บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. อรัญญวรรค ๑. อารัญญิกสูตร
๔. อรัญญวรรค หมวดว่าด้วยป่า ๑. อารัญญิกสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร [๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย๑- ๒. ภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ๒- จึงอยู่ป่าเป็นวัตร ๓. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน ๔. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะรู้ว่า เป็นวัตรที่พระพุทธเจ้าและสาวก ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ ๕. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่า เป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้ประเสริฐสุด @เชิงอรรถ : @๑ เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย หมายถึงไม่รู้วิธีปฏิบัติสมาทาน และไม่รู้อานิสงส์แห่งการปฏิบัติ- @สมาทาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๑/๗๑) @๒ มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ หมายถึงมีความปรารถนาว่า เมื่อเราอยู่ป่า คนทั้งหลาย @ก็จักสักการะเราด้วยปัจจัย ๔ ด้วยคิดว่า ภิกษุรูปนี้อยู่ป่าเป็นวัตร ทั้งจักยกย่องเราว่า ภิกษุนี้เป็นลัชชี @ภิกษุนี้ชอบสงัด จึงอยู่ป่า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๑/๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๐๙}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๔. อรัญญวรรค ๒. จีวรสูตร
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจาก นมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส บรรดาโครส ๕ ชนิดนั้น หัวเนยใส ชาวโลกกล่าวว่าเลิศ แม้ฉันใด บรรดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อ ปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้สูงสุด และ เป็นผู้ประเสริฐสุด ฉันนั้นเหมือนกันอารัญญิกสูตรที่ ๑ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๐๙-๓๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=181 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=5103&Z=5124 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=181 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=181&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1580 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=181&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1580 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i181-e.php# https://suttacentral.net/an5.181/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]