บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒. จุนทีสูตร ว่าด้วยจุนทีราชกุมารี๓- [๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๔- เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น จุนทีราชกุมารีมีรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คน แวดล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @๑ ดู ขุ.ชา. ๒๗/๑๕๙/๔๐๓ @๒ สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ หมายถึงเป็นพระโสดาบัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๑/๑๙) @๓ หมายถึงพระราชธิดาของพระเจ้าพิมพิสาร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๑/๑๘) @๔ หมายถึงสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ดูรายละเอียดใน ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๑-๔๒, G.P. @MALALASEKERA, Dictionary of Pali Proper Names, London, Luzac Company Ltd, 46 Great @Russell Street, 1960.) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๘}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมารพระนามว่าจุนทะ พระภาดาของหม่อมฉัน กล่าวอย่างนี้ว่า หญิงหรือชายก็ตาม ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ และเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือ สุราและเมรัย๑- อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ผู้นั้นหลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดใน สุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ หม่อมฉันจึงขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ผู้เลื่อม ใสในศาสดาเช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ ผู้เลื่อมใสในธรรมเช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ ผู้เลื่อมใสในสงฆ์เช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ ผู้ที่ทำให้ศีลเช่นไรบริบูรณ์ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดใน ทุคติ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จุนที สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชื่อว่า เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ @เชิงอรรถ : @๑ สุราและเมรัย หมายถึงสุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่เชื้อ @(๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ (๓) เครื่องดอง @น้ำอ้อย (๔) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (๕) เครื่องดองน้ำผึ้ง (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๗-๑๘) @ส่วนใน องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๙/๖๖ อธิบายว่าเมรัยมี ๔ อย่าง กล่าวคือ @ไม่มีเครื่องดองผสมเครื่องปรุง @คำว่า เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อาจแปลได้อีกว่า เว้นขาดจากการเสพสุรา @เมรัยและของมึนเมา ตามนัยนี้คือ ตทุภยเมว (สุราเมรยํ) มทนียฏฺเฐน มชฺชํ, ยํ วา ปนญฺญมฺปิ กญฺจิ มทนียํ @แปลว่า สุราและเมรัย ทั้งสองนั้นแหละเป็นของมึนเมา เพราะเป็นเหตุให้เมา และยังมีสิ่งอื่นอีกที่เป็นของ @มึนเมา (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๙}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร
ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง มีประมาณเท่าใด วิราคะ (ความคลายกำหนัด) คือความสร่างความเมา ความดับความกระหาย ความถอนอาลัย ความตัดวัฏฏะ ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์คือนิพพาน บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่าเลื่อมใส ในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด สงฆ์สาวกของตถาคต ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่คือ ๘ บุคคล สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมา ถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน ยอดเยี่ยมของโลก บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใส ในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ศีลทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ศีลที่พระอริยะใคร่๑- ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าศีลเหล่านั้น บุคคลผู้ทำศีลที่พระอริยะใคร่ให้บริบูรณ์ ชื่อว่า ทำสิ่งที่เลิศให้บริบูรณ์ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ทำสิ่งที่เลิศให้บริบูรณ์ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า บุญที่เลิศ คืออายุ วรรณะ เกียรติยศ สุข และพละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม @เชิงอรรถ : @๑ ศีลที่พระอริยะใคร่ หมายถึงศีลที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล เป็นศีลที่พระอริยะปรารถนา แม้เกิดในภพอื่น @ก็ไม่สละศีลนี้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๒/๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๐}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๓. อุคคหสูตร
ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศอันเป็นที่คลายความกำหนัด เป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้ ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ให้ทานในท่านผู้เลิศ นักปราชญ์ผู้ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ เกิดเป็นเทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม ถึงความเป็นผู้เลิศ๑- บันเทิงอยู่๒-จุนทีสูตรที่ ๒ จบ ๓. อุคคหสูตร ว่าด้วยอุคคหเศรษฐี [๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน เขตเมืองภัททิยะ ครั้งนั้น อุคคหเศรษฐีผู้เป็นหลานของเมณฑกเศรษฐี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุ ๓ รูป จงรับภัตตาหาร ของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณีแล้ว อุคคหเศรษฐีทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวาย อภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้นคืนนั้นผ่านไป เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร จีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอุคคหเศรษฐี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ @เชิงอรรถ : @๑ ความเป็นผู้เลิศ หมายถึงเกิดในหมู่สัตว์ใดๆ ก็เป็นผู้เลิศในหมู่สัตว์นั้นๆ หรือได้บรรลุมรรคและผลอัน @เป็นโลกุตตระ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๔/๓๖๔) @๒ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๔/๕๔-๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๘-๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=32 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=749&Z=793 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=32 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=32&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=424 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=32&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=424 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i031-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an5.32/en/sujato https://suttacentral.net/an5.32/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]