ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๔. อาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวธรรม๑-
[๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการสังวร๒- ๒. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการใช้สอย @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ม. ๑๐/๑๔๒/๗๓, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๒๑/๓๔๐, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๖-๕๘๗ @ สังวร เป็นชื่อของสติ หมายถึงการระวัง การปิด การกั้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๔. อาสวสูตร

๓. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น ๔. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเว้น ๕. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา๑- ๖. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเจริญ ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการสังวร เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว๒- เป็นผู้สำรวมด้วยการสังวร ในจักขุนทรีย์อยู่ ซึ่งเมื่อเธอไม่สำรวมอยู่ อาสวะ๓- และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อม ไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมด้วยการ สังวรในโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... เป็นผู้สำรวมด้วย การสังวรในมนินทรีย์อยู่ ซึ่งเมื่อเธอไม่สำรวมอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ ความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความ คับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการสังวร ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการใช้สอย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยจีวรเพียงเพื่อป้องกัน ความหนาว ความร้อน เหลือบยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน @เชิงอรรถ : @ ดู อปัสเสนธรรม ๔ ประการ ใน องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๔๐, ที.ปา ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔ @ โดยแยบคาย ในที่นี้หมายถึงโดยอุบายหรือแนวทาง ได้แก่ พิจารณาเห็นโทษของการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ @เป็นต้น เช่น พิจารณาเปรียบเทียบว่าการถูกทิ่มแทงด้วยหลาวเหล็กแดงอันร้อนลุกโชน ยังดีกว่าการไม่ @พิจารณาแล้วเกิดอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ในรูปเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๓๙) @ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ปัญจกนิบาต ข้อ ๒๐๐ (นิสสารณียสูตร) หน้า ๓๔๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๔. อาสวสูตร

เพื่อปกปิดอวัยวะที่น่าละอาย พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อ เล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา๑- ไม่ใช่เพื่อประดับ๒- ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง๓- แต่เพื่อกายนี้ดำรง อยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘โดยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่ เกิดขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา’ พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะเพื่อป้องกันความหนาว ความร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน เพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิด จากฤดู และยินดีในการหลีกเร้น พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยคิลานปัจจัย- เภสัชชบริขาร๔- เพื่อบรรเทาเวทนาที่เกิดจากอาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่มี ความเบียดเบียนเป็นที่สุด๕- ซึ่งเมื่อเธอไม่ใช้สอยอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ ความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอใชัสอยอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความ คับแค้น ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการใช้สอย ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว กระหาย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน @เชิงอรรถ : @ เพื่อความมัวเมา หมายถึงความถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเห่อเหิม ในที่นี้หมายถึง @ความถือตัวว่ามีกำลังเหมือนนักมวยปล้ำ ความถือตัวเพราะมานะ และความถือตัวว่าเป็นชาย @(องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๔๕/๕๕๐ @ เพื่อประดับ ในที่นี้หมายถึงเพื่อให้ร่างกายอ้วนพีอวบอิ่มเหมือนหญิงแพศยา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๕๘/๑๕๕, @วิสุทฺธิ. ๑/๑๘/๓๓) @ เพื่อตกแต่ง ในที่นี้หมายถึงเพื่อประเทืองผิวให้งดงามเหมือนหญิงนักฟ้อน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๕๘/๑๕๕, @วิสุทฺธิ. ๑/๑๘/๓๓) @ คำว่า คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร แยกอธิบายความหมายดังนี้ ยาที่ชื่อว่า คิลานปัจจัย เพราะเป็นเครื่อง @ปราบโรค ที่ชื่อว่า เภสัช เพราะเป็นวัตถุที่หมออนุญาตให้ใช้ได้ และที่ชื่อว่า บริขาร เพราะเป็นสัมภาระ @เครื่องนำชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๗, วิสุทฺธิ. ๑/๑๘/๓๖) @ เพื่อไม่มีความเบียดเบียนเป็นที่สุด หมายถึงเพื่อไม่ให้มีความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง @(องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๗, วิสุทฺธิ. ๑/๑๘/๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๔๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๔. อาสวสูตร

เป็นผู้อดกลั้นต่อคำหยาบ คำส่อเสียด ต่อเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิตได้ ซึ่งเมื่อเธอไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออดกลั้นอยู่ อาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเว้น เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นช้างดุร้าย เว้นม้าดุร้าย เว้นโคดุร้าย เว้นสุนัขดุร้าย เว้นงู หลัก ตอ สถานที่มีหนาม หลุม เหว บ่อน้ำครำ บ่อโสโครก และพิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นสถานที่ไม่ควรนั่ง สถานที่ไม่ควร เที่ยวไป และมิตรชั่ว ที่เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายลงความเห็นว่าเป็นฐานะที่เป็น บาปเสีย ซึ่งเมื่อเธอไม่เว้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นก็จะพึง เกิดขึ้น เมื่อเธอเว้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเว้น ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้น ไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งเมื่อเธอไม่บรรเทาอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอบรรเทาอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อม ไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๔. อาสวสูตร

ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเจริญ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วเจริญสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัย วิเวก๑- อาศัยวิราคะ (ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปในการสละ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญสมาธิ- สัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ซึ่งเมื่อเธอไม่เจริญอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอเจริญอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มี แก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเจริญ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ อันยอดเยี่ยมของโลก
อาสวสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ วิเวก ในที่นี้หมายถึงวิเวก (ความสงัด) ๕ ประการ คือ (๑) วิกขัมภนวิเวก (สงัดด้วยการข่มไว้ คือการสงัด @จากกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น) (๒) ตทังควิเวก (สงัด @ด้วยองค์นั้นๆ คือ สงัดจากกิเลสด้วยธรรมที่เป้นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงกันข้าม เช่น สงัดจากสักกายทิฏฐิ @ด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการสงัดชั่วคราวในกรณีนั้นๆ) (๓) สมุจเฉทวิเวก (สงัดด้วย @การตัดขาดคือสงัดจากกิเลสได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้นๆ) (๔) ปัสสัทธิวิเวก (สงัด @ด้วยการสงบระงับ คืออาศัยโลกุตตรมรรค สงัดจากกิเลสได้เด็ดขาดบรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบ @ระงับไปหมดแล้วไม่ต้องขวนขวายเพื่อสงัดอีกในขณะแห่งผลนั้นๆ) (๕) นิสสรณวิเวก (สงัดด้วยการสลัด @ออกได้ คือสงัดจากกิเลสได้หมดสิ้น ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสสงัดแล้วยั่งยืนตลอดไป) ได้แก่ อมตธาตุคือ @นิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒/๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๕๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๔๗-๕๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=309              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=9109&Z=9200                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=329              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=329&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3144              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=329&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3144                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i326-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an6.58/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :