวสีสูตร
ว่าด้วยภเวสีอุบาสก
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ขณะที่เสด็จพระดำเนินไปตามหนทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็น ป่าสาละใหญ่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง จึงทรงแวะลงจากทางเสด็จเข้าไปสู่ป่าสาละนั้น ครั้นเสด็จถึงแล้วจึงได้ทรงแสดงการแย้ม๓- ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอาการแย้ม พระตถาคตย่อมไม่ทรงแสดงอาการแย้มให้ปรากฏโดยไม่มีเหตุ” จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอาการแย้ม พระตถาคตย่อมไม่ทรงแสดงอาการแย้มโดย ไม่มีเหตุ” @เชิงอรรถ : @ ไม่รู้แจ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่รู้จักนาบุญ หรือเขตบุญ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ ภายนอก ในที่นี้หมายถึงนอกพุทธศาสนา (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ แสดงอาการแย้ม หมายถึงการยิ้มน้อยๆ เพียงเห็นไรฟัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๐/๖๙-๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ สถานที่นี้ ได้มีเมือง มั่งคั่ง กว้างขวาง มีประชาชนมากมาย มีมนุษย์หนาแน่น พระผู้มีพระภาคพระนาม ว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยอยู่ในพระนครนั้น อุบาสกชื่อว่าภเวสี ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีปกติไม่ทำ ศีลให้บริบูรณ์๑- อุบาสก ๕๐๐ คน เป็นผู้อันภเวสีอุบาสกชี้แจงชักชวน เป็นผู้มี ปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ ต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า “เราเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คน เหล่านี้ต่างก็เป็นผู้มีปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ ต่างคนต่างก็เท่าๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไป กว่ากัน เอาเถอะ เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า ต่อมา ภเวสีอุบาสกได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มีปกติทำ ศีลให้บริบูรณ์’ ครั้งนั้น อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายมี อุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ก็ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักเป็นผู้มี ปกติทำศีลให้บริบูรณ์ ไฉนพวกเราจะเป็นเช่นนั้นบ้างไม่ได้เล่า’ จึงพากันเข้าไปหา ภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจงจำ อุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์’ ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็น หัวหน้า เป็นผู้ชักชวนอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คน เหล่านี้ ต่างก็เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ ต่างคนต่างก็เท่าๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไป กว่ากัน เอาเถอะ เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ จึงได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน’ @เชิงอรรถ : @ มีปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ หมายถึงไม่รักษาศีลห้าให้สม่ำเสมอ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๐/๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร

อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายมีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน ไฉนพวกเราจะเป็นเช่นนั้นบ้าง ไม่ได้เล่า’ จึงได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนาย จงจำอุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน’ ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราเองเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ต่างก็เป็นผู้มี ปกติทำศีลให้บริบูรณ์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอัน เป็นกิจของชาวบ้าน ต่างคนต่างก็เท่าๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เอาเถอะ เรา ควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ จึงได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้บริโภค มื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล’ อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกเป็นนายผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล ไฉนพวกเราจะเป็นเช่น นั้นบ้างไม่ได้เล่า’ จึงได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจงจำอุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล’ ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ต่างก็ เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม อันเป็นกิจของชาวบ้าน เป็นผู้บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจาก การบริโภคในเวลาวิกาล ต่างคนต่างก็เท่าๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เอาเถอะ เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร

ภเวสีอุบาสกได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล ครั้นอุปสมบทแล้วไม่นาน จึงหลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ยอดเยี่ยม๑- อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป’ อานนท์ ภเวสีภิกษุได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย อานนท์ คราวนั้น อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภเวสี อุบาสกผู้เป็นนายมีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้ เป็นนาย จักโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไฉนพวกเราจักเป็นเช่นนั้นบ้างไม่ได้’ จึงได้พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่า กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับแล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค’ อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล ต่อมา ภเวสีภิกษุได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองเป็นผู้ได้วิมุตติสุขอันยอดเยี่ยมนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก โอหนอ ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป แม้เหล่านี้ ก็พึงเป็นผู้ได้วิมุตติสุขอันยอดเยี่ยมนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก’ คราวนั้นภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ต่างเป็นผู้หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม @เชิงอรรถ : @ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมีภเวสีภิกษุเป็นประมุข พยายามบำเพ็ญธรรมที่สูงๆ ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป ได้ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันยอดเยี่ยม ด้วยประการฉะนี้ อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย เมื่อพยายามบำเพ็ญธรรมที่สูงๆ ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป ก็จักทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอัน ยอดเยี่ยม’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ภเวสีสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปาสกวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สารัชชสูตร ๒. วิสารทสูตร ๓. นิรยสูตร ๔. เวรสูตร ๕. จัณฑาลสูตร ๖. ปีติสูตร ๗. วณิชชาสูตร ๘. ราชสูตร ๙. คิหิสูตร ๑๐. ภเวสีสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๐๔-๓๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=180              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=4995&Z=5102                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=180              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=180&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1544              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=180&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1544                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i171-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.180.than.html https://suttacentral.net/an5.180/en/sujato https://suttacentral.net/an5.180/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :