ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. มัชเฌสูตร
ว่าด้วยส่วนท่ามกลาง
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง พาราณสี สมัยนั้นแล เมื่อภิกษุเถระจำนวนมากกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน อาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงฉัน ได้สนทนากันขึ้นในระหว่างว่า ผู้มีอายุ ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในติสสเมตเตยยปัญหานิทเทส๑- ปารายนวรรคว่า ผู้ใดรู้ชัดซึ่งส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา๒- เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นเครื่องร้อยรัด๓- ในโลกนี้ได้ เมื่อภิกษุทั้งหลายถามกันอย่างนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ส่วนสุดด้านหนึ่ง คือ อะไร ส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง คืออะไร ท่ามกลาง คืออะไร เครื่องร้อยรัด คืออะไร” @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๔๗/๕๓๒, ๑๐๔๙/๕๓๓, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๙/๗๓, ๑๑/๗๙ @ มันตา หมายถึงปัญญา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ความไม่หลงงมงาย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๕) @และดู ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๙/๗๓, ๑๑/๗๙ ประกอบ @ เครื่องร้อยรัด ในที่นี้หมายถึงตัณหา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๕) และดู ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๑/๘๒ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๗. มัชเฌสูตร

ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผัสสะ๑- เป็น ส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดผัสสะ๒- เป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง ความดับผัสสะ๓- อยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะและเหตุเกิดผัสสะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งในธรรมที่ควร รู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควร กำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหาย่อมร้อยรัดอดีต อนาคต และปัจจุบันนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งในธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควร รู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย สุขเวทนาเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีก ด้านหนึ่ง อทุกขมสุขเวทนาอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหา ย่อมร้อยรัดสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนานั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้น แห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน” @เชิงอรรถ : @ ผัสสะ หมายถึงอัตภาพนี้ (อัตภาพปัจจุบัน) เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจผัสสะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๕) @ เหตุเกิดผัสสะ หมายถึงอัตภาพในอนาคตที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยคือกรรมที่เคยทำไว้ในอัตภาพปัจจุบัน @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๕) @ ความดับผัสสะ หมายถึงนิพพาน ที่ชื่อว่าอยู่ท่ามกลางระหว่างอัตภาพปัจจุบันกับอัตภาพอนาคต เพราะ @เป็นธรรมที่ตัดตัณหาอันเป็นเครื่องร้อยรัดอัตภาพทั้งสองนั้นได้ และเป็นธรรมที่แยกอัตภาพทั้งสองนั้นให้ @อยู่คนละส่วนกัน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๗. มัชเฌสูตร

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย นามเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง รูปเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง วิญญาณ๑- อยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหาย่อมร้อยรัดนาม รูป และ วิญญาณนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่ง ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง วิญญาณอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะ ตัณหาย่อมร้อยรัดอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ และวิญญาณนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย สักกายะ๒- เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดสักกายะเป็นส่วนสุดอีก ด้านหนึ่ง ความดับสักกายะอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหา ย่อมร้อยรัดสักกายะ เหตุเกิดสักกายะ และความดับสักกายะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิด ขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรม ที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน” @เชิงอรรถ : @ วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณ ที่ชื่อว่าอยู่ท่ามกลางระหว่างนามกับรูปนั้น เพราะวิญญาณเป็น @ตัวก่อปัจจัยให้เกิดรูปกับนาม (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๗) @ สักกายะ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก ที่เกี่ยวข้องในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ หรือ @หมายถึงอุปาทานขันธ์ (ดูรายละเอียดในเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๔ หน้า ๔๓๓) @เหตุเกิดสักกายะ หมายถึงสมุทัยสัจ ได้แก่ ตัณหา @ความดับสักกายะ หมายถึงนิโรธสัจ ได้แก่ นิพพาน (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๖, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๗. มัชเฌสูตร

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราเที่ยวพยากรณ์ตามปฏิภาณของตน มาเถิด พวกเรา จักพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเนื้อความนี้ให้ทรงทราบ พระผู้มี พระภาคจักทรงพยากรณ์แก่พวกเรา พวกเราก็จักทรงจำไว้ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์นั้น ภิกษุเถระทั้งหลายรับคำของภิกษุนั้นแล้ว ลำดับนั้น ภิกษุเถระทั้งหลายได้ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลคำสนทนาทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำของใครหนอกล่าวได้ไพเราะ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหมดกล่าวดีแล้วตามเหตุนั้นๆ แต่ข้อความที่เรามุ่งกล่าวไว้ในติสสเมตเตยยปัญหานิทเทส ปารายนวรรคว่า ผู้ใดรู้ชัดซึ่งส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้ เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดอีก ด้านหนึ่ง ความดับผัสสะอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหา ย่อมร้อยรัดผัสสะ และเหตุเกิดผัสสะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่ง ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”
มัชเฌสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๖๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๖๐-๕๖๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=312              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=9368&Z=9442                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=332              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=332&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3286              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=332&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3286                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i326-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an6.61/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :