ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๒. อธิมุตติปทสูตร
ว่าด้วยอธิมุตติบท๑-
[๒๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดัง นี้ว่า อานนท์ เรากล้าปฏิญญาในธรรมทั้งหลาย๒- ที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอธิมุตติบท นั้นๆ ด้วยปัญญาอันยิ่ง เพื่อแสดงธรรมโดยวิธีที่บุคคลผู้ปฏิบัติตามแล้วจักรู้ธรรมที่ @เชิงอรรถ : @ อธิมุตติบท หมายถึงขันธ์ อายตนะ และธาตุ อีกนัยหนึ่ง หมายถึงทิฏฐิ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๒/๓๓๑) @ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงทศพลญาณ คือพระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ @(ดูข้อ ๒๑ สีหนาทสูตร) และสัพพัญญุตญาณ คือพระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน @และอนาคต (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๒/๓๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๒. อธิมุตติปทสูตร

มีอยู่ว่า ‘มีอยู่’ บ้าง ที่ไม่มีอยู่ว่า ‘ไม่มีอยู่’ บ้าง ที่หยาบว่า ‘หยาบ’ บ้าง ที่ประณีตว่า ‘ประณีต’ บ้าง ที่ไม่ยอดเยี่ยมว่า ‘ไม่ยอดเยี่ยม’ บ้าง ที่ยอดเยี่ยมว่า ‘ยอดเยี่ยม’ บ้าง หรือเป็นไปได้ที่ผู้ปฏิบัติตามจักรู้สิ่งที่พึงรู้ จักเห็นสิ่งที่พึงเห็น หรือจักทำให้แจ้งสิ่งที่ พึงทำให้แจ้ง อานนท์ ญาณที่ยอดเยี่ยมกว่าญาณทั้งหลาย คือ ยถาภูตญาณ๑- ในธรรม เหล่านั้นๆ กำลังของตถาคต ๑๐ ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิญญาฐานะ ที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท กำลังของตถาคต ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้ตาม ความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็น อฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท ๒. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึด ถือกรรม ฯลฯ นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ๒- ๓. ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง ฯลฯ นี้เป็นกำลังของ ตถาคต ฯลฯ ๔. ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความ เป็นจริง ฯลฯ นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ ๕. ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง การที่ ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง ฯลฯ นี้ เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ยถาภูตญาณ ในที่นี้หมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ คือพระปรีชาหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน @และอนาคต (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๒/๓๓๑) @ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในสีหนาทสูตรในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๒. อธิมุตติปทสูตร

๖. ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและ อินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและ บุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง ฯลฯ นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ ๗. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตาม ความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่ง ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออก ฯลฯ ตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ ๘. ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ฯลฯ นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ ๙. ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์ เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล การที่ตถาคต เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ นี้เป็นกำลัง ของตถาคต ฯลฯ ๑๐. ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน การที่ตถาคตทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญา อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๑๐ ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้ว เป็นเหตุให้ ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
อธิมุตติปทสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๔๗-๔๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=924&Z=995                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=22              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=22&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7452              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=22&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7452                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an10.22/en/sujato https://suttacentral.net/an10.22/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :