![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
๑๐. อุเทนสูตร ว่าด้วยพระราชวังของพระเจ้าอุเทนถูกเผา [๗๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้น เมื่อพระเจ้าอุเทนเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ภายในพระราชวังถูกไฟไหม้ หญิง ๕๐๐ คน มีพระนางสามาวดีเป็นหัวหน้า ต่างเสียชีวิตทั้งหมด ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้า ไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อพระเจ้า อุเทนเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ภายในพระราชวังถูกไฟไหม้ หญิง ๕๐๐ คน มีพระนางสามาวดีเป็นหัวหน้า ต่างเสียชีวิตทั้งหมด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คติของ อุบาสิกาเหล่านั้นเป็นอย่างไร ภพหน้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๑๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาเหล่านั้นที่เป็นโสดาบันก็มี ที่เป็นสกทาคามินีก็มี ที่เป็นอนาคามินีก็มี ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าไม่ตายเปล่า๑- ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่าพุทธอุทาน สัตว์โลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมปรากฏเหมือนสมบูรณ์ด้วยเหตุ คนพาลมีอุปธิเป็นเครื่องผูกพัน ถูกความมืดหุ้มห่อไว้ ย่อมปรากฏเหมือนยั่งยืนนิรันดร์ แต่ผู้เห็นอยู่ ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องกังวลอุเทนสูตรที่ ๑๐ จบ จูฬวรรคที่ ๗ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตร ๒. ทุติยลกุณฏกภัททิยสูตร ๓. ปฐมสัตตสูตร ๔. ทุติยสัตตสูตร ๕. อปรลกุณฏกภัททิยสูตร ๖. ตัณหาสังขยสูตร ๗. ปปัญจักขยสูตร ๘. กัจจานสูตร ๙. อุทปานสูตร ๑๐. อุเทนสูตร @เชิงอรรถ : @๑ ไม่ตายเปล่า หมายถึงไม่ไร้ผล คือบรรลุสามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) (ขุ.อุ.อ. ๗๐/๔๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=105 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=3948&Z=3976 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=157 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=157&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=9156 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=157&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=9156 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.7.10.than.html https://suttacentral.net/ud7.10/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud7.10/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]