ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร

๑๒. ธัมมิกสูตร
ว่าด้วยท่านพระธัมมิกะ
[๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ๑- เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระธัมมิกะเป็นเจ้าอาวาส อยู่ในอาวาส ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบท ทั้งหมด ทราบว่า ท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ อาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา จึงหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส ครั้งนั้น พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทมีความคิดดังนี้ว่า “พวกเรา ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร แต่พวกภิกษุอาคันตุกะก็หลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยให้ พวกภิกษุอาคันตุกะหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส” ต่อมา พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า “ท่านพระธัมมิกะ นี้เอง ด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีภิกษุอาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุ อาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสี ด้วยวาจา จึงหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส ทางที่ดีพวกเราพึงช่วยกันขับไล่ท่าน พระธัมมิกะให้หนีไป” จึงเข้าไปหาท่านพระธัมมิกะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับท่านพระ ธัมมิกะดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธัมมิกะจงหลีกไปจากอาวาสนี้ ท่าน ไม่ควรอยู่ในอาวาสนี้” ภายหลังต่อมา ท่านพระธัมมิกะได้จากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบว่า แม้ที่ อาวาสนั้น ท่านพระธัมมิกะก็ด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ อาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา หลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส ครั้งนั้น พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทมีความคิดดังนี้ว่า “พวกเรา ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๔๑ (ทารุกขันธสูตร) หน้า ๔๙๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร

แต่พวกภิกษุอาคันตุกะก็หลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยให้พวก ภิกษุอาคันตุกะหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส” พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า “ท่านพระธัมมิกะนี้เอง ด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุอาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุ อาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสี ด้วยวาจา จึงหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส ทางที่ดี พวกเราพึงช่วยกันขับไล่ท่าน พระธัมมิกะให้หนีไป” จึงเข้าไปหาท่านพระธัมมิกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับท่านพระ ธัมมิกะดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธัมมิกะจงหลีกไปจากอาวาสนี้ ท่าน ไม่ควรอยู่ในอาวาสนี้” ภายหลังต่อมา ท่านพระธัมมิกะได้จากอาวาสแม้นั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบว่า แม้ที่อาวาสนั้น ท่านพระธัมมิกะก็ด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ อาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น เมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา ก็หลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส ครั้งนั้น พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทมีความคิดดังนี้ว่า “พวกเรา ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร แต่พวกภิกษุอาคันตุกะหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยให้พวก ภิกษุอาคันตุกะหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส” ต่อมา พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า “ฯลฯ ทางที่ดี พวกเราพึงช่วยกันขับไล่ท่านพระธัมมิกะให้หลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิ ชนบททั้งหมด” จึงเข้าไปหาพระธัมมิกะถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับท่านพระธัมมิกะดังนี้ ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธัมมิกะจงหลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติ- ภูมิทั้งหมด” ครั้งนั้น ท่านพระธัมมิกะได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราถูกพวกอุบาสกและอุบาสิกา ชาวชาติภูมิชนบทขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่งในชาติภูมิชนบททั้งหมด บัดนี้เรา จักไปที่ไหนหนอ” ครั้งนั้น ท่านพระธัมมิกะได้มีความคิดว่า “ทางที่ดี เราควรจะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระธัมมิกะถือบาตรและจีวรหลีกไปทางกรุงราชคฤห์ ไปถึงกรุง ราชคฤห์และภูเขาคิชฌกูฏโดยลำดับ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ เชิญเถิด ท่านมาจากไหนหรือ” ท่านพระธัมมิกะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกพวกอุบาสก และอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบท ทั้งหมด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอด้วยการ อยู่ในชาติภูมิชนบทนี้ ควรแล้วที่เธอถูกขับไล่ให้ออกจากอาวาสนั้นๆ แล้วมาใน สำนักของเรา เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อค้าทางทะเล จับนกที่ค้นหาฝั่งแล้ว ออกเรือ เดินทางไปยังสมุทร เมื่อเดินเรือไปไม่เห็นฝั่ง พวกเขาก็ปล่อยนกค้นหาฝั่ง มันบินไป ทางทิศตะวันออก บินไปทางทิศตะวันตก บินไปทางทิศเหนือ บินไปทางทิศใต้ บินขึ้นสูง บินไปทางทิศเฉียง ถ้ามันเห็นฝั่งอยู่ใกล้ ก็บินเข้าไปหาฝั่งทีเดียว แต่ถ้า มันไม่เห็นฝั่งอยู่ใกล้ มันก็จะกลับมายังเรือนั้น ฉันใด พราหมณ์ธัมมิกะ เธอถูกขับไล่ ให้ออกจากอาวาสนั้นๆ แล้วมายังสำนักของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรื่องเคยมีมาแล้ว ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะของพระเจ้าโกรัพยะมี ๕ กิ่ง มีร่ม เงาเย็น น่ารื่นรมย์ใจ ก็ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ มีกิ่งก้านแผ่ไปถึง ๑๒ โยชน์ มีราก แผ่ไปได้ ๕ โยชน์ มีผลใหญ่เหมือนกระทะหุงข้าวสารได้อาฬหกะหนึ่ง มีผลอร่อย เหมือนรวงผึ้งเล็ก ซึ่งไม่มีโทษ พระราชาเสวยผลไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะกิ่งหนึ่งพร้อม กับนางสนม หมู่ทหารบริโภคกิ่งหนึ่ง ชาวนิคมและชาวชนบทบริโภคกิ่งหนึ่ง สมณ- พราหมณ์บริโภคกิ่งหนึ่ง เนื้อและนกกินกิ่งหนึ่ง ไม่มีใครหวงแหนผลของต้นไทรใหญ่ ชื่อสุปติฏฐะไว้ และไม่มีใครๆ แย่งชิงผลของกันและกัน ต่อมาบุรุษคนหนึ่งบริโภคผล ของต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะพอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะมีความคิดดังนี้ว่า “ท่าน ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏหนอ คนชั่วนี้บริโภคผลของต้นไทรใหญ่ชื่อ สุปติฏฐะจนพอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป ทำอย่างไร ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ จะไม่พึงออกผลต่อไป” หลังจากนั้น ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะไม่ได้ออกผลอีกต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร

ครั้นต่อมา พระเจ้าโกรัพยะเสด็จเข้าไปหาท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับได้ทูล ท้าวสักกะว่า “ขอเดชะ ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์พึงทราบเถิดว่า ต้นไทรใหญ่ชื่อ สุปติฏฐะไม่ออกผล” ทีนั้นท้าวสักกะจอมเทพทรงบันดาลให้มีลมฝนอย่างแรงพัด โค่นต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะล้มลง ทำให้มีรากขึ้นเบื้องบนด้วยฤทธิ์ ลำดับนั้น เทวดา ผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะเป็นทุกข์ เสียใจ ได้ยืนร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่ ณ ที่สมควร ภายหลัง ท้าวสักกะจอมเทพเข้าไปหาเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ ถึงที่อยู่แล้วถามว่า “เทวดา ทำไมหนอเธอจึงเป็นทุกข์ เสียใจ ยืนร้องไห้น้ำตานอง หน้าอยู่ ณ ที่สมควร” เทวดานั้นทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เพราะลมฝนอย่างแรงพัดโค่นที่อยู่ ของข้าพระองค์ล้มลง ทำให้มีรากขึ้นเบื้องบน พระเจ้าข้า” “เทวดา ก็เมื่อเธอดำรงอยู่ในรุกขธรรม (ธรรมที่เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้พึง ประพฤติ) แล้ว ลมฝนอย่างแรงได้พัดมาโค่นที่อยู่ของเธอล้มลง ทำให้มีรากขึ้นเบื้อง บนได้อย่างไร” เทวดาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ดำรง อยู่ในรุกขธรรมเป็นอย่างไร” “เทวดา หมู่คนในโลกนี้ ผู้ต้องการรากย่อมนำรากของต้นไม้ไป ผู้ต้องการ เปลือกย่อมนำเปลือกไป ผู้ต้องการใบย่อมนำใบไป ผู้ต้องการดอกย่อมนำดอกไป ผู้ต้องการผลย่อมนำผลไป แต่เทวดาไม่พึงดีใจหรือเสียใจเพราะการกระทำนั้นๆ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ดำรงอยู่ในรุกขธรรมเป็นอย่างนี้แล” “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ไม่ดำรงอยู่ในรุกขธรรมเป็นแน่ ลมฝน อย่างแรงจึงได้พัดโค่นที่อยู่ของข้าพระองค์ให้ล้มลง ทำให้มีรากขึ้นเบื้องบน” “เทวดา ถ้าเธอพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรม ที่อยู่ของเธอก็จะพึงมีเหมือนกาลก่อน” “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์จะดำรงอยู่ในรุกขธรรม ขอให้ที่อยู่ของข้า พระองค์จงมีเหมือนกาลก่อนเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงบันดาลให้มีลมฝนอย่างแรงพัดต้นไทรใหญ่ ชื่อสุปติฏฐะให้กลับตั้งขึ้นดังเดิมด้วยฤทธิ์ ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะได้มีเปลือกมีราก ตั้งอยู่ดังเดิม ฉันใด พราหมณ์ธัมมิกะ อุบาสกอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบททั้งหลาย ได้ขับไล่เธอ ผู้ตั้งอยู่ในสมณธรรมให้ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่งในชาติภูมิชนบททั้งหมดฉันนั้น เหมือนกัน” ท่านพระธัมมิกะทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะดำรงอยู่ในสมณธรรม เป็นอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ สมณะในธรรมวินัยนี้ไม่ด่า ตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ ไม่เสียดสีตอบบุคคลผู้เสียดสีอยู่ ไม่ประหารตอบบุคคลผู้ประหาร อยู่ พราหมณ์ธัมมิกะ สมณะดำรงอยู่ในสมณธรรมเป็นอย่างนี้แล” ท่านพระธัมมิกะทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอุบาสกชาวชาติภูมิ ชนบท ได้ขับไล่ข้าพระองค์ผู้ไม่ดำรงอยู่ในสมณธรรมให้ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อสุเนตตะ เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดง ธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใดเมื่อครูสุเนตตะ แสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อครู สุเนตตะแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้เลื่อมใส สาวก เหล่านั้นหลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อมูคปักขะ ฯลฯ มีครูชื่ออรเนมิ ฯลฯ มีครูชื่อ กุททาลกะ ฯลฯ มีครูชื่อหัตถิปาละ ฯลฯ มีครูชื่อโชติปาละ เป็นเจ้าลัทธิผู้ ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมเพื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร

ความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใด เมื่อครูโชติปาละแสดงธรรมเพื่อความ เป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้วได้ ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อครูโชติปาละแสดงธรรม เพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พราหมณ์ธัมมิกะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย พึงด่า บริภาษ ครูทั้ง ๖ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก หรือไม่” ท่านพระธรรมิกกราบทูลว่า “พึงประสพ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย พึงด่า พึงบริภาษครูทั้ง ๖ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญ เป็นอันมาก ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย พึงด่า บริภาษบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑- คนเดียว ผู้นั้นย่อมประสพสิ่งที่มิใช่บุญมากกว่าบุคคลผู้ด่า บริภาษครูทั้ง ๖ นั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวว่าการขุดโค่นคุณความดีของตนเช่นนี้ จะมี ภายนอกศาสนานี้ เหมือนการด่า การบริภาษเพื่อนพรหมจารี พราหมณ์ธัมมิกะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเรา จักไม่ประทุษร้ายในเพื่อนพรหมจารีผู้เสมอตน’ พราหมณ์ธัมมิกะ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล” ครูทั้ง ๖ ผู้มียศ ได้รับยกย่องว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต คือครูสุเนตตะ ครูมูคปักขะ ครูอรเนมิ @เชิงอรรถ : @ ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันซึ่งมีชื่อว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ’ บ้าง @‘ผู้มาสู่พระสัทธรรม’ บ้าง ‘ผู้ประกอบด้วยญาณของพระเสขะ’ บ้าง ‘ผู้ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ’ บ้าง @‘ผู้เข้าถึงกระแสธรรม’ บ้าง ‘ผู้มีปัญญาแทงตลอด’ บ้าง ‘ผู้ยืนจรดประตูอมตะ’ บ้าง @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร

ครูกุททาลกะ ครูหัตถิปาลมาณพ และครูโชติปาละผู้เป็นพราหมณ์ปุโรหิต ของพระราชา ๗ พระองค์ เป็นเจ้าของโค ท่านเหล่านั้น เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ๑- มุ่งมั่นในกรุณา ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว แม้สาวกหลายร้อยคนของครูเหล่านั้น ก็เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ มุ่งมั่นในกรุณา ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว นรชนใด มีความดำริทางใจถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว บริภาษท่านผู้เป็นฤๅษีทั้งหลายภายนอกศาสนา ผู้ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่นแล้ว นรชนนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ส่วนนรชนใดมีความดำริทางใจถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว บริภาษภิกษุผู้เป็นพุทธสาวกมีทิฏฐิสมบูรณ์รูปเดียว นรชนนี้ย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญ มากกว่าผู้บริภาษครูเหล่านั้น นรชนไม่พึงเสียดสีท่านผู้มีความดี ผู้ละทิฏฐิ๒- ได้แล้ว เราเรียกบุคคลผู้มีอินทรีย์ ๕ ที่ยังอ่อน @เชิงอรรถ : @ กลิ่นสาบ ในที่นี้หมายถึงความโกรธ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔) @ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ศรัทธา สติ วิริยะ สมถะ และวิปัสสนา ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย ว่าเป็นบุคคลที่ ๗ ๑- แห่งอริยสงฆ์ นรชนใดเบียดเบียนทำร้ายบุคคลเช่นนั้น ผู้เป็นภิกษุในกาลก่อน นรชนนั้นชื่อว่าทำร้ายตนเอง บั่นรอนอรหัตตผลในภายหลัง ส่วนนรชนใดรักษาตน นรชนนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตนในภายนอก เพราะเหตุนั้น บัณฑิตไม่พึงขุดโค่นคุณความดีของตน พึงรักษาตนทุกเมื่อเถิด
ธัมมิกสูตรที่ ๑๒ จบ
ธัมมิกวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นาคสูตร ๒. มิคสาลาสูตร ๓. อิณสูตร ๔. มหาจุนทสูตร ๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร ๖. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร ๗. เขมสูตร ๘. อินทริยสังวรสูตร ๙. อานันทสูตร ๑๐. ขัตติยสูตร ๑๑. อัปปมาทสูตร ๑๒. ธัมมิกสูตร
ปฐมปัณณาสก์ จบ
@เชิงอรรถ : @ บุคคลที่ ๗ หมายถึงพระสกทาคามี โดยนับจากพระอรหันต์ลงมา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๔/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๓๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๒๕-๕๓๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=305              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=8664&Z=8829                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=325              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=325&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2984              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=325&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2984                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i314-e.php#sutta12 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an06/an06.054.olen.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/06/an06-054.html https://suttacentral.net/an6.54/en/sujato https://suttacentral.net/an6.54/en/olendzki



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :